พิษณุโลก - ป้องภันภัยฝ่ายพลเรือนพิษณุโลก รับงบฉุกเฉิน 50 ล้านบาทแรก หมดแล้ว ล่าสุด ได้รับเพิ่มอีก 60 ล้านบาท และกำลังของบซ่อมถนนเพิ่มอีก 200 ล้านบาท ยันงบล็อตแรกจ่ายค่าน้ำมันแค่หลักแสน สวนทางรายงานค่าใช้จ่ายข้อ 4 ค่ากำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ-น้ำมัน สูงกว่า 33 ล้านบาท
นายบุญยิ่ง คุ้มสุพรรณ ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนจังหวัดพิษณุโลก ระบุว่า งบฉุกเฉิน 50 ล้านบาท ล๊อตแรกที่จังหวัดได้รับและใช้ดำเนินการแก้ปัญหาน้ำท่วมไปหมดแล้ว ต่อมาวันศุกร์ที่ 9 ก.ย. 54 ได้รับงบประมาณเร่งด่วนฉุกเฉินเพิ่มเติมอีก 60 ล้านบาท และกำลังดำเนินการของบประมาณจากส่วนกลางให้แขวงการทาง,ทางหลวงชนบท ซ่อมแซมเส้นทางสายหลัก-รอง ที่ถูกน้ำท่วมเสียหายอีก 200 ล้านบาท
ผู้สื่อขาวถามว่า งบฉุกเฉินที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ส่วนใหญ่ทำอะไรบ้าง ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนจังหวัดบอกว่า ส่วนใหญ่ใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการกำจัดสิ่งกีดขวางทางเดินน้ำ และค่าใช้จ่ายดูแลเจ้าหน้าที่ ส่วนงบฉุกเฉินอีก 60 ล้านบาทที่เพิ่งได้มานั้น ตามแผนก็เน้นหนักไปในงานกำจัดสิ่งกีดขวางทางเดินน้ำเช่นเดิม
ส่วนค่าน้ำมันที่เป็นข่าวว่าสูงถึง 33 ล้านบาทนั้น นายบุญยิ่ง บอกเพียงว่า งบฉุกเฉิน 50 ล้านบาท ใช้สำหรับค่าน้ำมันเพียงแสนกว่าบาทเท่านั้น
ทั้งนี้ เมื่อคราว นายปรีชา เรืองจันทน์ ผู้ว่าฯพิษณุโลก พร้อมด้วย นายสุวิทย์ วัชโรทยางกูร ผู้ว่าฯพิจิตร ชี้แจงการทำงานตามโครงการบางระกำโมเดลต่อนายยุทธนา ยุพฤทธิ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการการปกครอง วุฒิสภา พร้อมคณะ เมื่อ 6 ก.ย.54 ที่ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลกนั้น ได้มีการระบุถึงความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมของจังหวัดพิษณุโลก ตามวงเงินทดรองราชการ 50 ล้านบาทนั้น กชภ.จ.อนุมัติ ครั้งที่ 9 (23 ส.ค.) ดังนี้
1.อาหาร ที่อยู่อาศัย (สร้างที่พัก 26 หลัง) จัดการศพจำนวน 1,332,820 บาท
2.การสาธารณสุข 467,636 บาท
3.ปศุสัตว์ 87,000 บาท
4.กำจัดสิ่งกีดขวาง เปิดทางน้ำ น้ำมันเชื้อเพลิง 33,258,864 บาท
5.ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าตอบแทน 164,320 บาท รวม 35,310,640 บาท
กชภ.จ.อนุมัติ ครั้งที่ 10 (2 ก.ย.) เป็นค่ากำจัดสิ่งกีดขวาง 14,689,360 บาท รวม 50,000,000 บาท
ตามรายงานแก้ไขอุทกภัยของจังหวัดพิษณุโลก ระบุว่า มีผลกระทบ 6 แสนไร่ 9 อำเภอ 80 ตำยล 652 หมู่บ้าน เสียชีวิต 4 ราย โดยอพยพราษฎรที่ถูกน้ำท่วม 153 ครัวเรือน และสร้างที่พักอาศัยชั่วคราวจำนวน 26 หลัง
พร้อมสนธิกำลังตำรวจ อส., อปพร.กว่า 5,000 นาย เพื่อเตรียมการ พร้อมเปิดศูนย์ call 24 ชั่วโมว ซึ่งในระดับจังหวัดได้รับเรื่องร้องเรียนจำนวน 95 ครั้ง สนับสนุนเรือแก่ผู้ประสบอุทกภัยเพื่อใช้สัญจรไปมาจำนวน 314 ลำ สนับสนุนถุงยังชีพจำนวน 23,357 ชุด (ณ 1 ก.ย.) โดยประชาชนได้รับอย่างน้อย 1 ชุด
อย่างไรก็ตาม งบประมาณ 50 ล้านบาทดังกล่าว ยังไม่สามารถช่วยเหลือราษฎรเต็มที่ ซึ่งในการประชุม กชภ.จ.ครั้งที่ 10 ข้างต้น (2 ก.ย.) ได้มีการขยายวงเงินทดลองราชการเพิ่มเติม ด้านอาหาร ที่อยู่ จัดการศพจำนวน 5,000,000 บาท สังคมสงเคราะห์ 6,372,000 บาท กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ 46,437,700 บาท ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าตอนแทน 2,000,000 บาท รวมขอขยายวงเงิน 59,809,700 บาท
นอกจากนี้ ยังได้มีขอขยายวงเงินเพิ่มเติมจากเงินทดรองราชการ 50 ล้านบาท เพื่อของบกลางชดเชยให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ คือ นาข้าว 44,524.50 ไร่ พืชไร่ 829 ไร่ พืชสวน 1,267.50 ไร่ เป็นเงิน 108,006,504 บาท เกษตรกรจำนวน 2,699 ราย
นายบุญยิ่ง คุ้มสุพรรณ ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนจังหวัดพิษณุโลก ระบุว่า งบฉุกเฉิน 50 ล้านบาท ล๊อตแรกที่จังหวัดได้รับและใช้ดำเนินการแก้ปัญหาน้ำท่วมไปหมดแล้ว ต่อมาวันศุกร์ที่ 9 ก.ย. 54 ได้รับงบประมาณเร่งด่วนฉุกเฉินเพิ่มเติมอีก 60 ล้านบาท และกำลังดำเนินการของบประมาณจากส่วนกลางให้แขวงการทาง,ทางหลวงชนบท ซ่อมแซมเส้นทางสายหลัก-รอง ที่ถูกน้ำท่วมเสียหายอีก 200 ล้านบาท
ผู้สื่อขาวถามว่า งบฉุกเฉินที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ส่วนใหญ่ทำอะไรบ้าง ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนจังหวัดบอกว่า ส่วนใหญ่ใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการกำจัดสิ่งกีดขวางทางเดินน้ำ และค่าใช้จ่ายดูแลเจ้าหน้าที่ ส่วนงบฉุกเฉินอีก 60 ล้านบาทที่เพิ่งได้มานั้น ตามแผนก็เน้นหนักไปในงานกำจัดสิ่งกีดขวางทางเดินน้ำเช่นเดิม
ส่วนค่าน้ำมันที่เป็นข่าวว่าสูงถึง 33 ล้านบาทนั้น นายบุญยิ่ง บอกเพียงว่า งบฉุกเฉิน 50 ล้านบาท ใช้สำหรับค่าน้ำมันเพียงแสนกว่าบาทเท่านั้น
ทั้งนี้ เมื่อคราว นายปรีชา เรืองจันทน์ ผู้ว่าฯพิษณุโลก พร้อมด้วย นายสุวิทย์ วัชโรทยางกูร ผู้ว่าฯพิจิตร ชี้แจงการทำงานตามโครงการบางระกำโมเดลต่อนายยุทธนา ยุพฤทธิ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการการปกครอง วุฒิสภา พร้อมคณะ เมื่อ 6 ก.ย.54 ที่ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลกนั้น ได้มีการระบุถึงความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมของจังหวัดพิษณุโลก ตามวงเงินทดรองราชการ 50 ล้านบาทนั้น กชภ.จ.อนุมัติ ครั้งที่ 9 (23 ส.ค.) ดังนี้
1.อาหาร ที่อยู่อาศัย (สร้างที่พัก 26 หลัง) จัดการศพจำนวน 1,332,820 บาท
2.การสาธารณสุข 467,636 บาท
3.ปศุสัตว์ 87,000 บาท
4.กำจัดสิ่งกีดขวาง เปิดทางน้ำ น้ำมันเชื้อเพลิง 33,258,864 บาท
5.ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าตอบแทน 164,320 บาท รวม 35,310,640 บาท
กชภ.จ.อนุมัติ ครั้งที่ 10 (2 ก.ย.) เป็นค่ากำจัดสิ่งกีดขวาง 14,689,360 บาท รวม 50,000,000 บาท
ตามรายงานแก้ไขอุทกภัยของจังหวัดพิษณุโลก ระบุว่า มีผลกระทบ 6 แสนไร่ 9 อำเภอ 80 ตำยล 652 หมู่บ้าน เสียชีวิต 4 ราย โดยอพยพราษฎรที่ถูกน้ำท่วม 153 ครัวเรือน และสร้างที่พักอาศัยชั่วคราวจำนวน 26 หลัง
พร้อมสนธิกำลังตำรวจ อส., อปพร.กว่า 5,000 นาย เพื่อเตรียมการ พร้อมเปิดศูนย์ call 24 ชั่วโมว ซึ่งในระดับจังหวัดได้รับเรื่องร้องเรียนจำนวน 95 ครั้ง สนับสนุนเรือแก่ผู้ประสบอุทกภัยเพื่อใช้สัญจรไปมาจำนวน 314 ลำ สนับสนุนถุงยังชีพจำนวน 23,357 ชุด (ณ 1 ก.ย.) โดยประชาชนได้รับอย่างน้อย 1 ชุด
อย่างไรก็ตาม งบประมาณ 50 ล้านบาทดังกล่าว ยังไม่สามารถช่วยเหลือราษฎรเต็มที่ ซึ่งในการประชุม กชภ.จ.ครั้งที่ 10 ข้างต้น (2 ก.ย.) ได้มีการขยายวงเงินทดลองราชการเพิ่มเติม ด้านอาหาร ที่อยู่ จัดการศพจำนวน 5,000,000 บาท สังคมสงเคราะห์ 6,372,000 บาท กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ 46,437,700 บาท ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าตอนแทน 2,000,000 บาท รวมขอขยายวงเงิน 59,809,700 บาท
นอกจากนี้ ยังได้มีขอขยายวงเงินเพิ่มเติมจากเงินทดรองราชการ 50 ล้านบาท เพื่อของบกลางชดเชยให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ คือ นาข้าว 44,524.50 ไร่ พืชไร่ 829 ไร่ พืชสวน 1,267.50 ไร่ เป็นเงิน 108,006,504 บาท เกษตรกรจำนวน 2,699 ราย