พระนครศรีอยุธยา - ชาวบ้านริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เหยื่อเรือบรรทุกน้ำตาลล่มที่กรุงเก่าเครียดหนัก จนความดันขึ้น หลังน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้คลื่นที่เกิดจากการเดินเรือสินค้ากระแทกเข้ากับตลิ่งที่ทรุดอยู่แล้วพังลงน้ำไปอีก ล่าสุดบริษัทเอกชนที่รับผิดชอบจะเริ่มทำเขื่อนภายใน 1 เดือน ยังไม่มีการดำเนินการแต่อย่างใด
วันนี้ (28 ก.ค.) เวลา 09.00 น. ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณปากคลองบางกุ้ง ต.บ้านกุ่ม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ระดับน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาสูงกว่าระดับน้ำในคลองบางกุ้ง ประมาณ 1 เมตร ซึ่งขณะนี้ชลประทานบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา เริ่มระบายน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าไปในทุ่งบางบาลฝั่งตะวันออกแล้ว แต่ยังไม่สามารถทำได้เต็มที่ เนื่องจากขณะนี้พื้นที่ทุ่งบางบาลซึ่งมีพื้นที่ติดกับ อ.บางปะหัน พบว่าชาวนาเพิ่งจะเริ่มปลุกข้าวนาปรังอายุเพียง 1 เดือน หากรีบเร่งระบายน้ำเข้าไปก็จะทำให้ต้นข้าวเสียหายทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ชลประทานบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา จะทยอยระบายน้ำเข้าไปเก็บไว้ในทุ่งบางบาลให้ได้มากที่สุด เพื่อลดปัญหาน้ำท่วมในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ขณะที่ชาวบ้านริมแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ ม.2 ต.ภูเขาทอง อ.พระนครศรีอยุธยา เริ่มกังวลจากปัญหาระดับน้ำที่สูงขึ้นมากในขณะนี้ เนื่องจากบริษัทฯ เรือบรรทุกน้ำตาลที่ล่มไปก่อนหน้านี้ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายกับตลิ่งยังไม่เข้ามาดำเนินการใดๆ ในการทำเขื่อนป้องกันการกัดเซาะตลิ่ง ทั้งที่รับปากไว้ก่อนหน้านี้ว่าภายใน 1 เดือนจะเริ่มดำเนินการก่อสร้าง แต่ขณะนี้ระยะเวลาผ่านไปแล้วเกือบ 2 เดือนก็ยังไม่มีการก่อสร้างใด ยังคงมีเพียงเสาไม้ยูคาลิปตัสปักอยู่แนวริมตลิ่ง และใช้เชือกผูกโยงไว้กับเสาไม้ที่ฝังไว้ในดิน
ลุงฮาโรล มาทอง ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเรือบรรทุกน้ำตาลล่ม จนต้องรื้อบ้านออกไป 1 หลัง เปิดเผยว่า ตอนนี้ตนเองและชาวบ้านทั้งหมด กำลังกังวลว่าระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นขณะนี้ ประกอบกับการเดินเรือสินค้าตลอดทั้งวันทั้งคืน จะทำให้ตลิ่งทุดเพิ่มลงไปในน้ำอีก โดย 2 วันที่ผ่าน ตนเองเกิดความเครียดจนความดันขึ้น เพราะกลัวว่าเสาไม้ที่ปักไว้ แล้วยังไม่มีใครเข้ามาทำเขื่อนตามที่รับปากไว้กับชาวบ้านจะพังลงไปในน้ำอีก นอกจากนี้ ความเครียดที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ยังทำให้ความดันเกิดขึ้นกับตนเอง จนตอนนี้ลูกๆ ต้องให้พักอยู่แต่ในบ้าน
