พะเยา - กลุ่มทุนยางพาราจีน ดอดจับมือเอกชนไทย เตรียมผุดโครงการร่วมทุนยางครบวงจร รับผลผลิตเชียงราย-พะเยา ส่งเข้าตลาดจีนนำร่อง ก่อนขยายฐานเข้าสู่แหล่งผลิตยางพาราชั้นดีของไทยต่อ วางแผนขนเม็ดเงินลงทุนนับพันล้านใน 3 ปีต่อจากนี้
รายงานข่าวจากจังหวัดพะเยา แจ้งว่า ขณะนี้ได้มีกลุ่มอุตสาหกรรมยางพาราในนามบริษัท ฮกเกี้ยน และ บริษัทเทียนจิน ประเทศจีน ภายใต้การนำของนางหวัง ลี่ ฮวย เดินทางมาสำรวจวัตถุดิบยางพาราในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน คือ พะเยา และเชียงราย จากนั้นได้ตกลงร่วมทุนกับกลุ่มนักธุรกิจยางพาราในพื้นที่ โดยการประสานงานของนายรุ่งโรจน์ เหมันต์สุทธิกุล ที่ปรึกษาและหุ้นส่วนโครงการอุตสาหกรรมยางพาราครบวงจร
นายรุ่งโรจน์ เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวเป็นการร่วมทุนระหว่างกลุ่มนักธุรกิจยางพาราจีนและนักธุรกิจยางพาราของไทย มูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท มีฐานการผลิตที่ภาคเหนือตอนบน โดยใช้พื้นที่จังหวัดพะเยา และเชียงราย เป็นศูนย์กลางการผลิตและแปรรูปยางพาราครบวงจร ทั้งยางแผ่นดิบ แผ่นดิบรมควัน น้ำยาง ยางแท่ง และน้ำยางข้น ซึ่งจะมีวัตถุดิบยางพาราจากจังหวัดข้างเคียงเข้ามา เช่น แพร่ น่าน ลำปาง จากนั้นอาจจะมีการขยายและต่อยอดไปยังจังหวัดอื่น ๆ ต่อไป
ที่ปรึกษาและหุ้นส่วนโครงการฯ กล่าวต่อว่า แผนงานธุรกิจของโครงการ ฯ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การผลิตยางแผ่นดิบรมควัน ระยะที่ 2 การผลิตยางแท่ง และระยะที่ 3 การผลิตน้ำยางข้น หลังจากเปิดตัวโครงการในเดือนเมษายน 2554 นี้ คาดว่าจะมีเม็ดเงินสะพัดในพื้นที่จังหวัดพะเยา และเชียงราย ไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้กลุ่มทุนเอกชนทั้งสองกลุ่มได้ลงนามทำข้อตกลงร่วมกันเรียบร้อยแล้ว พร้อมเดินหน้าอย่างเต็มที่
“เหตุผลที่นักลงทุนของไทยและจีนให้ความสนใจมาลงทุนอุตสาหกรรมยางพาราครบวงจรที่ภาคเหนือตอนบน เนื่องจากสำรวจพบว่าเป็นแหล่งการผลิตยางพาราที่มีคุณภาพและพื้นที่ปลูกขยายมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และภาครัฐมีนโยบายให้การสนับสนุนทุกปี ประกอบกับภาครัฐได้จัดทำระบบขนส่งวัตถุดิบเพื่อรองรับการส่งออกไปสู่ประเทศจีนที่เห็นได้อย่างชัดเจน และที่มากไปกว่านั้นเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะสร้างความมั่นคงด้านเศรษฐกิจให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางพาราของภาคเหนือและภาคอื่น ๆ ในอนาคตได้ เพราะไม่ต้องถูกพ่อค้าคนกลางมาตัดราคาหรือหักหัวคิวอีกต่อไป” นายรุ่งโรจน์ กล่าว
