รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม เผย ความร่วมมือไทยจีนในการจัดงาน China International SME Fair (CISMEF) 2011 สำเร็จตามเป้า เกิดการจับคู่ธุรกิจมากถึง 417 คู่ มูลค่ากว่า 720 ล้านบาท ยอดขายในงานได้กว่า 20 ล้านบาท สินค้ากลุ่มอาหาร เครื่องปรุงรส สมุนไพร และสปา เป็นสินค้าดาวรุ่ง
นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากการกระทรวงอุตสาหกรรม โดย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน จัดงาน China International SME Fair (CISMEF) 2011 งานแสดงสินค้าและ สัมมนาของเอสเอ็มอีที่งานใหญ่ที่สุดในจีน และใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากงานเอสเอ็มอีที่เยอรมัน ซึ่งจัดขึ้นที่นครกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง เมื่อวันที่ 22-25 กันยายนที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
“ตลอดระยะเวลา 4 วันของการจัดงาน สามารถสร้างความร่วมมือในระดับนโยบายกับประเทศจีน รัสเซีย รวมทั้งแสดงศักยภาพของประเทศไทยให้นานาประเทศได้รู้จัก ซึ่งภาพรวมของ CISMEF ครั้งนี้มี SMEs จากประเทศต่างๆ เข้าร่วมกว่า 30 ประเทศ เช่น จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฮ่องกง ไต้หวัน ซาอุดิอาระเบีย รัสเซีย สวีเดน เยอรมัน ออสเตรเลีย ฯลฯ มีผู้เข้าชมงานกว่า 200,000 คน โดยเฉพาะ Thailand Pavilion บนพื้นที่ 10,500 ตร.ม. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ไม่น้อยกว่า 70,000 คน ผู้ประกอบการไทยสามารถเจรจาจับคู่ธุรกิจกับจีนและนานาชาติได้ถึง 417 คู่ คิดเป็นมูลค่ากว่า 720 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมียอดการจำหน่ายสินค้าภายในงานอีกประมาณ 20 ล้านบาท” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว
สำหรับการขยายโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ SMEs ผู้ประกอบการไทยจำนวน 187 ราย ส่วนใหญ่ได้รับความสนใจจาก Buyer ทั้งชาวจีนและนานาชาติ โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องปรุงรส สมุนไพร และสปา ฯลฯ ได้รับการติดต่อจาก Distributor จากประเทศต่างๆ รายละไม่น้อยกว่า 3-5 ราย และมีโอกาสในการซื้อขายสินค้าในอนาคตอันใกล้ เช่น บริษัท I Plus Q จำกัด บริษัท Dubble Plus Marketing จำกัด บริษัท SC Herb จำกัด บริษัท Sabai Secret จำกัด เป็นต้น
โดยกลุ่มผู้ซื้อรายใหญ่ที่มีการสั่งซื้อสินค้าไทยผ่านกิจกรรมการจับคู่ธุรกิจ ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย สวีเดน รัสเซีย และจีน ฯลฯ ตัวอย่างเช่น Distributor ของจีน สนใจและสั่งซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพร ของ บริษัท เจตกมล จำกัด คิดเป็นมูลค่า ไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาทในระยะเวลา 5 ปี ผลิตภัณฑ์รังนกของ บริษัท BB Bird Nest จำกัด รวมทั้งสินค้าในกลุ่มอาหาร Organic ขณะที่ Distributor ของซาอุดิอาระเบีย สนใจสั่งซื้อผลิตภัณฑ์สปา จากบริษัท บ้านไอดิน จำกัด รวมทั้งบริษัทอื่นๆ ด้านผลิตภัณฑ์สปา เป็นต้น
ขณะเดียวกันผู้ประกอบการ SMEs ยังสามารถสร้างยอดขายสินค้าเงินสดภายในงานประมาณ 20 ล้านบาท สินค้าที่ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อ ได้แก่ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ Organic สมุนไพร กาแฟ กลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับ โดยเฉพาะที่ใช้วัตถุดิบซึ่งเป็นสินแร่ที่มีค่าสำหรับชาวจีน เช่น หยก เครื่องเงิน เครื่องเงินชุบสีทอง
