กาญจนบุรี - สสจ.กาญจนบุรี เตือนประชาชนป้องกันโรคไข้เลือดออก เร่งประสานภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชนร่วมรณรงค์เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกระบาด พร้อมย้ำ “ทุก 7 วัน อย่าลืมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านและชุมชน”
เมื่อเวลา 15.30 น.วันนี้ (28 มิ.ย.) นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่นำโดยแมลง มียุงลายเป็นพาหะนำโรค สภาพอากาศที่แปรปรวนมีฝนตกบ่อยๆ เมื่อฝนทิ้งช่วง จะมียุงลายเพิ่มจำนวนมากขึ้น สถานการณ์ไข้เลือดออกของจังหวัดกาญจนบุรีตั้งแต่วันที่เดือนมกราคม ถึงวันที่ 27 มิถุนายน 2554 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วย 445 ราย (อัตราป่วย 53.33 ต่อประชากรแสนคน) เสียชีวิต 1 ราย (คิดเป็นอัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.22) อำเภอที่พบมากที่สุด คือ อำเภอเมือง ท่าม่วง และศรีสวัสดิ์ คิดเป็นอัตราป่วย 126.67, 115.29 และ 45.57 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ
การป้องกันโรคไข้เลือดออก จะต้องควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ดังนี้
• วิธีทางกายภาพ โดยการปิดฝาภาชนะกักเก็บน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงลายลอดเข้าไปวางไข่ เก็บของในบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ เพราะยุงลายชอบไปหลบซ่อนตามมุมมืดของห้องและเครื่องเรือนต่างๆ ที่รกๆ
• วิธีทางชีวภาพ โดยการปล่อยปลากินลูกน้ำลงในภาชนะกักเก็บน้ำ วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่าย ประหยัดและปลอดภัยเหมาะสมสำหรับภาชนะเก็บน้ำใช้ที่ไม่สามารถปิดฝาได้
• วิธีทางเคมี โดยการใส่สารเคมีฆ่าลูกน้ำยุงลาย วิธีการนี้จะสิ้นเปลือง และไม่เหมาะที่จะใช้อย่างต่อเนื่อง เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีการระบาด และได้มีการสำรวจพบว่ามีความชุกของยุงมากกว่าปกติ หรืออาจใช้ทรายทีมีฟอสตามอัตราส่วนที่กำหนดซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อคน ควรใช้เฉพาะกับภาชนะเก็บน้ำที่ไม่สามารถปิดฝา หรือใส่ปลากินลูกน้ำได้ การกำจัดยุงตัวเต็มวัยด้วยการพ่นเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัยเป็นวิธีควบคุมยุงลายที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ให้ผลระยะสั้น เหมาะสำหรับช่วงที่เกิดการระบาดของโรค ที่สำคัญจะต้องควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายภายในบ้าน และรอบๆบริเวณบ้าน รวมทั้งสถานที่สาธารณะในชุมชน เช่น โรงเรียน วัด สถานที่ราชการ โดยปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ “ทุก 7 วัน อย่าลืมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านและชุมชน”
นอกจากนี้ ประชาชนควรจัดบ้านเรือนและสภาพแวดล้อมไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านและชุมชน เพื่อป้องกันบุตรหลานมิให้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่ป้องกันได้ โดยระวังไม่ให้ยุงลายกัด เมื่อเด็กนอนกลางวันควรใช้มุ้งครอบ หรือนอนในห้องมุ้งลวด อย่างไรก็ตามการป้องกันที่ดีที่สุดคือการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
โดยเฉพาะภาชนะที่มีน้ำขังเกิน 7 วัน ถ้าทุกบ้านร่วมมือกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายภายในบ้านและรอบๆ บริเวณบ้านทุก 7 วัน ก็จะป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ หากพบว่าคนในบ้านไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่มีไข้สูง กินยาพาราเซตามอล ทุก 4-6 ชั่วโมงและเช็ดตัวแล้วหากไข้ยังไม่ลดใน 2-3 วัน ขอให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจป่วยเป็นไข้เลือดออก ห้ามกินยาลดไข้จำพวกแอสไพรินเป็นอันขาด ควรรีบพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันทีเพื่อรับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี เผย
เมื่อเวลา 15.30 น.วันนี้ (28 มิ.ย.) นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่นำโดยแมลง มียุงลายเป็นพาหะนำโรค สภาพอากาศที่แปรปรวนมีฝนตกบ่อยๆ เมื่อฝนทิ้งช่วง จะมียุงลายเพิ่มจำนวนมากขึ้น สถานการณ์ไข้เลือดออกของจังหวัดกาญจนบุรีตั้งแต่วันที่เดือนมกราคม ถึงวันที่ 27 มิถุนายน 2554 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วย 445 ราย (อัตราป่วย 53.33 ต่อประชากรแสนคน) เสียชีวิต 1 ราย (คิดเป็นอัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.22) อำเภอที่พบมากที่สุด คือ อำเภอเมือง ท่าม่วง และศรีสวัสดิ์ คิดเป็นอัตราป่วย 126.67, 115.29 และ 45.57 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ
การป้องกันโรคไข้เลือดออก จะต้องควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ดังนี้
• วิธีทางกายภาพ โดยการปิดฝาภาชนะกักเก็บน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงลายลอดเข้าไปวางไข่ เก็บของในบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ เพราะยุงลายชอบไปหลบซ่อนตามมุมมืดของห้องและเครื่องเรือนต่างๆ ที่รกๆ
• วิธีทางชีวภาพ โดยการปล่อยปลากินลูกน้ำลงในภาชนะกักเก็บน้ำ วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่าย ประหยัดและปลอดภัยเหมาะสมสำหรับภาชนะเก็บน้ำใช้ที่ไม่สามารถปิดฝาได้
• วิธีทางเคมี โดยการใส่สารเคมีฆ่าลูกน้ำยุงลาย วิธีการนี้จะสิ้นเปลือง และไม่เหมาะที่จะใช้อย่างต่อเนื่อง เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีการระบาด และได้มีการสำรวจพบว่ามีความชุกของยุงมากกว่าปกติ หรืออาจใช้ทรายทีมีฟอสตามอัตราส่วนที่กำหนดซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อคน ควรใช้เฉพาะกับภาชนะเก็บน้ำที่ไม่สามารถปิดฝา หรือใส่ปลากินลูกน้ำได้ การกำจัดยุงตัวเต็มวัยด้วยการพ่นเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัยเป็นวิธีควบคุมยุงลายที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ให้ผลระยะสั้น เหมาะสำหรับช่วงที่เกิดการระบาดของโรค ที่สำคัญจะต้องควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายภายในบ้าน และรอบๆบริเวณบ้าน รวมทั้งสถานที่สาธารณะในชุมชน เช่น โรงเรียน วัด สถานที่ราชการ โดยปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ “ทุก 7 วัน อย่าลืมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านและชุมชน”
นอกจากนี้ ประชาชนควรจัดบ้านเรือนและสภาพแวดล้อมไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านและชุมชน เพื่อป้องกันบุตรหลานมิให้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่ป้องกันได้ โดยระวังไม่ให้ยุงลายกัด เมื่อเด็กนอนกลางวันควรใช้มุ้งครอบ หรือนอนในห้องมุ้งลวด อย่างไรก็ตามการป้องกันที่ดีที่สุดคือการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
โดยเฉพาะภาชนะที่มีน้ำขังเกิน 7 วัน ถ้าทุกบ้านร่วมมือกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายภายในบ้านและรอบๆ บริเวณบ้านทุก 7 วัน ก็จะป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ หากพบว่าคนในบ้านไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่มีไข้สูง กินยาพาราเซตามอล ทุก 4-6 ชั่วโมงและเช็ดตัวแล้วหากไข้ยังไม่ลดใน 2-3 วัน ขอให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจป่วยเป็นไข้เลือดออก ห้ามกินยาลดไข้จำพวกแอสไพรินเป็นอันขาด ควรรีบพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันทีเพื่อรับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี เผย