ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - พบเชียงใหม่ มีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่เข้าระบบเฝ้าระวังแล้ว 349 ราย ส่วนไข้เลือดออกเจอ 135 ราย เสียชีวิต 1 ชี้พื้นที่ “ดอยหล่อ” เจอมากสุด ขณะที่ อี.โคไล ไม่โผล่
ทพ.ดร.สุรสิงห์ วิศรุตรัตน รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่จังหวัดเชียงใหม่ วันนี้ (23 มิ.ย.) ณ ห้องประชุมสสจ.พบว่า ปัจจุบันจังหวัดเชียงใหม่ มีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่เข้าระบบเฝ้าระวัง 349 ราย พื้นที่พบมากที่สุดตามลำดับ ได้แก่ อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอแม่วาง และอำเภอหางดง
โดยมาตรการที่ยังคงนำมาใช้ในการป้องกันโรค คือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรค
ภายในเดือนกรกฎาคม 2554 นี้ จังหวัดเชียงใหม่จะได้รับมอบวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ จำนวน 66,633 โดส จะนำไปดำเนินการฉีดให้กับกลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ บุคลากรสาธารณสุข และประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ เน้นกลุ่มผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่ไม่มีโรคเรื้อรังทุกคน และกลุ่มโรคเรื้อรัง หากพบว่ากลุ่มเป้าหมายหลักไม่ขอรับบริการ ก็จะนำไปให้บริการกลุ่มเป้าหมายที่ประสงค์จะรับบริการวัคซีนดังกล่าวต่อไป
รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า นอกจากการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่แล้ว ที่ประชุมยังได้รับทราบสถานการณ์โรคอื่นๆ เพื่อร่วมพิจารณาหาแนวทางป้องกันโรคด้วย ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โดยพบว่า ในปี 2554 เชียงใหม่พบผู้ป่วยแล้ว 135 ราย เสียชีวิต 1 ราย พื้นที่ที่พบโรคมากที่สุด ได้แก่ อำเภอดอยหล่อ ทั้งนี้ ได้ขอให้โรงเรียนเฝ้าระวังกลุ่มเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายภายในบริเวณโรงเรียนด้วย
สำหรับสถานการณ์โรคเตร็บโตค็อกโคซิส ซูอิส พบผู้ป่วยเข้าระบบเฝ้าระวังในจังหวัดเชียงใหม่ 7 ราย พื้นที่ที่พบการเกิดโรค ได้แก่ อำเภอเมือง จอมทอง ดอยสะเก็ด พร้าว สันป่าตอง และอำเภอสันกำแพง ทั้งนี้ ได้แจ้งเตือนให้ประชาชนงดเว้นการรับประทานอาหารประเภท ลาบ หลู้ หมูดิบ และอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงสุก ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้
รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนโรคอีโคไล ชนิดรุนแรง ปัจจุบันยังไม่พบผู้ป่วยในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเชื้ออี.โคไล (E.coli) เป็นแบคทีเรียที่พบได้ในลำไส้ของมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่น ส่วนใหญ่จะไม่ก่อให้เกิดอันตราย มีเพียงบางสายพันธุ์เท่านั้นที่สามารถก่อให้เกิดอาการรุนแรง โดย เชื้อ enterohaemorrhagic E.coli (EHEC) ทำให้เกิดโรคโดยปล่อยสารพิษ Shiga toxins หรือ vero toxins ซึ่งทำลายเซลล์เม็ดเลือดและไตได้
เชื้อนี้จะเข้าสู่ร่างกายโดยการบริโภคอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ดิบ หรือปรุงไม่สุก นมที่ไม่ผ่านขบวนการทำลายเชื้อ การปนเปื้อนของเชื้อโรคจากอุจจาระ สู่อาหารและน้ำ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการเตรียมและการปรุงอาหาร โดยเชื้อจะเจริญเติบโตในอุณหภูมิ 7-50 องศาเซลเซียส และจะถูกทำลายความร้อนที่ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป
ทั้งนี้ เชื้ออี.โคไลชนิดรุนแรง เคยมีรายงานว่า สามารถเพาะเชื้อขึ้นจากบ่อน้ำ เชื้อสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในระยะเวลาเป็นเดือนในแหล่งน้ำ มีระยะฟักตัว ระหว่าง 3-8 วัน ส่วนอาการของโรคจะพบว่ามีอาการของระบบทางเดินอาหารที่รุนแรง อุจจาระเหลวมักมีเลือดปน หรือมีมูกเลือด มีไข้ต่ำๆ หรือไม่มีไข้ ปวดท้อง อาเจียน ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตจาก ไตวายได้ มักพบกับเด็กเล็กประมาณร้อยละ 3-7 ของผู้ที่ติดเชื้อดังกล่าว สำหรับการป้องกันที่ง่ายที่สุด คือ การรับประทานอาหารที่สะอาด ร้อนและปรุงสุกใหม่ ๆ เลือกใช้วัตถุดิบที่สะอาดและสดใหม่ในการประกอบอาหาร ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ก่อนปรุงอาหารและระหว่างรับประทานอาหาร รักษาความสะอาดภาชนะต่างๆ อยู่เสมอ ดื่มน้ำที่สะอาด เป็นต้น
