ASTVผู้จัดการรายวัน-“คมนาคม” จ่อชงครม.ของบปี 55 เพิ่มอีก 10,000 ล้านบาท ซ่อมถนนและสะพานทั่วประเทศที่เสียหายจากน้ำท่วม สั่งทช.-ทช. เร่งซ่อมถนนที่ถูกตัดขาดก่อน โยเกลี่ยงบที่มีแล้วไปดำเนินการ
พล.อ.อ. สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากกรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ว่า มีถนนที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมทั่วประเทศรวม 34 จังหวัด และจากการประเมินคาดว่าจะต้องใช้งบประมาณในการซ่อมแซมแบบถาวรทั้งถนนและสะพานรวม 10,000 ล้านบาท โดยจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอจัดสรรงบประจำปี 2555 เพิ่มเติม ส่วนการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าสำหรับถนนที่ถูกตัดขาด ให้ทล.และทช.ดำเนินการซ่อมแซมให้การสัญจรสามารถผ่านได้ก่อน โดยใช้งบประมาณในส่วนอื่นๆ ที่มีอยู่แล้วมาปรับใช้
นายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กล่าวว่า ถนนของทช. ได้รับความเสียหายทั้งสิ้น 237 สายทาง ซึ่งแก้ไขให้การสัญจรผ่านได้แล้ว 210 สายทาง เหลือ 27 สายทาง ที่ยังไม่สามารถสัญจรได้ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ทช.ได้เร่งดำเนินการแก้ไขในส่วนของเส้นทางหลักที่สำคัญในการเดินทางอย่างเร่งด่วน โดยการนำเครื่องจักรหนักเข้าไปดำเนินการเพื่อเป็นการช่วยเหลือเบื้องต้น ซึ่งมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ประมาณ 5,000 ล้านบาท และในส่วนของความเสียหายในปี 2553 ประมาณ 7,000 ล้านบาท
นายวีระ เรืองสุขศรีวงศ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้น มีทั้งหมด 100 สายทาง ซึ่งกรมทางหลวงจะขอประมาณต่อกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งเป็นงบประมาณ 8,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นงบประมาณประจำปี 1,7000 ล้านบาท และที่เหลือ 6,300 ล้านบาทนั้น จะแบ่งเป็นงบประมาณในส่วนกลาง เพื่อจัดเตรียมดำเนินการโครงการในส่วนของกรมทางหลวง
พล.อ.อ. สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากกรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ว่า มีถนนที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมทั่วประเทศรวม 34 จังหวัด และจากการประเมินคาดว่าจะต้องใช้งบประมาณในการซ่อมแซมแบบถาวรทั้งถนนและสะพานรวม 10,000 ล้านบาท โดยจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอจัดสรรงบประจำปี 2555 เพิ่มเติม ส่วนการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าสำหรับถนนที่ถูกตัดขาด ให้ทล.และทช.ดำเนินการซ่อมแซมให้การสัญจรสามารถผ่านได้ก่อน โดยใช้งบประมาณในส่วนอื่นๆ ที่มีอยู่แล้วมาปรับใช้
นายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กล่าวว่า ถนนของทช. ได้รับความเสียหายทั้งสิ้น 237 สายทาง ซึ่งแก้ไขให้การสัญจรผ่านได้แล้ว 210 สายทาง เหลือ 27 สายทาง ที่ยังไม่สามารถสัญจรได้ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ทช.ได้เร่งดำเนินการแก้ไขในส่วนของเส้นทางหลักที่สำคัญในการเดินทางอย่างเร่งด่วน โดยการนำเครื่องจักรหนักเข้าไปดำเนินการเพื่อเป็นการช่วยเหลือเบื้องต้น ซึ่งมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ประมาณ 5,000 ล้านบาท และในส่วนของความเสียหายในปี 2553 ประมาณ 7,000 ล้านบาท
นายวีระ เรืองสุขศรีวงศ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้น มีทั้งหมด 100 สายทาง ซึ่งกรมทางหลวงจะขอประมาณต่อกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งเป็นงบประมาณ 8,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นงบประมาณประจำปี 1,7000 ล้านบาท และที่เหลือ 6,300 ล้านบาทนั้น จะแบ่งเป็นงบประมาณในส่วนกลาง เพื่อจัดเตรียมดำเนินการโครงการในส่วนของกรมทางหลวง