ในส่วนการเผยแพร่ภาพลักษณ์ไทย ก็ได้รับความสนใจจากผู้ร่วมงานทั้งการจัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การจัด Thailand Showcase ซึ่งแสดงศักยภาพของธุรกิจไทย โดยมีผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ร่วมสนับสนุนการจัดงานครั้งนี้เข้าร่วมแสดงศักยภาพ ได้แก่ กลุ่มบริษัทสหพัฒนพิบูลย์ จำกัด บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารกรุงเทพ นอกจากนี้ยังมีการสัมมนาเพื่อให้ข้อมูลความรู้โดยผู้ประกอบการ SMEs ไทย การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การแสดงศักยภาพอุตสาหกรรมบันเทิงไทย ด้วยการฉายภาพยนตร์ไทยและกิจกรรมนักแสดงไทยนัดพบแฟนคลับชาวจีน (Meet and Greet) โดยมี ติ๊นา ออม และนิวอี้ จากภาพยนต์เรื่อง Yes or No ไปร่วมโชว์ตัว ซึ่งมีแฟนคลับชาวจีนเข้าร่วมกิจกรรมนี้กว่า 400 คน
ประโยชน์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการจัดงานในครั้งนี้ คือ ความสำเร็จในการขยายความร่วมมือเชิงนโยบายในการส่งเสริม SMEs ระหว่างประเทศ ซึ่งได้มีการเจรจาระดับทวิภาคีกับประเทศจีนและรัสเซีย ในส่วนของจีน มีการเจรจากับ นาย จู หง เลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ และนายหวง หวา หวา ผู้ว่าการมณฑลกวางตุ้ง เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางในการส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินธุรกิจระหว่างไทยและจีน ทั้งในรูปแบบของการร่วมลงทุน การถ่ายทอดความรู้ การเป็นพันธมิตรในการขยายโอกาสทางการค้าการลงทุนระหว่างกัน การขยายความร่วมมือในการพัฒนา SMEs ผ่านการจัดงาน CISMEF และได้เสนอให้พิจารณาไทยเป็นฐานการลงทุนหลักเพื่อเป็นประตูในการขยายตลาดการค้าของจีนสู่อาเซียน เพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558
ส่วนรัสเซีย ได้มีการเจรจากกับ นายอีกอร์ กาลามาเยฟ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เพื่อร่วมกันหาแนวทางการเพิ่มโอกาสทางการค้าการลงทุนของทั้ง 2 ประเทศ ทั้งในด้านก๊าซธรรมชาติ รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งรัสเซียจะเริ่มผลิตออกสู่ตลาดในปี 2558 นี้ ซึ่งนับเป็นช่องทางสำคัญของไทยในการแสวงหาแหล่งก๊าซธรรมชาติ และสร้างโอกาสให้ SMEs ไทย ในผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินบางประเภท ให้กับรัสเซีย นอกจากนี้ยังเสนอให้มีการพิจารณาไทย เป็นฐานการลงทุนหลักในอาเซียน เพื่อเป็นประตูในการขยายตลาดการค้าเข้าสู่อาเซียน รวมถึงการเจรจาความร่วมมือในการจัดประชุมรัฐมนตรี SMEs กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิค (เอเปค) ครั้งที่ 19 ซึ่งรัสเซีย จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในเดือน เม.ย. 2555 นี้ คาดว่าจะมีการหารือร่วมกันถึงแนวทางการลดอุปสรรคทางการค้าให้กับ SMEs เพื่อให้การค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้รับการทาบทามจาก China Foreign Trade Guangzhou Exhibition General Corp หรือ CFTE ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลกวางโจว ที่มีหน้าที่ในการจัดงานแสดงและจำหน่ายสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศในชื่องาน CANTON Fair เพื่อให้กระทรวงอุตสาหกรรม โดย สสว. เข้าร่วมจัดงานที่จะมีขึ้นในประเทศไทย ในเดือนพฤศจิกายน นี้ ที่เมืองทองธานี และจะร่วมนำผู้ประกอบการจากจีน เข้าร่วมแสดงและจำหน่ายสินค้าภายในงาน Thailand SME Expo 2012 ซึ่ง สสว. กำหนดจะจัดในช่วงกลางปี 2555
“ความสำเร็จของการร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงาน CISMEF 2011 กับรัฐบาลจีนในครั้งนี้ นับเป็นประโยชน์สำคัญสำหรับประเทศไทย ทั้งในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศต่างๆ ที่สำคัญช่วยให้ SMEs สามารถขยายโอกาสทางการค้าการลงทุน และสร้างเครือข่ายธุรกิจกับผู้ประกอบการในประเทศจีนและนานาประเทศ ซึ่งผู้ประกอบการ SMEs ไทย ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจกับการจัดงานในครั้งนี้ โดยเห็นว่าเป็นช่องทางที่ดีในการขยายตลาดการค้าไปสู่ประเทศต่างๆ ขณะเดียวกันยังช่วยเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการทำตลาดการค้ากับต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับ SMEs ไทยต่อไป” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว
นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากการกระทรวงอุตสาหกรรม โดย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน จัดงาน China International SME Fair (CISMEF) 2011 งานแสดงสินค้าและ สัมมนาของเอสเอ็มอีที่งานใหญ่ที่สุดในจีน และใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากงานเอสเอ็มอีที่เยอรมัน ซึ่งจัดขึ้นที่นครกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง เมื่อวันที่ 22-25 กันยายนที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
“ตลอดระยะเวลา 4 วันของการจัดงาน สามารถสร้างความร่วมมือในระดับนโยบายกับประเทศจีน รัสเซีย รวมทั้งแสดงศักยภาพของประเทศไทยให้นานาประเทศได้รู้จัก ซึ่งภาพรวมของ CISMEF ครั้งนี้มี SMEs จากประเทศต่างๆ เข้าร่วมกว่า 30 ประเทศ เช่น จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฮ่องกง ไต้หวัน ซาอุดิอาระเบีย รัสเซีย สวีเดน เยอรมัน ออสเตรเลีย ฯลฯ มีผู้เข้าชมงานกว่า 200,000 คน โดยเฉพาะ Thailand Pavilion บนพื้นที่ 10,500 ตร.ม. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ไม่น้อยกว่า 70,000 คน ผู้ประกอบการไทยสามารถเจรจาจับคู่ธุรกิจกับจีนและนานาชาติได้ถึง 417 คู่ คิดเป็นมูลค่ากว่า 720 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมียอดการจำหน่ายสินค้าภายในงานอีกประมาณ 20 ล้านบาท” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว
สำหรับการขยายโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ SMEs ผู้ประกอบการไทยจำนวน 187 ราย ส่วนใหญ่ได้รับความสนใจจาก Buyer ทั้งชาวจีนและนานาชาติ โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องปรุงรส สมุนไพร และสปา ฯลฯ ได้รับการติดต่อจาก Distributor จากประเทศต่างๆ รายละไม่น้อยกว่า 3-5 ราย และมีโอกาสในการซื้อขายสินค้าในอนาคตอันใกล้ เช่น บริษัท I Plus Q จำกัด บริษัท Dubble Plus Marketing จำกัด บริษัท SC Herb จำกัด บริษัท Sabai Secret จำกัด เป็นต้น
โดยกลุ่มผู้ซื้อรายใหญ่ที่มีการสั่งซื้อสินค้าไทยผ่านกิจกรรมการจับคู่ธุรกิจ ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย สวีเดน รัสเซีย และจีน ฯลฯ ตัวอย่างเช่น Distributor ของจีน สนใจและสั่งซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพร ของ บริษัท เจตกมล จำกัด คิดเป็นมูลค่า ไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาทในระยะเวลา 5 ปี ผลิตภัณฑ์รังนกของ บริษัท BB Bird Nest จำกัด รวมทั้งสินค้าในกลุ่มอาหาร Organic ขณะที่ Distributor ของซาอุดิอาระเบีย สนใจสั่งซื้อผลิตภัณฑ์สปา จากบริษัท บ้านไอดิน จำกัด รวมทั้งบริษัทอื่นๆ ด้านผลิตภัณฑ์สปา เป็นต้น
ขณะเดียวกันผู้ประกอบการ SMEs ยังสามารถสร้างยอดขายสินค้าเงินสดภายในงานประมาณ 20 ล้านบาท สินค้าที่ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อ ได้แก่ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ Organic สมุนไพร กาแฟ กลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับ โดยเฉพาะที่ใช้วัตถุดิบซึ่งเป็นสินแร่ที่มีค่าสำหรับชาวจีน เช่น หยก เครื่องเงิน เครื่องเงินชุบสีทอง
ในส่วนการเผยแพร่ภาพลักษณ์ไทย ก็ได้รับความสนใจจากผู้ร่วมงานทั้งการจัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การจัด Thailand Showcase ซึ่งแสดงศักยภาพของธุรกิจไทย โดยมีผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ร่วมสนับสนุนการจัดงานครั้งนี้เข้าร่วมแสดงศักยภาพ ได้แก่ กลุ่มบริษัทสหพัฒนพิบูลย์ จำกัด บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารกรุงเทพ นอกจากนี้ยังมีการสัมมนาเพื่อให้ข้อมูลความรู้โดยผู้ประกอบการ SMEs ไทย การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การแสดงศักยภาพอุตสาหกรรมบันเทิงไทย ด้วยการฉายภาพยนตร์ไทยและกิจกรรมนักแสดงไทยนัดพบแฟนคลับชาวจีน (Meet and Greet) โดยมี ติ๊นา ออม และนิวอี้ จากภาพยนต์เรื่อง Yes or No ไปร่วมโชว์ตัว ซึ่งมีแฟนคลับชาวจีนเข้าร่วมกิจกรรมนี้กว่า 400 คน
ประโยชน์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการจัดงานในครั้งนี้ คือ ความสำเร็จในการขยายความร่วมมือเชิงนโยบายในการส่งเสริม SMEs ระหว่างประเทศ ซึ่งได้มีการเจรจาระดับทวิภาคีกับประเทศจีนและรัสเซีย ในส่วนของจีน มีการเจรจากับ นาย จู หง เลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ และนายหวง หวา หวา ผู้ว่าการมณฑลกวางตุ้ง เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางในการส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินธุรกิจระหว่างไทยและจีน ทั้งในรูปแบบของการร่วมลงทุน การถ่ายทอดความรู้ การเป็นพันธมิตรในการขยายโอกาสทางการค้าการลงทุนระหว่างกัน การขยายความร่วมมือในการพัฒนา SMEs ผ่านการจัดงาน CISMEF และได้เสนอให้พิจารณาไทยเป็นฐานการลงทุนหลักเพื่อเป็นประตูในการขยายตลาดการค้าของจีนสู่อาเซียน เพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558
ส่วนรัสเซีย ได้มีการเจรจากกับ นายอีกอร์ กาลามาเยฟ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เพื่อร่วมกันหาแนวทางการเพิ่มโอกาสทางการค้าการลงทุนของทั้ง 2 ประเทศ ทั้งในด้านก๊าซธรรมชาติ รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งรัสเซียจะเริ่มผลิตออกสู่ตลาดในปี 2558 นี้ ซึ่งนับเป็นช่องทางสำคัญของไทยในการแสวงหาแหล่งก๊าซธรรมชาติ และสร้างโอกาสให้ SMEs ไทย ในผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินบางประเภท ให้กับรัสเซีย นอกจากนี้ยังเสนอให้มีการพิจารณาไทย เป็นฐานการลงทุนหลักในอาเซียน เพื่อเป็นประตูในการขยายตลาดการค้าเข้าสู่อาเซียน รวมถึงการเจรจาความร่วมมือในการจัดประชุมรัฐมนตรี SMEs กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิค (เอเปค) ครั้งที่ 19 ซึ่งรัสเซีย จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในเดือน เม.ย. 2555 นี้ คาดว่าจะมีการหารือร่วมกันถึงแนวทางการลดอุปสรรคทางการค้าให้กับ SMEs เพื่อให้การค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้รับการทาบทามจาก China Foreign Trade Guangzhou Exhibition General Corp หรือ CFTE ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลกวางโจว ที่มีหน้าที่ในการจัดงานแสดงและจำหน่ายสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศในชื่องาน CANTON Fair เพื่อให้กระทรวงอุตสาหกรรม โดย สสว. เข้าร่วมจัดงานที่จะมีขึ้นในประเทศไทย ในเดือนพฤศจิกายน นี้ ที่เมืองทองธานี และจะร่วมนำผู้ประกอบการจากจีน เข้าร่วมแสดงและจำหน่ายสินค้าภายในงาน Thailand SME Expo 2012 ซึ่ง สสว. กำหนดจะจัดในช่วงกลางปี 2555
“ความสำเร็จของการร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงาน CISMEF 2011 กับรัฐบาลจีนในครั้งนี้ นับเป็นประโยชน์สำคัญสำหรับประเทศไทย ทั้งในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศต่างๆ ที่สำคัญช่วยให้ SMEs สามารถขยายโอกาสทางการค้าการลงทุน และสร้างเครือข่ายธุรกิจกับผู้ประกอบการในประเทศจีนและนานาประเทศ ซึ่งผู้ประกอบการ SMEs ไทย ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจกับการจัดงานในครั้งนี้ โดยเห็นว่าเป็นช่องทางที่ดีในการขยายตลาดการค้าไปสู่ประเทศต่างๆ ขณะเดียวกันยังช่วยเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการทำตลาดการค้ากับต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับ SMEs ไทยต่อไป” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว