ศูนย์ข่าวศรีราชา - รัฐเดินเครื่องแก้ปัญหาเจ็ตสกีเมืองพัทยาต่อเนื่องหลังพบว่ายังคงมีปัญหา ด้านผู้ประกอบการออกโรงแฉมีกลุ่มหัวใสแฝงตัวหากิน ปล่อยเช่าราคาถูกหวังล่อนักท่องเที่ยวมือหัดใหม่ขับเที่ยวก่อนหาเรื่องชนเพื่อรีดเอาเงินค่าซ่อมแซม ขณะที่เมืองพัทยากร้าวเตรียมตั้งชุดเฉพาะกิจล่าหัวกลุ่มปลาเน่า พร้อมจัดระเบียบเข้มข้น
วันนี้ (3 ส.ค.54) จากกรณีที่มีการนำเสนอข่าวสารไปยังสื่อในประเทศและนานาชาติ เกี่ยวกับกลุ่มแก๊ง หรือขบวนการกรรโชกทรัพย์นักท่องเที่ยว โดยแฝงมาในคราบของผู้ประกอบการเรือเจ็ตสกีชายหาดพัทยา ซึ่งเรื่องดังกล่าวพบว่าสร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์และการท่องเที่ยวของเมืองพัทยาอย่างรุนแรงนั้น
ล่าสุดนายเชาวลิตร แสงอุทัย นายอำเภอบางละมุง พร้อมด้วยนายรณกิจ เอกะสิงห์ รองนายกเมืองพัทยา เป็นประธานการประชุมร่วมกับตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมเจ้าท่าภูมิภาคที่ 6 สภ.เมืองพัทยา ตำรวจท่องเที่ยว และผู้ประกอบการเรือเจ๊ตสกีในพื้นที่เมืองพัทยา เพื่อร่วมหารือเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม
นายเชาวลิตร เปิดเผยว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นถือว่าเป็นความเสียหายต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวอย่างรุนแรง ทุกฝ่ายจึงต้องหันมาร่วมมือเพื่อแก้ไขอย่างจริงจัง ทั้งในส่วนของภาครัฐและผู้ประ กอบการเอง ซึ่งที่ผ่านมา อำเภอบางละมุงก็ได้จัดส่งชุดเฉพาะกิจลงไปเฝ้าระวังเหตุบริเวณชายหาดพัทยาซึ่งก็ยังพบว่ามีปัญหาอย่างต่อเนื่อง
จึงได้มอบหมายให้ทางผู้เจรจาไกล่เกลี่ยที่แต่งตั้งโดยจังหวัดชลบุรีเข้าไปทำการตรวจสอบและคลี่คลายปัญหา ซึ่งก็สามารถทำได้ในระดับหนึ่ง แต่ภาพที่เกิดขึ้นนั้นหากมีการนำไปเผยแพร่อีกและสื่อสารในทิศทางที่ตรงกันข้ามก็อาจสร้างความเสียหายได้เช่นเดิม จึงต้องหาแนว ทางที่ชัดเจนและแก้ไขอย่างจริงจัง เช่น การจัดทำระเบียบผู้ประกอบการ การออกประกาศข้อบังคับที่ชัด เจน รวมทั้งการจัดทำประกันภัยสำหรับเรือท่องเที่ยว และจัดตั้งชุดเจรจาไกล่เกลี่ยปัญหาขึ้น
ด้านนายนิรันด์ มีความดี อดีตประธานชมรมเรือเจ๊ตสกีบ้านเกาะล้าน เปิดเผยว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ชายหาดพัทยาเป็นหลัก ส่วนที่เกาะล้านนั้นพบว่าที่ผ่านมามีปัญหาเพียง 1 % เท่านั้น ทั้งๆที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเล่นเรือเจ็ตสกีเป็นจำนวนมากต่อวัน ทั้งนี้เพราะมีการจัดระเบียบการเล่นเรือชัดเจน อีกทั้งไม่ปล่อยให้นักท่องเที่ยวที่ไม่มีความชำนาญเล่นเรือโดยลำพังเพื่อป้องกันความเสียหาย
ที่สำคัญราคาค่าบริการนั้นจะคิดในอัตรา 600 บาทต่อ 30 นาที เมื่อหักค่าน้ำมันเชื้อเพลิงแล้วก็จะเหลือกำไรเที่ยวละ 150 บาท แต่ฝั่งชายหาดพัทยากลับคิดราคาค่าบริการเพียง 200 บาทต่อ 30 นาทีเท่านั้นซึ่งไปได้ไม่ได้ อีกทั้งยังปล่อยให้นักท่องเที่ยวเล่นโดยลำพัง ทั้งนี้เพราะมีคนบางกลุ่มหาโอกาสให้นักท่องเที่ยวที่ไม่มีความชำนาญเหล่านี้ประสพอุบัติเหตุ หรือไม่ก็ทำทีเป็นขับเรือเฉี่ยวชน เพื่อให้เกิดร่องรอยเสียหายเพื่อนำมาเป็นข้อต่อรองในการเรียกร้องทรัพย์สินจากนักท่องเที่ยว
นายสนิท บุญมาฉาย ประธานชมรมเรือท่องเที่ยวพัทยา กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือต้องจัดทำประ วัติเรือให้ชัดเจน รวมทั้งนายท้ายเพื่อความสะดวกในการตรวจสอบเมื่อเกิดปัญหา อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นมีมานานและคาราคาซังมาหลายปี แต่ที่เป็นข่าวคราวขึ้นเพราะภาครัฐไม่ใส่ใจเอง โดยที่ผ่านมาไม่เคยมีมาตรการควบคุมที่ชัดเจนหรือไม่เคยแม้จะมีการเรียกประชุมร่วมเพื่อหารือแนวทางการออกกฎข้อบัง คับหรือแก้ไขปัญหามาก่อน ซึ่งเรื่องนี้หากภาครัฐมีความจริงใจและใส่ใจปัญหาก็คงไม่เกิดขึ้น
ด้านนายรณกิจ เอกะสิงห์ รองนายกเมืองพัทยา กล่าวว่าสิ่งแรกที่ต้องดำเนินการคือการจัดตั้งชุดเฉพาะกิจ เพื่อไล่ล่าพวกมิจฉาชีพที่แฝงตัวเข้ามาก่อเหตุ ซึ่งเบื้องต้นทราบว่ามีประมาณ 10 กว่ารายเท่านั้น ส่วนมาตรการอื่นๆนั้นขณะนี้ได้กำหนดให้ผู้ประกอบการเรือเจ็ตสกีที่ลงทะเบียนไว้กับกรมเจ้าท่าจำนวนทั้ง สิ้น 565 ลำมาแจ้งทำประวัติ ใบอนุญาต และใบนายท้ายที่เมืองพัทยาอย่างเร่งด่วนในระหว่างวันที่ 9-10 สิงหาคมนี้เท่านั้น ซึ่งหากเกินจากนี้จะถือว่าสละสิทธิ์
ทั้งนี้ จะทำสำเนาประวัติของผู้ประกอบการเหล่านี้ไปยังหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องทุกแห่งเพื่อความสะดวกในการตรวจสอบเมื่อเกิดปัญหา และต่อไปนี้เมืองพัทยาก็จะอนุญาตให้มีการประกอบการในส่วนของเรือเจ็ตสกีได้เท่าจำนวนที่ลงทะเบียนไว้เท่านั้นเพื่อควบ คุมปริมาณและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ส่วนในเรื่องของการทำประกันภัย ก็ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน ซึ่งรายละเอียดคงจะได้มีการประชุมร่วมกับผู้เกี่ยวข้องและตัวแทนของผู้ประกอบการอีกครั้งในเร็ววันนี้
วันนี้ (3 ส.ค.54) จากกรณีที่มีการนำเสนอข่าวสารไปยังสื่อในประเทศและนานาชาติ เกี่ยวกับกลุ่มแก๊ง หรือขบวนการกรรโชกทรัพย์นักท่องเที่ยว โดยแฝงมาในคราบของผู้ประกอบการเรือเจ็ตสกีชายหาดพัทยา ซึ่งเรื่องดังกล่าวพบว่าสร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์และการท่องเที่ยวของเมืองพัทยาอย่างรุนแรงนั้น
ล่าสุดนายเชาวลิตร แสงอุทัย นายอำเภอบางละมุง พร้อมด้วยนายรณกิจ เอกะสิงห์ รองนายกเมืองพัทยา เป็นประธานการประชุมร่วมกับตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมเจ้าท่าภูมิภาคที่ 6 สภ.เมืองพัทยา ตำรวจท่องเที่ยว และผู้ประกอบการเรือเจ๊ตสกีในพื้นที่เมืองพัทยา เพื่อร่วมหารือเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม
นายเชาวลิตร เปิดเผยว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นถือว่าเป็นความเสียหายต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวอย่างรุนแรง ทุกฝ่ายจึงต้องหันมาร่วมมือเพื่อแก้ไขอย่างจริงจัง ทั้งในส่วนของภาครัฐและผู้ประ กอบการเอง ซึ่งที่ผ่านมา อำเภอบางละมุงก็ได้จัดส่งชุดเฉพาะกิจลงไปเฝ้าระวังเหตุบริเวณชายหาดพัทยาซึ่งก็ยังพบว่ามีปัญหาอย่างต่อเนื่อง
