พะเยา - “ทราฟคอร์ด” เผย “ค้ามนุษย์” แนวโน้มกระจายสู่แรงงานข้ามชาติห่วง “เด็ก-สตรี-แรงงาน” รู้ไม่เท่าทันตกเป็นเหยื่อเน้น 4 ป้องกันดึงชุมชน-ครอบครัว-ภาครัฐร่วมขับเคลื่อน
น.ส.เดือน วงษา ผู้จัดการศูนย์ประสานงานต่อต้านการค้ามนุษย์ภาคเหนือตอนบน ประเทศไทย หรือTRAFCORD กล่าวที่จังหวัดพะเยา เกี่ยวกับสถานการณ์การค้ามนุษย์ว่า นับตั้งแต่ทราฟคอร์ดก่อตั้งองค์กรอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2545 ทำงานดูแลเรื่องการต่อต้านการค้ามนุษย์ ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน และจังหวัดตาก พบว่าสถานการณ์ค้ามนุษย์มีความรุนแรงขึ้น แต่ไม่สามารถบอกได้ว่ารุนแรงขนาดไหน ทั้งกลุ่มเสี่ยงที่พลัดหลงเป็นผู้เสียหาย เริ่มมีแนวโน้มอายุน้อยลงจนถึงวัยเด็ก โดยเฉพาะกลุ่มของเด็กและผู้หญิงที่เป็นกลุ่มใหญ่ถูกล่อลวงเข้าสู่การค้าประเวณี หรือลักษณะอื่นใดที่เข้าข่ายการค้ามนุษย์มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
ผจก.ทราฟคอร์ด กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังพบว่ามีกลุ่มแรงงานต่างด้าว หรือแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านของไทย กำลังกลายเป็นผู้เสียหายในขบวนการค้ามนุษย์เพิ่มขึ้น ซึ่งแรงงานเหล่านี้เมื่อถูกหลอกไปทำงานแล้วจะถูกกระทำในลักษณะต่างๆ เช่น ถูกกักขัง ไม่ได้รับค่าจ้าง ถูกทำร้ายร่างกายด้วยการทุบตี เพราะแรงงานเหล่านี้ต้องหลบซ่อนอยู่ในมุมมืด ไม่มีอำนาจต่อรองเพราะต้องหลบหนีเข้าเมือง ทำให้เข้าไม่ถึงสิทธิ์ของตัวเอง
ดังนั้น ทางทราฟคอร์ดจึงได้ดำเนินกลไกขับเคลื่อนใน 4 ประเด็นการป้องกันให้แก่กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ คือ 1.การป้องกันที่ตัวบุคคล โดยการให้ความรู้มีทักษะชีวิตป้องกันตัวเอง ให้แก่เด็ก ผู้หญิง แรงงานฯ 2.ป้องกันผู้เสียหายที่ได้รับการช่วยเหลือเข้าสู่ชุมชนอย่างปกติสุขไม่กลับไปอยู่ในขบวนการซ้ำอีก 3.ป้องกันผู้เสียหายไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือของเครือข่ายค้ามนุษย์ และ 4.ทำงานร่วมกับกลุ่มอุปสงค์ที่เป็นผู้บริโภค
เช่น ไม่บังคับใช้แรงงาน ไม่ซื้อบริการค้าประเวณีฯ ขณะเดียวกัน ทางหน่วยงานต่างๆ ที่รับผิดชอบก็ต้องใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและจริงจัง สถานการณ์ค้ามนุษย์จึงจะเบาบาง และป้องกันไม่ให้ประชาชนตกเป็นผู้เสียหายได้มากขึ้น
น.ส.เดือน วงษา ผู้จัดการศูนย์ประสานงานต่อต้านการค้ามนุษย์ภาคเหนือตอนบน ประเทศไทย หรือTRAFCORD กล่าวที่จังหวัดพะเยา เกี่ยวกับสถานการณ์การค้ามนุษย์ว่า นับตั้งแต่ทราฟคอร์ดก่อตั้งองค์กรอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2545 ทำงานดูแลเรื่องการต่อต้านการค้ามนุษย์ ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน และจังหวัดตาก พบว่าสถานการณ์ค้ามนุษย์มีความรุนแรงขึ้น แต่ไม่สามารถบอกได้ว่ารุนแรงขนาดไหน ทั้งกลุ่มเสี่ยงที่พลัดหลงเป็นผู้เสียหาย เริ่มมีแนวโน้มอายุน้อยลงจนถึงวัยเด็ก โดยเฉพาะกลุ่มของเด็กและผู้หญิงที่เป็นกลุ่มใหญ่ถูกล่อลวงเข้าสู่การค้าประเวณี หรือลักษณะอื่นใดที่เข้าข่ายการค้ามนุษย์มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
ผจก.ทราฟคอร์ด กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังพบว่ามีกลุ่มแรงงานต่างด้าว หรือแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านของไทย กำลังกลายเป็นผู้เสียหายในขบวนการค้ามนุษย์เพิ่มขึ้น ซึ่งแรงงานเหล่านี้เมื่อถูกหลอกไปทำงานแล้วจะถูกกระทำในลักษณะต่างๆ เช่น ถูกกักขัง ไม่ได้รับค่าจ้าง ถูกทำร้ายร่างกายด้วยการทุบตี เพราะแรงงานเหล่านี้ต้องหลบซ่อนอยู่ในมุมมืด ไม่มีอำนาจต่อรองเพราะต้องหลบหนีเข้าเมือง ทำให้เข้าไม่ถึงสิทธิ์ของตัวเอง
ดังนั้น ทางทราฟคอร์ดจึงได้ดำเนินกลไกขับเคลื่อนใน 4 ประเด็นการป้องกันให้แก่กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ คือ 1.การป้องกันที่ตัวบุคคล โดยการให้ความรู้มีทักษะชีวิตป้องกันตัวเอง ให้แก่เด็ก ผู้หญิง แรงงานฯ 2.ป้องกันผู้เสียหายที่ได้รับการช่วยเหลือเข้าสู่ชุมชนอย่างปกติสุขไม่กลับไปอยู่ในขบวนการซ้ำอีก 3.ป้องกันผู้เสียหายไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือของเครือข่ายค้ามนุษย์ และ 4.ทำงานร่วมกับกลุ่มอุปสงค์ที่เป็นผู้บริโภค
เช่น ไม่บังคับใช้แรงงาน ไม่ซื้อบริการค้าประเวณีฯ ขณะเดียวกัน ทางหน่วยงานต่างๆ ที่รับผิดชอบก็ต้องใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและจริงจัง สถานการณ์ค้ามนุษย์จึงจะเบาบาง และป้องกันไม่ให้ประชาชนตกเป็นผู้เสียหายได้มากขึ้น