ASTVผู้จัดการออนไลน์ -สสว.ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร เผยผลดำเนินโครงการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs ต้นแบบ ได้สำเร็จทั้งสาขาอุปกรณ์ทางการแพทย์ สาขาเครื่องสำอาง และสาขาอู่ต่อเรือ-ซ่อมเรือ (เฉพาะเรือสำราญ) โดยแต่ละสาขามีสมาชิกในเครือข่ายมากกว่า 400 ราย อีกทั้งยังได้ Roadmap สำหรับการส่งเสริมผู้ประกอบการในสาขาอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้เข้มแข็ง รวมถึงสามารถเปิดตลาดให้สินค้าหัตถกรรมไทยเป็นที่รู้จักในต่างประเทศภายใต้แบรนด์ Craf & Co ผ่านงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติ
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า จากการที่ สสว.จัดทำโครงการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs ต้นแบบ และความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยได้ร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์การเอกชน และสถาบันการศึกษาในพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs ต้นแบบ ซึ่งเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน และเชื่อมโยงซัปพลายเชนระหว่างภาคธุรกิจขนาดใหญ่กับธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SMEs) โดยนำร่องใน 3 กลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งเป็น New Creative Economy และเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพทางการตลาด และมีมูลค่าทางการเศรษฐกิจสูง ได้แก่ สาขาอุปกรณ์ทางการแพทย์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง สาขาเครื่องสำอางและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง สาขาอู่ต่อเรือ-ซ่อมเรือและธุรกิจที่เกี่ยวเนี่อง (เฉพาะเรือสำราญ)
ผลการดำเนินงาน มีดังนี้ สาขาอุปกรณ์ทางการแพทย์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง โดยมี คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาตร์ของประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินงานซึ่งจากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรวมถึงผู้ประกอบการ ทำให้ได้ข้อสรุปว่า อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ของไทยยังไม่มีความเข้มแข็ง สินค้าที่ผลิตได้ยังใช้เทคโนโลยีที่ไม่สูงนัก ขาดการวางแผนและบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องมีแผนที่นำทาง (Roadmap) ในการส่งเสริมและพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าว
“การจัดทำแผนที่นำทางเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ของไทย จะมุ่งเน้นปัจจัยพื้นที่ที่จำเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ โดยสิ่งที่จะต้องเริ่มทำก่อนคือ การเปลี่ยนทัศนคติจากการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่พึ่งพาการนำเข้าเครื่องมือแพทย์จากต่างประเทศ มาเป็นการสร้างอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ในประเทศ เพื่อสนองต่อความต้องการคุณภาพชีวิตที่ของคนไทยและต่างประเทศ”
ขณะเดียวกัน จากการดำเนินโครงการสามารถทำให้เกิดเครือข่ายผู้ประกอบการกลุ่มอุปกรณ์ทางการแพทย์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ทั้งสิ้น 4 เครือข่าย โดยมีผู้ประกอบการอยู่ในเครือข่ายมากถึง 400 ราย ได้แก่ เครือข่ายการบริการและซอฟต์แวร์ คณะกรรมการเครือข่ายครุภัณฑ์ทางการแพทย์และเครื่องจักร เครือข่ายน้ำยาทดสอบและชุดตรวจวินิจฉัย และคณะกรรมการเครือข่ายวัสดุอุปกรณ์การแพทย์
ในส่วนสาขาเครื่องสำอางและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง โดยมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร เป็นผู้ดำเนินงานในกลุ่มเครื่องสำอาง 4 สาขา ได้แก่ เมคอัพ สกินแคร์ สปา และผม-เล็บ โดยได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการไปตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ รวมถึงกรุงเทพฯ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการกว่า 650 ราย แบ่งเป็นผู้ประกอบการ จำนวน 403 ราย ผู้แทนส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรเอกชน จำนวน 245 ราย จาก 103 หน่วยงาน รวมถึงการนำผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 40 ราย ไปศึกษาดูงานที่ประเทศเกาหลี เพื่อเป็นแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ต้นแบบ