ด้านนางหวัง ลี่ ฮวย กล่าวว่า ที่เลือกลงทุนกับนักธุรกิจยางพาราในภาคเหนือของไทย เพราะได้รู้จักคุ้นเคยกับนายรุ่งโรจน์ มาก่อน ที่สำคัญทราบว่าคนไทยมีความรับผิดชอบ เมื่อได้มาสำรวจพื้นที่การปลูกยางและเห็นผลผลิตยางพาราแล้ว มีความมั่นใจว่าโครงการดังกล่าวจะมีความยั่งยืนมั่นคง เพราะมีศักยภาพมาก
นางหวัง ลี่ ฮวย บอกว่า โครงการนี้จะสามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรสวนยางพาราของไทยในอนาคตได้มาก นอกจากนี้ประเทศจีนมีความต้องการใช้ยางพารามากขึ้น สังเกตได้จากทุกครัวเรือนมีการซื้อรถยนต์ซึ่งต้องใช้ยางพาราทำล้อรถ ดังนั้นคาดว่าภายในอนาคตอีก 20-30 ปี ชาวจีนยังคงต้องการยางพาราอีกมาก
ขณะที่นาย เจตพร สังข์ทอง ผู้จัดการสหกรณ์ชาวสวนยางพะเยา จำกัด กล่าวว่า เมื่อได้เห็นชัดเจนว่าขณะนี้มีกลุ่มธุรกิจที่ต้องการรับซื้อยางพาราจากไทย ทำให้สหกรณ์ ฯ มั่นใจว่าต้นน้ำ คือกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา จะไม่ต้องกังวลเรื่องยางพาราล้นตลาด และที่สำคัญไม่ต้องห่วงว่าจะถูกพ่อค้าคนกลางตัดราคาหรือหักหัวคิวในการซื้อขายยางพาราอีกต่อไป เพราะเมื่อมีกลุ่มอุตสาหกรรมยางพาราครบวงจรคือผู้รับซื้อโดยตรง จะตัดวงจรพ่อค้าคนกลางไปในทันที และสหกรณ์ ฯ จะเป็นจุดรวบรวมยางพาราของเกษตรกร ขอให้เกษตรกรมั่นใจในอาชีพชาวสวนยางด้วย
“อนาคตจึงไม่ใช่เรื่องยากที่จังหวัดพะเยา จะได้รับการพัฒนาตัวเองให้กลายเป็นศูนย์กลางการค้ายางพาราครบวงจร และ สามารถประกาศราคาตลาดรับซื้อ-ขาย ยางหลักของภาคเหนือ” นายเจตพร กล่าว
รายงานข่าวจากจังหวัดพะเยา แจ้งว่า ขณะนี้ได้มีกลุ่มอุตสาหกรรมยางพาราในนามบริษัท ฮกเกี้ยน และ บริษัทเทียนจิน ประเทศจีน ภายใต้การนำของนางหวัง ลี่ ฮวย เดินทางมาสำรวจวัตถุดิบยางพาราในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน คือ พะเยา และเชียงราย จากนั้นได้ตกลงร่วมทุนกับกลุ่มนักธุรกิจยางพาราในพื้นที่ โดยการประสานงานของนายรุ่งโรจน์ เหมันต์สุทธิกุล ที่ปรึกษาและหุ้นส่วนโครงการอุตสาหกรรมยางพาราครบวงจร
นายรุ่งโรจน์ เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวเป็นการร่วมทุนระหว่างกลุ่มนักธุรกิจยางพาราจีนและนักธุรกิจยางพาราของไทย มูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท มีฐานการผลิตที่ภาคเหนือตอนบน โดยใช้พื้นที่จังหวัดพะเยา และเชียงราย เป็นศูนย์กลางการผลิตและแปรรูปยางพาราครบวงจร ทั้งยางแผ่นดิบ แผ่นดิบรมควัน น้ำยาง ยางแท่ง และน้ำยางข้น ซึ่งจะมีวัตถุดิบยางพาราจากจังหวัดข้างเคียงเข้ามา เช่น แพร่ น่าน ลำปาง จากนั้นอาจจะมีการขยายและต่อยอดไปยังจังหวัดอื่น ๆ ต่อไป
