ตราด - ผู้ประกอบการธุรกิจเกาะช้าง 150 ราย ลงมติใช้กฎบ้านปิดแหล่งดำน้ำดูปะการังเพิ่ม 4 เดือน ประกาศพร้อมรับรายได้หด ชี้ ตราดใช้กฎบ้านห้ามมี “เจ็ตสกีบานาน่าโบต” ได้ผล จี้ ประมงตราดจับกุมเรือประมงเรือนำเที่ยวเข้มหากเข้าทำประมงในพื้นที่
ความคืบหน้าจากกรณีอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง อ.เกาะช้าง จ.ตราด ได้ทำการปิดแหล่งดำน้ำดูปะการังในหมู่เกาะช้างจำนวน 3 เกาะคือ เกาะกระ เกาะทองหลาง และเกาะเทียน เนื่องจากปะการังได้รับความเสียหายมากนั้น
นางสาวจารุวรรณ จินตกานนท์ นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว จ.ตราด เปิดเผยว่า การปิดแหล่งดำน้ำดูปะการัง 3 เกาะ ในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้างนั้น เป็นการปิดโดยใช้กฎหมายบังคับให้ปิด ทั้งนี้ เพราะปะการังทั้ง 3 เกาะนั้น เป็นแหล่งดำน้ำสำคัญของหมู่เกาะช้างได้รับความเสียหายมากจนต้องได้รับการฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน หากไม่ปิดปะการังจะถูกทำลายโดยสิ้นเชิง ซึ่งสมาคมเห็นด้วย
นอกจากนี้ ได้ออกไปสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว ทั้งในเกาะช้าง เกาะกูด และเกาะหมาก ทั้งหมดเห็นด้วย และพร้อมเสียสละรายได้ที่จะได้จากการนำนักท่องเที่ยวไปดำน้ำดูปะการังไปตลอด 4 เดือน (มิถุนายน-กันยายน)
“แต่สมาคมและผู้ประกอบการท่องเที่ยวทั้งหมดที่ร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2553 ไม่ต้องการให้ปิดเพียง 3 เกาะ แต่จะใช้กฎบ้านที่เป็นมติของพวกเราทั้งหมด ปิดหมู่เกาะรัง ที่เป็นแหล่งดำน้ำดูปะการังสำคัญที่สุดของหมู่เกาะช้างต้องปิดด้วย เป็นเวลา 4 เดือน เพื่อให้ปะการังได้รับการฟื้นฟูเพราะที่ผ่านมาปะการัง ถูกปรากฏการณ์ลานีญาทำลายไปกว่า 60% ที่เหลืออยู่ แม้รอดแต่ก็อยู่ในอาการสาหัส หากผู้ประกอบธุรกิจยังนำนักท่องเที่ยวไปดำน้ำอีกทั้งหมดจะตายหมด และไม่สามารถฟื้นฟูได้อีกต่อไป”
นายกสมาคม กล่าวว่า สิ่งที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวเกาะช้างมีมติร่วมกัน คือ เป็นกฎบ้านที่ดีกว่ากฎหมาย และทุกคนทำเพื่อปกป้องปะการัง ซึ่งเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ทางผู้ประกอบการท่องเที่ยวก็ใช้กฎบ้านไม่ให้มีการนำเจ็ตสกีและบานาน่าโบต เข้ามาในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง รวมทั้งเกาะหมาก และเกาะกูด ซึ่งได้ผลดี และยังเป็นกฎบ้านที่ศักดิสิทธิ์และมีผลทางปฏิบัติมาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา
นางสาวจารุวรรณ ยังบอกอีกว่า สำหรับการฟื้นฟูปะการัง สมาคมมีโครงการสร้างปะการังใต้น้ำในชื่อ “ช้างแห่งสยามเพื่อทะเลไทย” โดยจะปั้นช้างจำนวน 9 ตัว 8 ตัว จะทิ้งลงไปในแหล่งดำน้ำดูปะการังที่เสื่อมโทรม อีก 1 ตัว จะทำการทิ้งลงทะเลในวันที่ 5 ธันวาคม 2554 นี้ ซึ่งจะทำโครงการเพื่อเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษาของในหลวง ขณะนี้มีภาคเอกชน 2-3 ราย เข้ามาสนับสนุนโครงการแล้ว แต่จะนำเสนอรายละเอียดต่อไป แต่หากทำโครงการนี้ได้จะส่งผลดีต่อทะเล จ.ตราดมาก และจะเป็นจุดขายทางการท่องเที่ยวของ จ.ตราด ที่ยิ่งใหญ่ เพราะนักดำน้ำดูปะการังจะเห็นความสวยงามของทั้งปะการัง, สัตว์น้ำ และช้างทั้ง 9 ตัว ที่จะเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำด้วย