ขณะที่สาขาอู่ต่อเรือ-ซ่อมเรือและธุรกิจที่เกี่ยวเนี่อง (เฉพาะเรือสำราญ) โดยมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา เป็นผู้ดำเนินการจัดสัมนนาเชิงปฏิบัติการ โดยมีผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวเข้าร่วม จำนวน 300 ราย ผู้แทนส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรเอกชน จำนวน 168 ราย จาก 85 หน่วยงาน และสามารถสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs ต้นแบบ ได้จำนวน 3 เครือข่าย ได้แก่ เครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs ต้นแบบภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้
นอกจากความสำเร็จการดำเนินโครงการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs ต้นแบบ และความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในช่วงปีที่ผ่านมา สสว.ยังได้ดำเนินโครงการอีกหลายโครงการเพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้กับผู้ประกอบการ SMEs ได้แก่ โครงการ Asean Design & Crafts Sourcing Hub Phase 2 ซึ่ง สสว.ได้มอบหมายให้ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้ดำเนินโครงการ ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการส่งเสริมและพัฒนาหัตถกรรมอาเซียน
รวมถึงการจัดกิจกรรมนำสินค้าหัตถกรรมที่พัฒนาแล้วไปออกงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติ ได้แก่ งาน BIG+BIH 2011 ประเทศไทย งาน Hong Kong International Gift Fair 2011 เกาะฮ่องกง และงาน World Market Center, Las Vegus ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงทำให้เกิด Collective Brand โดยมีผลิตภัณฑ์กว่า 200 รายการ ภายใต้แบรนด์ Craft & Co เพื่อส่งเสริมการตลาดที่ยั่งยืน ให้แก่ ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ให้สามารถแข่งขันและต่อรองกับคู่ค้าและลูกค้ารายใหญ่ได้
โครงการส่งเสริมคลัสเตอร์ท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ เพื่อเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของเอเชีย (ระยะที่ 2) โดยมี มูลนิธิเพื่อสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นผู้ดำเนินการเพิ่มขีดความสามารถในด้านการขยายตลาดต่างประเทศ และการเจรจาจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ให้กับผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าว ด้วยการส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าไปให้คำปรึกษาและจัดทำแผนการตลาดให้กับผู้ประกอบการรายใหม่ จำนวน 46 ราย และจัดกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจ จนเกิดคู่ค้าขึ้นมากกว่า 95 คู่ ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงกับกลุ่มคลัสเตอร์อย่างเป็นรูปธรรม
ขณะเดียวกัน มีการนำผู้ประกอบการใหม่ในคลัสเตอร์ไปเปิดตลาดในประเทศรัสเซียและจีน ซึ่งคาดว่า ในปี 2555 จะสามารถนำผู้ป่วยชาวต่างชาติเข้ามารับการรักษาในประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นกว่า 10,000 ราย สร้างรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 300 ล้านบาท
และโครงการสร้างคุณค่าให้กับสินค้าและบริการ SMEs บนแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ โดยมีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งมีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการฯ ผ่านกิจกรรมสัมมนา จำนวน 1,175 ราย การอบรมเชิงลึกด้วยการจัดทีมที่ปรึกษาเพื่อเป็นพี่เลี้ยง ให้แก่ ผู้ประกอบการ SMEs สามารถก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ผ่านการพัฒนาแล้ว จำนวน 68 ผลิตภัณฑ์
รวมถึงการนำผู้ประกอบการไปออกงานแสดงสินค้าและเจรจาจับคู่ธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ มีช่องทางการตลาด และสามารถจำหน่ายสินค้าได้เพิ่มขึ้น และสามารถนำความรู้จากการอบรมตามแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ไปพัฒนาสินค้าและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“การส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ในภูมิภาค ถือเป็นภารกิจสำคัญที่จำเป็นต่อเร่งรัดดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยการสร้างกระบวนการความร่วมมือเชิงบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมผลักดัน สนับสนุนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ในพื้นที่ให้เป็นสอดคล้องกับแผนปฎิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อันเป็นภารกิจหลักของ สสว. อีกทั้งยังสามารถสร้างเครือข่ายการส่งเสริม SMEs ตั้งแต่ระดับจังหวัด ระดับภาค และเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ที่มีจำนวนกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนผู้ประกอบการ SMEs ทั่วประเทศ ซึ่งจะทำให้มีฐานข้อมูลที่ทันสมัย สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนา และสร้างความยั่งยืนให้กับระบบเศรษฐกิจในพื้นที่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสู่การสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศในที่สุด” นายยุทธศักดิ์ กล่าว