ที่ปรึกษาและหุ้นส่วนโครงการฯ กล่าวต่อว่า แผนงานธุรกิจของโครงการ ฯ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การผลิตยางแผ่นดิบรมควัน ระยะที่ 2 การผลิตยางแท่ง และระยะที่ 3 การผลิตน้ำยางข้น หลังจากเปิดตัวโครงการในเดือนเมษายน 2554 นี้ คาดว่าจะมีเม็ดเงินสะพัดในพื้นที่จังหวัดพะเยา และเชียงราย ไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้กลุ่มทุนเอกชนทั้งสองกลุ่มได้ลงนามทำข้อตกลงร่วมกันเรียบร้อยแล้ว พร้อมเดินหน้าอย่างเต็มที่
“เหตุผลที่นักลงทุนของไทยและจีนให้ความสนใจมาลงทุนอุตสาหกรรมยางพาราครบวงจรที่ภาคเหนือตอนบน เนื่องจากสำรวจพบว่าเป็นแหล่งการผลิตยางพาราที่มีคุณภาพและพื้นที่ปลูกขยายมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และภาครัฐมีนโยบายให้การสนับสนุนทุกปี ประกอบกับภาครัฐได้จัดทำระบบขนส่งวัตถุดิบเพื่อรองรับการส่งออกไปสู่ประเทศจีนที่เห็นได้อย่างชัดเจน และที่มากไปกว่านั้นเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะสร้างความมั่นคงด้านเศรษฐกิจให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางพาราของภาคเหนือและภาคอื่น ๆ ในอนาคตได้ เพราะไม่ต้องถูกพ่อค้าคนกลางมาตัดราคาหรือหักหัวคิวอีกต่อไป” นายรุ่งโรจน์ กล่าว
ด้านนางหวัง ลี่ ฮวย กล่าวว่า ที่เลือกลงทุนกับนักธุรกิจยางพาราในภาคเหนือของไทย เพราะได้รู้จักคุ้นเคยกับนายรุ่งโรจน์ มาก่อน ที่สำคัญทราบว่าคนไทยมีความรับผิดชอบ เมื่อได้มาสำรวจพื้นที่การปลูกยางและเห็นผลผลิตยางพาราแล้ว มีความมั่นใจว่าโครงการดังกล่าวจะมีความยั่งยืนมั่นคง เพราะมีศักยภาพมาก
นางหวัง ลี่ ฮวย บอกว่า โครงการนี้จะสามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรสวนยางพาราของไทยในอนาคตได้มาก นอกจากนี้ประเทศจีนมีความต้องการใช้ยางพารามากขึ้น สังเกตได้จากทุกครัวเรือนมีการซื้อรถยนต์ซึ่งต้องใช้ยางพาราทำล้อรถ ดังนั้นคาดว่าภายในอนาคตอีก 20-30 ปี ชาวจีนยังคงต้องการยางพาราอีกมาก
ขณะที่นาย เจตพร สังข์ทอง ผู้จัดการสหกรณ์ชาวสวนยางพะเยา จำกัด กล่าวว่า เมื่อได้เห็นชัดเจนว่าขณะนี้มีกลุ่มธุรกิจที่ต้องการรับซื้อยางพาราจากไทย ทำให้สหกรณ์ ฯ มั่นใจว่าต้นน้ำ คือกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา จะไม่ต้องกังวลเรื่องยางพาราล้นตลาด และที่สำคัญไม่ต้องห่วงว่าจะถูกพ่อค้าคนกลางตัดราคาหรือหักหัวคิวในการซื้อขายยางพาราอีกต่อไป เพราะเมื่อมีกลุ่มอุตสาหกรรมยางพาราครบวงจรคือผู้รับซื้อโดยตรง จะตัดวงจรพ่อค้าคนกลางไปในทันที และสหกรณ์ ฯ จะเป็นจุดรวบรวมยางพาราของเกษตรกร ขอให้เกษตรกรมั่นใจในอาชีพชาวสวนยางด้วย
“อนาคตจึงไม่ใช่เรื่องยากที่จังหวัดพะเยา จะได้รับการพัฒนาตัวเองให้กลายเป็นศูนย์กลางการค้ายางพาราครบวงจร และ สามารถประกาศราคาตลาดรับซื้อ-ขาย ยางหลักของภาคเหนือ” นายเจตพร กล่าว