ความคืบหน้าจากกรณีอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง อ.เกาะช้าง จ.ตราด ได้ทำการปิดแหล่งดำน้ำดูปะการังในหมู่เกาะช้างจำนวน 3 เกาะคือ เกาะกระ เกาะทองหลาง และเกาะเทียน เนื่องจากปะการังได้รับความเสียหายมากนั้น
นางสาวจารุวรรณ จินตกานนท์ นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว จ.ตราด เปิดเผยว่า การปิดแหล่งดำน้ำดูปะการัง 3 เกาะ ในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้างนั้น เป็นการปิดโดยใช้กฎหมายบังคับให้ปิด ทั้งนี้ เพราะปะการังทั้ง 3 เกาะนั้น เป็นแหล่งดำน้ำสำคัญของหมู่เกาะช้างได้รับความเสียหายมากจนต้องได้รับการฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน หากไม่ปิดปะการังจะถูกทำลายโดยสิ้นเชิง ซึ่งสมาคมเห็นด้วย
นอกจากนี้ ได้ออกไปสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว ทั้งในเกาะช้าง เกาะกูด และเกาะหมาก ทั้งหมดเห็นด้วย และพร้อมเสียสละรายได้ที่จะได้จากการนำนักท่องเที่ยวไปดำน้ำดูปะการังไปตลอด 4 เดือน (มิถุนายน-กันยายน)
“แต่สมาคมและผู้ประกอบการท่องเที่ยวทั้งหมดที่ร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2553 ไม่ต้องการให้ปิดเพียง 3 เกาะ แต่จะใช้กฎบ้านที่เป็นมติของพวกเราทั้งหมด ปิดหมู่เกาะรัง ที่เป็นแหล่งดำน้ำดูปะการังสำคัญที่สุดของหมู่เกาะช้างต้องปิดด้วย เป็นเวลา 4 เดือน เพื่อให้ปะการังได้รับการฟื้นฟูเพราะที่ผ่านมาปะการัง ถูกปรากฏการณ์ลานีญาทำลายไปกว่า 60% ที่เหลืออยู่ แม้รอดแต่ก็อยู่ในอาการสาหัส หากผู้ประกอบธุรกิจยังนำนักท่องเที่ยวไปดำน้ำอีกทั้งหมดจะตายหมด และไม่สามารถฟื้นฟูได้อีกต่อไป”
นายกสมาคม กล่าวว่า สิ่งที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวเกาะช้างมีมติร่วมกัน คือ เป็นกฎบ้านที่ดีกว่ากฎหมาย และทุกคนทำเพื่อปกป้องปะการัง ซึ่งเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ทางผู้ประกอบการท่องเที่ยวก็ใช้กฎบ้านไม่ให้มีการนำเจ็ตสกีและบานาน่าโบต เข้ามาในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง รวมทั้งเกาะหมาก และเกาะกูด ซึ่งได้ผลดี และยังเป็นกฎบ้านที่ศักดิสิทธิ์และมีผลทางปฏิบัติมาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา
นางสาวจารุวรรณ ยังบอกอีกว่า สำหรับการฟื้นฟูปะการัง สมาคมมีโครงการสร้างปะการังใต้น้ำในชื่อ “ช้างแห่งสยามเพื่อทะเลไทย” โดยจะปั้นช้างจำนวน 9 ตัว 8 ตัว จะทิ้งลงไปในแหล่งดำน้ำดูปะการังที่เสื่อมโทรม อีก 1 ตัว จะทำการทิ้งลงทะเลในวันที่ 5 ธันวาคม 2554 นี้ ซึ่งจะทำโครงการเพื่อเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษาของในหลวง ขณะนี้มีภาคเอกชน 2-3 ราย เข้ามาสนับสนุนโครงการแล้ว แต่จะนำเสนอรายละเอียดต่อไป แต่หากทำโครงการนี้ได้จะส่งผลดีต่อทะเล จ.ตราดมาก และจะเป็นจุดขายทางการท่องเที่ยวของ จ.ตราด ที่ยิ่งใหญ่ เพราะนักดำน้ำดูปะการังจะเห็นความสวยงามของทั้งปะการัง, สัตว์น้ำ และช้างทั้ง 9 ตัว ที่จะเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำด้วย