ทพ.ดร.สุรสิงห์ วิศรุตรัตน รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่จังหวัดเชียงใหม่ วันนี้ (23 มิ.ย.) ณ ห้องประชุมสสจ.พบว่า ปัจจุบันจังหวัดเชียงใหม่ มีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่เข้าระบบเฝ้าระวัง 349 ราย พื้นที่พบมากที่สุดตามลำดับ ได้แก่ อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอแม่วาง และอำเภอหางดง
โดยมาตรการที่ยังคงนำมาใช้ในการป้องกันโรค คือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรค
ภายในเดือนกรกฎาคม 2554 นี้ จังหวัดเชียงใหม่จะได้รับมอบวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ จำนวน 66,633 โดส จะนำไปดำเนินการฉีดให้กับกลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ บุคลากรสาธารณสุข และประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ เน้นกลุ่มผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่ไม่มีโรคเรื้อรังทุกคน และกลุ่มโรคเรื้อรัง หากพบว่ากลุ่มเป้าหมายหลักไม่ขอรับบริการ ก็จะนำไปให้บริการกลุ่มเป้าหมายที่ประสงค์จะรับบริการวัคซีนดังกล่าวต่อไป
รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า นอกจากการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่แล้ว ที่ประชุมยังได้รับทราบสถานการณ์โรคอื่นๆ เพื่อร่วมพิจารณาหาแนวทางป้องกันโรคด้วย ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โดยพบว่า ในปี 2554 เชียงใหม่พบผู้ป่วยแล้ว 135 ราย เสียชีวิต 1 ราย พื้นที่ที่พบโรคมากที่สุด ได้แก่ อำเภอดอยหล่อ ทั้งนี้ ได้ขอให้โรงเรียนเฝ้าระวังกลุ่มเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายภายในบริเวณโรงเรียนด้วย
สำหรับสถานการณ์โรคเตร็บโตค็อกโคซิส ซูอิส พบผู้ป่วยเข้าระบบเฝ้าระวังในจังหวัดเชียงใหม่ 7 ราย พื้นที่ที่พบการเกิดโรค ได้แก่ อำเภอเมือง จอมทอง ดอยสะเก็ด พร้าว สันป่าตอง และอำเภอสันกำแพง ทั้งนี้ ได้แจ้งเตือนให้ประชาชนงดเว้นการรับประทานอาหารประเภท ลาบ หลู้ หมูดิบ และอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงสุก ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้
รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนโรคอีโคไล ชนิดรุนแรง ปัจจุบันยังไม่พบผู้ป่วยในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเชื้ออี.โคไล (E.coli) เป็นแบคทีเรียที่พบได้ในลำไส้ของมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่น ส่วนใหญ่จะไม่ก่อให้เกิดอันตราย มีเพียงบางสายพันธุ์เท่านั้นที่สามารถก่อให้เกิดอาการรุนแรง โดย เชื้อ enterohaemorrhagic E.coli (EHEC) ทำให้เกิดโรคโดยปล่อยสารพิษ Shiga toxins หรือ vero toxins ซึ่งทำลายเซลล์เม็ดเลือดและไตได้
เชื้อนี้จะเข้าสู่ร่างกายโดยการบริโภคอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ดิบ หรือปรุงไม่สุก นมที่ไม่ผ่านขบวนการทำลายเชื้อ การปนเปื้อนของเชื้อโรคจากอุจจาระ สู่อาหารและน้ำ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการเตรียมและการปรุงอาหาร โดยเชื้อจะเจริญเติบโตในอุณหภูมิ 7-50 องศาเซลเซียส และจะถูกทำลายความร้อนที่ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป
ทั้งนี้ เชื้ออี.โคไลชนิดรุนแรง เคยมีรายงานว่า สามารถเพาะเชื้อขึ้นจากบ่อน้ำ เชื้อสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในระยะเวลาเป็นเดือนในแหล่งน้ำ มีระยะฟักตัว ระหว่าง 3-8 วัน ส่วนอาการของโรคจะพบว่ามีอาการของระบบทางเดินอาหารที่รุนแรง อุจจาระเหลวมักมีเลือดปน หรือมีมูกเลือด มีไข้ต่ำๆ หรือไม่มีไข้ ปวดท้อง อาเจียน ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตจาก ไตวายได้ มักพบกับเด็กเล็กประมาณร้อยละ 3-7 ของผู้ที่ติดเชื้อดังกล่าว สำหรับการป้องกันที่ง่ายที่สุด คือ การรับประทานอาหารที่สะอาด ร้อนและปรุงสุกใหม่ ๆ เลือกใช้วัตถุดิบที่สะอาดและสดใหม่ในการประกอบอาหาร ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ก่อนปรุงอาหารและระหว่างรับประทานอาหาร รักษาความสะอาดภาชนะต่างๆ อยู่เสมอ ดื่มน้ำที่สะอาด เป็นต้น