กาญจนบุรี - สสจ.กาญจนบุรี ย้ำเตือนประชาชนอย่าลืมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุก 7 วัน เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกระบาด
เมื่อเวลา 12.00 น.วันนี้ (15 ก.ย.) นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของประเทศ รวมถึงจังหวัดกาญจนบุรี เป็นโรคติดต่อนำโดยแมลงที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค เนื่องจากขณะนี้เป็นช่วงฤดูฝน มีแนวโน้มการระบาดของโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น จากข้อมูลสถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดกาญจนบุรี ตั้งแต่เดือนมกราคม - 30 สิงหาคม 2554 มีรายงานผู้ป่วยจำนวน 654 ราย อัตราป่วย 78.38 ต่อประชากรแสนคน มีผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.15 มีผู้ป่วยสูงสุดที่อำเภอเมือง และอำเภอท่าม่วง อัตราป่วย 191.31 และ 130.93 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ โดยพบผู้ป่วยในทุกกลุ่มอายุ ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 10-14 ปี รองลงมาคือกลุ่มอายุ 5-9 ปีและ 0-4 ปี
นพ.ไพศาลย้ำถึงมาตรการ 3 ร. 5 ป. ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยในระดับบุคคลและครอบครัว เน้นพฤติกรรม 5 ป.ได้แก่ ปิดฝาภาชนะกักเก็บน้ำทุกชนิด เปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะกักเก็บน้ำ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง และปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนเป็นนิสัย ส่วนระดับชุมชนเน้นความตระหนักและความร่วมมือของชุมชนในการดูแลสถานที่ 3 ร.คือ โรงเรียน โรงพยาบาล และโรงเรือนต่างๆ
การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก ควรปฏิบัติดังนี้
วิธีทางกายภาพ โดยการปิดฝาภาชนะกักเก็บน้ำ ในชั้นแรกต้องใช้ผ้ามุ้ง ผ้ายางหรือพลาสติกมัดไว้ให้แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงลายลอดเข้าไปวางไข่ วิธีทางชีวภาพ โดยการปล่อยปลากินลูกน้ำลงในภาชนะ 2-4 ตัว วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายประหยัดและปลอดภัย เหมาะสมสำหรับภาชนะเก็บน้ำใช้ที่ไม่สามารถปิดฝาได้ และวิธีทางเคมี โดยการใส่สารเคมีฆ่าลูกน้ำยุงลาย ซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้และรับรองความปลอดภัย ได้แก่ ทรายทีมีฟอส ควรใช้เฉพาะกับภาชนะเก็บน้ำที่ไม่สามารถปิดฝา หรือใส่ปลากินลูกน้ำได้ เพื่อเป็นการประหยัด
การพ่นเคมีกำจัดยุงลายจะมีผลลดจำนวนยุงได้เพียงระยะสั้นเท่านั้น ประชาชนควรจัดบ้านเรือนและสภาพแวดล้อมไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านและชุมชน เพื่อป้องกันบุตรหลานมิให้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก เมื่อเด็กนอนกลางวันควรใช้มุ้งครอบ หรือนอนในห้องมุ้งลวด หากมีไข้ควรกินยาลดไข้พาราเซตามอลทุก 4-6 ชั่วโมง และเช็ดตัวแล้วหากไข้ยังไม่ลดใน 2-3 วัน ขอให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจป่วยเป็นไข้เลือดออก ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุดเพื่อรับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี ห้ามกินยาจำพวกแอสไพรินเป็นอันขาด เพราะจะทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ง่าย
เมื่อเวลา 12.00 น.วันนี้ (15 ก.ย.) นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของประเทศ รวมถึงจังหวัดกาญจนบุรี เป็นโรคติดต่อนำโดยแมลงที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค เนื่องจากขณะนี้เป็นช่วงฤดูฝน มีแนวโน้มการระบาดของโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น จากข้อมูลสถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดกาญจนบุรี ตั้งแต่เดือนมกราคม - 30 สิงหาคม 2554 มีรายงานผู้ป่วยจำนวน 654 ราย อัตราป่วย 78.38 ต่อประชากรแสนคน มีผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.15 มีผู้ป่วยสูงสุดที่อำเภอเมือง และอำเภอท่าม่วง อัตราป่วย 191.31 และ 130.93 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ โดยพบผู้ป่วยในทุกกลุ่มอายุ ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 10-14 ปี รองลงมาคือกลุ่มอายุ 5-9 ปีและ 0-4 ปี
นพ.ไพศาลย้ำถึงมาตรการ 3 ร. 5 ป. ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยในระดับบุคคลและครอบครัว เน้นพฤติกรรม 5 ป.ได้แก่ ปิดฝาภาชนะกักเก็บน้ำทุกชนิด เปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะกักเก็บน้ำ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง และปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนเป็นนิสัย ส่วนระดับชุมชนเน้นความตระหนักและความร่วมมือของชุมชนในการดูแลสถานที่ 3 ร.คือ โรงเรียน โรงพยาบาล และโรงเรือนต่างๆ
การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก ควรปฏิบัติดังนี้
วิธีทางกายภาพ โดยการปิดฝาภาชนะกักเก็บน้ำ ในชั้นแรกต้องใช้ผ้ามุ้ง ผ้ายางหรือพลาสติกมัดไว้ให้แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงลายลอดเข้าไปวางไข่ วิธีทางชีวภาพ โดยการปล่อยปลากินลูกน้ำลงในภาชนะ 2-4 ตัว วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายประหยัดและปลอดภัย เหมาะสมสำหรับภาชนะเก็บน้ำใช้ที่ไม่สามารถปิดฝาได้ และวิธีทางเคมี โดยการใส่สารเคมีฆ่าลูกน้ำยุงลาย ซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้และรับรองความปลอดภัย ได้แก่ ทรายทีมีฟอส ควรใช้เฉพาะกับภาชนะเก็บน้ำที่ไม่สามารถปิดฝา หรือใส่ปลากินลูกน้ำได้ เพื่อเป็นการประหยัด
การพ่นเคมีกำจัดยุงลายจะมีผลลดจำนวนยุงได้เพียงระยะสั้นเท่านั้น ประชาชนควรจัดบ้านเรือนและสภาพแวดล้อมไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านและชุมชน เพื่อป้องกันบุตรหลานมิให้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก เมื่อเด็กนอนกลางวันควรใช้มุ้งครอบ หรือนอนในห้องมุ้งลวด หากมีไข้ควรกินยาลดไข้พาราเซตามอลทุก 4-6 ชั่วโมง และเช็ดตัวแล้วหากไข้ยังไม่ลดใน 2-3 วัน ขอให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจป่วยเป็นไข้เลือดออก ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุดเพื่อรับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี ห้ามกินยาจำพวกแอสไพรินเป็นอันขาด เพราะจะทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ง่าย