จึงได้มอบหมายให้ทางผู้เจรจาไกล่เกลี่ยที่แต่งตั้งโดยจังหวัดชลบุรีเข้าไปทำการตรวจสอบและคลี่คลายปัญหา ซึ่งก็สามารถทำได้ในระดับหนึ่ง แต่ภาพที่เกิดขึ้นนั้นหากมีการนำไปเผยแพร่อีกและสื่อสารในทิศทางที่ตรงกันข้ามก็อาจสร้างความเสียหายได้เช่นเดิม จึงต้องหาแนว ทางที่ชัดเจนและแก้ไขอย่างจริงจัง เช่น การจัดทำระเบียบผู้ประกอบการ การออกประกาศข้อบังคับที่ชัด เจน รวมทั้งการจัดทำประกันภัยสำหรับเรือท่องเที่ยว และจัดตั้งชุดเจรจาไกล่เกลี่ยปัญหาขึ้น
ด้านนายนิรันด์ มีความดี อดีตประธานชมรมเรือเจ๊ตสกีบ้านเกาะล้าน เปิดเผยว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ชายหาดพัทยาเป็นหลัก ส่วนที่เกาะล้านนั้นพบว่าที่ผ่านมามีปัญหาเพียง 1 % เท่านั้น ทั้งๆที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเล่นเรือเจ็ตสกีเป็นจำนวนมากต่อวัน ทั้งนี้เพราะมีการจัดระเบียบการเล่นเรือชัดเจน อีกทั้งไม่ปล่อยให้นักท่องเที่ยวที่ไม่มีความชำนาญเล่นเรือโดยลำพังเพื่อป้องกันความเสียหาย
ที่สำคัญราคาค่าบริการนั้นจะคิดในอัตรา 600 บาทต่อ 30 นาที เมื่อหักค่าน้ำมันเชื้อเพลิงแล้วก็จะเหลือกำไรเที่ยวละ 150 บาท แต่ฝั่งชายหาดพัทยากลับคิดราคาค่าบริการเพียง 200 บาทต่อ 30 นาทีเท่านั้นซึ่งไปได้ไม่ได้ อีกทั้งยังปล่อยให้นักท่องเที่ยวเล่นโดยลำพัง ทั้งนี้เพราะมีคนบางกลุ่มหาโอกาสให้นักท่องเที่ยวที่ไม่มีความชำนาญเหล่านี้ประสพอุบัติเหตุ หรือไม่ก็ทำทีเป็นขับเรือเฉี่ยวชน เพื่อให้เกิดร่องรอยเสียหายเพื่อนำมาเป็นข้อต่อรองในการเรียกร้องทรัพย์สินจากนักท่องเที่ยว
นายสนิท บุญมาฉาย ประธานชมรมเรือท่องเที่ยวพัทยา กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือต้องจัดทำประ วัติเรือให้ชัดเจน รวมทั้งนายท้ายเพื่อความสะดวกในการตรวจสอบเมื่อเกิดปัญหา อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นมีมานานและคาราคาซังมาหลายปี แต่ที่เป็นข่าวคราวขึ้นเพราะภาครัฐไม่ใส่ใจเอง โดยที่ผ่านมาไม่เคยมีมาตรการควบคุมที่ชัดเจนหรือไม่เคยแม้จะมีการเรียกประชุมร่วมเพื่อหารือแนวทางการออกกฎข้อบัง คับหรือแก้ไขปัญหามาก่อน ซึ่งเรื่องนี้หากภาครัฐมีความจริงใจและใส่ใจปัญหาก็คงไม่เกิดขึ้น
ด้านนายรณกิจ เอกะสิงห์ รองนายกเมืองพัทยา กล่าวว่าสิ่งแรกที่ต้องดำเนินการคือการจัดตั้งชุดเฉพาะกิจ เพื่อไล่ล่าพวกมิจฉาชีพที่แฝงตัวเข้ามาก่อเหตุ ซึ่งเบื้องต้นทราบว่ามีประมาณ 10 กว่ารายเท่านั้น ส่วนมาตรการอื่นๆนั้นขณะนี้ได้กำหนดให้ผู้ประกอบการเรือเจ็ตสกีที่ลงทะเบียนไว้กับกรมเจ้าท่าจำนวนทั้ง สิ้น 565 ลำมาแจ้งทำประวัติ ใบอนุญาต และใบนายท้ายที่เมืองพัทยาอย่างเร่งด่วนในระหว่างวันที่ 9-10 สิงหาคมนี้เท่านั้น ซึ่งหากเกินจากนี้จะถือว่าสละสิทธิ์
ทั้งนี้ จะทำสำเนาประวัติของผู้ประกอบการเหล่านี้ไปยังหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องทุกแห่งเพื่อความสะดวกในการตรวจสอบเมื่อเกิดปัญหา และต่อไปนี้เมืองพัทยาก็จะอนุญาตให้มีการประกอบการในส่วนของเรือเจ็ตสกีได้เท่าจำนวนที่ลงทะเบียนไว้เท่านั้นเพื่อควบ คุมปริมาณและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ส่วนในเรื่องของการทำประกันภัย ก็ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน ซึ่งรายละเอียดคงจะได้มีการประชุมร่วมกับผู้เกี่ยวข้องและตัวแทนของผู้ประกอบการอีกครั้งในเร็ววันนี้