ASTV ผู้จัดการออนไลน์-กฟผ.แจง ดูแลชาวบ้านแม่เมาะรอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ที่เจ็บป่วย และได้รับผลกระทบต่อเนื่อง ส่วนการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยรอบใช้เครื่องมือทันสมัยและได้มาตรฐาน พร้อมย้ำกฟผ.ยังไม่มีโครงการขยายเหมืองแม่เมาะ
ตามที่ ASTV ผู้จัดการได้นำเสนอข่าว “คนแม่เมาะยังป่วยอีกร่วมพัน ชี้ทยอยสิ้นลมแล้วกว่า 200 ราย” มีเนื้อหาเกี่ยวกับกรณีการขยายแอ่งเหมืองลิกไนต์แม่เมาะ ของ กฟผ. ได้ส่ง ผลกระทบต่อสุขภาพของชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง ในประเด็นต่างๆ เช่น พบว่ายังมีคงป่วยด้วยโรงทางเดินหายใจบกพร่อง จากสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และฝุ่นจากการทำเหมืองลิกไนต์ ซึ่งมีผู้ป่วยในพื้นที่ อบต.บ้านดง มากถึง 981 ราย ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เมื่อคราวเกิดวิกฤตซัลเฟอร์ฯ ปี 2535 จำนวน 400 กว่าราย โดยที่ชาวบ้านยังคงไม่ได้รับการเยียวยา
นอกจากนี้ ชาวบ้านยังมีปัญหาด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง แสดงว่าเกณฑ์มาตรฐานการควบคุมมลพิษที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นของ กฟผ. หรือของกรมควบคุมผลพิษ หรือ สผ. ดูเหมือนว่าจะใช้ไม่ได้ และกฟผ. ยังคงเดินหน้าขยายเหมืองแม่เมาะเพิ่ม โดยขอใช้พื้นที่ทิ้งดินกว่า 1,000 ไร่
เมื่อวันที่ 29 เม.ย. นายธาตรี ริ้วเจริญ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์การ ทำการแทน ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ทำหนังสือชี้แจง กรณีดังกล่าว โดยมีรายละเอียด ว่า นับตั้งแต่ปี 2535 กฟผ. ได้ดูแลชาวบ้าน อ.แม่เมาะ ที่เจ็บป่วยด้านระบบทางเดินหายใจมาโดยตลอด โดย กฟผ. ได้ดูแลรับ-ส่งไปโรงพยาบาล รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าแพทย์ ค่ายา และค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องในการรักษาพยาบาลทั้งหมด
ล่าสุดกรณีของนางดิบ อินคำปา ชาวบ้าน อ.แม่เมาะ ซึ่งเสียชีวิตลงด้วยโรคติดเชื้อในกระแสเลือด (ตามที่ระบุไว้ในใบรับรองแพทย์และใบมรณบัตร) ตลอดระยะเวลาที่รักษาตัวที่โรงพยาบาล ก็ได้รับการดูแลจากแพทย์เป็นอย่างดี ซึ่ง กฟผ. ได้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลทั้งหมด
ส่วนการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศและคุณภาพสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ ของพื้นที่บริเวณโรงไฟฟ้าแม่เมาะและเหมืองแม่เมาะ ดำเนินการโดยใช้เครื่องมือที่ทันสมัยและเป็นมาตรฐานสากล เช่นเดียวกับการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั่วประเทศ ซึ่งดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐ กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) โดยมีการตรวจสอบจากหน่วยงานส่วนท้องถิ่น คือ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง ซึ่งถือเป็นตัวแทนของประชาชนอีกด้วย
สำหรับกรณีการขอใช้พื้นที่ทิ้งดินจากการขุดเหมือง ปัจจุบันนี้ กฟผ. ไม่ได้มีการขอใช้พื้นที่ทิ้งดินเพิ่มขึ้น แต่เป็นการขอต่ออายุใช้พื้นที่เพื่อเป็นที่เททิ้งมูลดินทราย ต่อสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำปาง ซึ่งจะหมดอายุในเดือนก.ค.2554 และยืนยันว่ายังไม่มีการขยายบ่อเหมืองแม่เมาะเพิ่มเติมแต่อย่างใด
ตามที่ ASTV ผู้จัดการได้นำเสนอข่าว “คนแม่เมาะยังป่วยอีกร่วมพัน ชี้ทยอยสิ้นลมแล้วกว่า 200 ราย” มีเนื้อหาเกี่ยวกับกรณีการขยายแอ่งเหมืองลิกไนต์แม่เมาะ ของ กฟผ. ได้ส่ง ผลกระทบต่อสุขภาพของชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง ในประเด็นต่างๆ เช่น พบว่ายังมีคงป่วยด้วยโรงทางเดินหายใจบกพร่อง จากสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และฝุ่นจากการทำเหมืองลิกไนต์ ซึ่งมีผู้ป่วยในพื้นที่ อบต.บ้านดง มากถึง 981 ราย ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เมื่อคราวเกิดวิกฤตซัลเฟอร์ฯ ปี 2535 จำนวน 400 กว่าราย โดยที่ชาวบ้านยังคงไม่ได้รับการเยียวยา
นอกจากนี้ ชาวบ้านยังมีปัญหาด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง แสดงว่าเกณฑ์มาตรฐานการควบคุมมลพิษที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นของ กฟผ. หรือของกรมควบคุมผลพิษ หรือ สผ. ดูเหมือนว่าจะใช้ไม่ได้ และกฟผ. ยังคงเดินหน้าขยายเหมืองแม่เมาะเพิ่ม โดยขอใช้พื้นที่ทิ้งดินกว่า 1,000 ไร่
เมื่อวันที่ 29 เม.ย. นายธาตรี ริ้วเจริญ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์การ ทำการแทน ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ทำหนังสือชี้แจง กรณีดังกล่าว โดยมีรายละเอียด ว่า นับตั้งแต่ปี 2535 กฟผ. ได้ดูแลชาวบ้าน อ.แม่เมาะ ที่เจ็บป่วยด้านระบบทางเดินหายใจมาโดยตลอด โดย กฟผ. ได้ดูแลรับ-ส่งไปโรงพยาบาล รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าแพทย์ ค่ายา และค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องในการรักษาพยาบาลทั้งหมด
ล่าสุดกรณีของนางดิบ อินคำปา ชาวบ้าน อ.แม่เมาะ ซึ่งเสียชีวิตลงด้วยโรคติดเชื้อในกระแสเลือด (ตามที่ระบุไว้ในใบรับรองแพทย์และใบมรณบัตร) ตลอดระยะเวลาที่รักษาตัวที่โรงพยาบาล ก็ได้รับการดูแลจากแพทย์เป็นอย่างดี ซึ่ง กฟผ. ได้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลทั้งหมด
ส่วนการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศและคุณภาพสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ ของพื้นที่บริเวณโรงไฟฟ้าแม่เมาะและเหมืองแม่เมาะ ดำเนินการโดยใช้เครื่องมือที่ทันสมัยและเป็นมาตรฐานสากล เช่นเดียวกับการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั่วประเทศ ซึ่งดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐ กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) โดยมีการตรวจสอบจากหน่วยงานส่วนท้องถิ่น คือ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง ซึ่งถือเป็นตัวแทนของประชาชนอีกด้วย
สำหรับกรณีการขอใช้พื้นที่ทิ้งดินจากการขุดเหมือง ปัจจุบันนี้ กฟผ. ไม่ได้มีการขอใช้พื้นที่ทิ้งดินเพิ่มขึ้น แต่เป็นการขอต่ออายุใช้พื้นที่เพื่อเป็นที่เททิ้งมูลดินทราย ต่อสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำปาง ซึ่งจะหมดอายุในเดือนก.ค.2554 และยืนยันว่ายังไม่มีการขยายบ่อเหมืองแม่เมาะเพิ่มเติมแต่อย่างใด