ล่าสุด วันนี้ (28 ก.ค.) นายไมตรี ปิตินานนท์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระบุว่า เขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำท้ายเขื่อนที่ 1,252 ลบ.ม./วินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานนี้ 27 ลบ.ม./วินาที และมีแนวโน้มที่จะระบายน้ำท้ายเขื่อนเพิ่มมากขึ้นอีก เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำน่าน มีจำนวนมาก และจะต้องระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาเพียงอย่างเดียว โดยชาวบ้านจะต้องเตรียมรับมือน้ำท่วมโดยเร็วที่สุด
ต่อมาเวลา 14.30 น. น.ท.รชต ผกาฟุ้ง หัวหน้าสำนักงานเจ้าท่า สาขาอยุธยา กล่าวว่า ขณะนี้ได้ออกประกาศเรื่องการเดินเรือในช่วงน้ำหลาก โดยขบวนเรือบรรทุกสินค้า จะต้องมีเรือยนต์โยด้านหัว และท้ายขบวน เพื่อให้เกิดความปลอดภัย โดยขณะนี้จากการสังเกตพบว่า เรือบรรทุกสินค้า ทั้งเรือบรรทุกทราย ดิน ข้าวสาร และน้ำตาล จะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
ในช่วงที่เรือยนต์ลากเรือบรรทุกสินค้า ผ่านสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา หรือที่ชาวเรือรู้จักกันดีในชื่อสะพานบ้านหัวดุม เพราะจุดดังกล่าวถือว่าเป็นจุดอันตรายที่สุดในการเดินเรือสินค้าของลำน้ำเจ้าพระยา ช่วงผ่าน จ.พระนครศรีอยุธยา เนื่องจากเป็นช่วงโค้งน้ำ และเคยเกิดอุบัติเหตุเรือชนตอม่อสะพานดังกล่าวมาแล้ว 2 ครั้ง ในช่วงน้ำหลาก
ทั้งนี้ พบว่าเมื่อเรือพ่วงสินค้าแล่นมาถึงบริเวณดังกล่าวคนขับเรือยนต์จะใช้ความพยายามมากเป็นพิเศษในการประคองเรือไม่ให้กระแทกเข้ากับตอม่อของสะพาน โดยจะมีเรือยนต์ลากโต่งท้ายอีก 1 ลำเพื่อประคองไม่ให้ฟาดเข้าที่เสาตอม่อของสะพาน
อย่างไรก็ตาม เจ้าท่าภูมิภาค สาขาอยุธยาจะออกข้อกำหนดในการเดินเรือสินค้าช่วงน้ำหลากโดยจะให้ลดพ่วงการขนส่งจากเรือ 4 ลำ เป็น 2 ลำเพื่อจะได้ไม่เกิดอันตรายช่วงน้ำท่วม หากผู้ที่ละเมิดคำสั่งก็จะให้จับปรับเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม
วันนี้ (28 ก.ค.) เวลา 09.00 น. ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณปากคลองบางกุ้ง ต.บ้านกุ่ม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ระดับน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาสูงกว่าระดับน้ำในคลองบางกุ้ง ประมาณ 1 เมตร ซึ่งขณะนี้ชลประทานบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา เริ่มระบายน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าไปในทุ่งบางบาลฝั่งตะวันออกแล้ว แต่ยังไม่สามารถทำได้เต็มที่ เนื่องจากขณะนี้พื้นที่ทุ่งบางบาลซึ่งมีพื้นที่ติดกับ อ.บางปะหัน พบว่าชาวนาเพิ่งจะเริ่มปลุกข้าวนาปรังอายุเพียง 1 เดือน หากรีบเร่งระบายน้ำเข้าไปก็จะทำให้ต้นข้าวเสียหายทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ชลประทานบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา จะทยอยระบายน้ำเข้าไปเก็บไว้ในทุ่งบางบาลให้ได้มากที่สุด เพื่อลดปัญหาน้ำท่วมในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ขณะที่ชาวบ้านริมแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ ม.2 ต.ภูเขาทอง อ.พระนครศรีอยุธยา เริ่มกังวลจากปัญหาระดับน้ำที่สูงขึ้นมากในขณะนี้ เนื่องจากบริษัทฯ เรือบรรทุกน้ำตาลที่ล่มไปก่อนหน้านี้ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายกับตลิ่งยังไม่เข้ามาดำเนินการใดๆ ในการทำเขื่อนป้องกันการกัดเซาะตลิ่ง ทั้งที่รับปากไว้ก่อนหน้านี้ว่าภายใน 1 เดือนจะเริ่มดำเนินการก่อสร้าง แต่ขณะนี้ระยะเวลาผ่านไปแล้วเกือบ 2 เดือนก็ยังไม่มีการก่อสร้างใด ยังคงมีเพียงเสาไม้ยูคาลิปตัสปักอยู่แนวริมตลิ่ง และใช้เชือกผูกโยงไว้กับเสาไม้ที่ฝังไว้ในดิน