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า จากการที่ สสว.จัดทำโครงการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs ต้นแบบ และความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยได้ร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์การเอกชน และสถาบันการศึกษาในพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs ต้นแบบ ซึ่งเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน และเชื่อมโยงซัปพลายเชนระหว่างภาคธุรกิจขนาดใหญ่กับธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SMEs) โดยนำร่องใน 3 กลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งเป็น New Creative Economy และเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพทางการตลาด และมีมูลค่าทางการเศรษฐกิจสูง ได้แก่ สาขาอุปกรณ์ทางการแพทย์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง สาขาเครื่องสำอางและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง สาขาอู่ต่อเรือ-ซ่อมเรือและธุรกิจที่เกี่ยวเนี่อง (เฉพาะเรือสำราญ)
ผลการดำเนินงาน มีดังนี้ สาขาอุปกรณ์ทางการแพทย์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง โดยมี คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาตร์ของประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินงานซึ่งจากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรวมถึงผู้ประกอบการ ทำให้ได้ข้อสรุปว่า อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ของไทยยังไม่มีความเข้มแข็ง สินค้าที่ผลิตได้ยังใช้เทคโนโลยีที่ไม่สูงนัก ขาดการวางแผนและบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องมีแผนที่นำทาง (Roadmap) ในการส่งเสริมและพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าว
“การจัดทำแผนที่นำทางเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ของไทย จะมุ่งเน้นปัจจัยพื้นที่ที่จำเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ โดยสิ่งที่จะต้องเริ่มทำก่อนคือ การเปลี่ยนทัศนคติจากการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่พึ่งพาการนำเข้าเครื่องมือแพทย์จากต่างประเทศ มาเป็นการสร้างอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ในประเทศ เพื่อสนองต่อความต้องการคุณภาพชีวิตที่ของคนไทยและต่างประเทศ”
ขณะเดียวกัน จากการดำเนินโครงการสามารถทำให้เกิดเครือข่ายผู้ประกอบการกลุ่มอุปกรณ์ทางการแพทย์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ทั้งสิ้น 4 เครือข่าย โดยมีผู้ประกอบการอยู่ในเครือข่ายมากถึง 400 ราย ได้แก่ เครือข่ายการบริการและซอฟต์แวร์ คณะกรรมการเครือข่ายครุภัณฑ์ทางการแพทย์และเครื่องจักร เครือข่ายน้ำยาทดสอบและชุดตรวจวินิจฉัย และคณะกรรมการเครือข่ายวัสดุอุปกรณ์การแพทย์
ในส่วนสาขาเครื่องสำอางและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง โดยมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร เป็นผู้ดำเนินงานในกลุ่มเครื่องสำอาง 4 สาขา ได้แก่ เมคอัพ สกินแคร์ สปา และผม-เล็บ โดยได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการไปตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ รวมถึงกรุงเทพฯ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการกว่า 650 ราย แบ่งเป็นผู้ประกอบการ จำนวน 403 ราย ผู้แทนส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรเอกชน จำนวน 245 ราย จาก 103 หน่วยงาน รวมถึงการนำผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 40 ราย ไปศึกษาดูงานที่ประเทศเกาหลี เพื่อเป็นแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ต้นแบบ
ขณะที่สาขาอู่ต่อเรือ-ซ่อมเรือและธุรกิจที่เกี่ยวเนี่อง (เฉพาะเรือสำราญ) โดยมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา เป็นผู้ดำเนินการจัดสัมนนาเชิงปฏิบัติการ โดยมีผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวเข้าร่วม จำนวน 300 ราย ผู้แทนส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรเอกชน จำนวน 168 ราย จาก 85 หน่วยงาน และสามารถสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs ต้นแบบ ได้จำนวน 3 เครือข่าย ได้แก่ เครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs ต้นแบบภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้
นอกจากความสำเร็จการดำเนินโครงการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs ต้นแบบ และความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในช่วงปีที่ผ่านมา สสว.ยังได้ดำเนินโครงการอีกหลายโครงการเพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้กับผู้ประกอบการ SMEs ได้แก่ โครงการ Asean Design & Crafts Sourcing Hub Phase 2 ซึ่ง สสว.ได้มอบหมายให้ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้ดำเนินโครงการ ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการส่งเสริมและพัฒนาหัตถกรรมอาเซียน
รวมถึงการจัดกิจกรรมนำสินค้าหัตถกรรมที่พัฒนาแล้วไปออกงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติ ได้แก่ งาน BIG+BIH 2011 ประเทศไทย งาน Hong Kong International Gift Fair 2011 เกาะฮ่องกง และงาน World Market Center, Las Vegus ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงทำให้เกิด Collective Brand โดยมีผลิตภัณฑ์กว่า 200 รายการ ภายใต้แบรนด์ Craft & Co เพื่อส่งเสริมการตลาดที่ยั่งยืน ให้แก่ ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ให้สามารถแข่งขันและต่อรองกับคู่ค้าและลูกค้ารายใหญ่ได้
โครงการส่งเสริมคลัสเตอร์ท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ เพื่อเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของเอเชีย (ระยะที่ 2) โดยมี มูลนิธิเพื่อสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นผู้ดำเนินการเพิ่มขีดความสามารถในด้านการขยายตลาดต่างประเทศ และการเจรจาจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ให้กับผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าว ด้วยการส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าไปให้คำปรึกษาและจัดทำแผนการตลาดให้กับผู้ประกอบการรายใหม่ จำนวน 46 ราย และจัดกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจ จนเกิดคู่ค้าขึ้นมากกว่า 95 คู่ ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงกับกลุ่มคลัสเตอร์อย่างเป็นรูปธรรม
ขณะเดียวกัน มีการนำผู้ประกอบการใหม่ในคลัสเตอร์ไปเปิดตลาดในประเทศรัสเซียและจีน ซึ่งคาดว่า ในปี 2555 จะสามารถนำผู้ป่วยชาวต่างชาติเข้ามารับการรักษาในประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นกว่า 10,000 ราย สร้างรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 300 ล้านบาท
และโครงการสร้างคุณค่าให้กับสินค้าและบริการ SMEs บนแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ โดยมีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งมีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการฯ ผ่านกิจกรรมสัมมนา จำนวน 1,175 ราย การอบรมเชิงลึกด้วยการจัดทีมที่ปรึกษาเพื่อเป็นพี่เลี้ยง ให้แก่ ผู้ประกอบการ SMEs สามารถก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ผ่านการพัฒนาแล้ว จำนวน 68 ผลิตภัณฑ์
รวมถึงการนำผู้ประกอบการไปออกงานแสดงสินค้าและเจรจาจับคู่ธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ มีช่องทางการตลาด และสามารถจำหน่ายสินค้าได้เพิ่มขึ้น และสามารถนำความรู้จากการอบรมตามแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ไปพัฒนาสินค้าและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“การส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ในภูมิภาค ถือเป็นภารกิจสำคัญที่จำเป็นต่อเร่งรัดดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยการสร้างกระบวนการความร่วมมือเชิงบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมผลักดัน สนับสนุนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ในพื้นที่ให้เป็นสอดคล้องกับแผนปฎิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อันเป็นภารกิจหลักของ สสว. อีกทั้งยังสามารถสร้างเครือข่ายการส่งเสริม SMEs ตั้งแต่ระดับจังหวัด ระดับภาค และเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ที่มีจำนวนกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนผู้ประกอบการ SMEs ทั่วประเทศ ซึ่งจะทำให้มีฐานข้อมูลที่ทันสมัย สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนา และสร้างความยั่งยืนให้กับระบบเศรษฐกิจในพื้นที่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสู่การสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศในที่สุด” นายยุทธศักดิ์ กล่าว