ลุงฮาโรล มาทอง ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเรือบรรทุกน้ำตาลล่ม จนต้องรื้อบ้านออกไป 1 หลัง เปิดเผยว่า ตอนนี้ตนเองและชาวบ้านทั้งหมด กำลังกังวลว่าระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นขณะนี้ ประกอบกับการเดินเรือสินค้าตลอดทั้งวันทั้งคืน จะทำให้ตลิ่งทุดเพิ่มลงไปในน้ำอีก โดย 2 วันที่ผ่าน ตนเองเกิดความเครียดจนความดันขึ้น เพราะกลัวว่าเสาไม้ที่ปักไว้ แล้วยังไม่มีใครเข้ามาทำเขื่อนตามที่รับปากไว้กับชาวบ้านจะพังลงไปในน้ำอีก นอกจากนี้ ความเครียดที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ยังทำให้ความดันเกิดขึ้นกับตนเอง จนตอนนี้ลูกๆ ต้องให้พักอยู่แต่ในบ้าน
ล่าสุด วันนี้ (28 ก.ค.) นายไมตรี ปิตินานนท์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระบุว่า เขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำท้ายเขื่อนที่ 1,252 ลบ.ม./วินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานนี้ 27 ลบ.ม./วินาที และมีแนวโน้มที่จะระบายน้ำท้ายเขื่อนเพิ่มมากขึ้นอีก เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำน่าน มีจำนวนมาก และจะต้องระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาเพียงอย่างเดียว โดยชาวบ้านจะต้องเตรียมรับมือน้ำท่วมโดยเร็วที่สุด
ต่อมาเวลา 14.30 น. น.ท.รชต ผกาฟุ้ง หัวหน้าสำนักงานเจ้าท่า สาขาอยุธยา กล่าวว่า ขณะนี้ได้ออกประกาศเรื่องการเดินเรือในช่วงน้ำหลาก โดยขบวนเรือบรรทุกสินค้า จะต้องมีเรือยนต์โยด้านหัว และท้ายขบวน เพื่อให้เกิดความปลอดภัย โดยขณะนี้จากการสังเกตพบว่า เรือบรรทุกสินค้า ทั้งเรือบรรทุกทราย ดิน ข้าวสาร และน้ำตาล จะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
ในช่วงที่เรือยนต์ลากเรือบรรทุกสินค้า ผ่านสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา หรือที่ชาวเรือรู้จักกันดีในชื่อสะพานบ้านหัวดุม เพราะจุดดังกล่าวถือว่าเป็นจุดอันตรายที่สุดในการเดินเรือสินค้าของลำน้ำเจ้าพระยา ช่วงผ่าน จ.พระนครศรีอยุธยา เนื่องจากเป็นช่วงโค้งน้ำ และเคยเกิดอุบัติเหตุเรือชนตอม่อสะพานดังกล่าวมาแล้ว 2 ครั้ง ในช่วงน้ำหลาก
ทั้งนี้ พบว่าเมื่อเรือพ่วงสินค้าแล่นมาถึงบริเวณดังกล่าวคนขับเรือยนต์จะใช้ความพยายามมากเป็นพิเศษในการประคองเรือไม่ให้กระแทกเข้ากับตอม่อของสะพาน โดยจะมีเรือยนต์ลากโต่งท้ายอีก 1 ลำเพื่อประคองไม่ให้ฟาดเข้าที่เสาตอม่อของสะพาน
อย่างไรก็ตาม เจ้าท่าภูมิภาค สาขาอยุธยาจะออกข้อกำหนดในการเดินเรือสินค้าช่วงน้ำหลากโดยจะให้ลดพ่วงการขนส่งจากเรือ 4 ลำ เป็น 2 ลำเพื่อจะได้ไม่เกิดอันตรายช่วงน้ำท่วม หากผู้ที่ละเมิดคำสั่งก็จะให้จับปรับเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม