xs
xsm
sm
md
lg

ร้องผู้ว่าฯภูเก็ต จี้ผู้ประกอบการมีจิตสำนึกทำลายปะการัง ขู่ ผิด กม.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภูเก็ต - ผอ.สถาบันวิจัยฯ ระบุ แนวปะการังภูเก็ตเสียหายมาก แต่ไม่สามารถปิดแหล่งดำน้ำฟื้นฟูได้ โดยส่งหนังสือถึงผู้ว่าฯ จี้หามาตรการสร้างจิตสำนึกผู้ประกอบการ พร้อมบังคับใช้กฎหมายเอาผิด หากทำให้แนวปะการังเสียหาย ซึ่งขณะนี้ แนวปะการังที่ภูเก็ตฟื้นตัวยากกว่าที่อื่น เพราะคุณภาพน้ำไม่ดี

วันนี้ (22 ม.ค) นายวรรณเกียรติ ทับทิมแสง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน กล่าวถึงสถานการณ์ความเสียหายของแนวปะการังในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตจากปรากฏการณ์ปะการังฟอกของตั้งแต่เดือนมีนามคม 2553 ว่า สำหรับความเสียหายของแนวปะการังในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตนั้นมีมากเหมือนกับที่อื่นๆในฝั่งทะเลอันดามัน แต่พื้นที่จังหวัดภูเก็ตเป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเลอยู่แล้ว และไม่ได้เป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตอุทยานจึงไม่สามารถสั่งปิดจุดดำน้ำที่มีความเสียหาย เหมือนบริเวณอื่นๆ ได้

ซึ่งการแก้ไขปัญหาเพื่อให้แนวปะการังฟื้นฟูในส่วนของจังหวัดภูเก็ตนั้นจะต้องใช้วิธีแก้ไขโดยการสร้างความเข้าใจกับผู้ประกอบการนำเที่ยวดำน้ำ ให้มีความตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรที่มีอยู่ เพราะปัญหาหลักนอกจากธรรมชาติแล้วก็มาจากการกระทำของมนุษย์จากปัญหาที่พบดังกล่าวก็ได้นำหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหามาตรการในการสร้างจิตสำนึกให้กับผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว ซึ่งอาจจะรวมไปถึงการให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เพื่อรักษาทรัพยากรที่มีอยู่ไว้ให้ได้อย่างยั่งยืน

ขณะที่ นายนิพนธ์ พงษ์สุวรรณ นักวิชาการประมงชำนาญการพิเศษ สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน จ.ภูเก็ต กล่าวภายหลังดำน้ำสำรวจแนวปะการังครั้งล่าสุดในพื้นที่เกาะแอว เกาะเอ และเกาะราชา จ.ภูเก็ต ว่า ปะการังฟอกขาวได้เกิดขึ้นประมาณกลางปีที่ผ่านมา และได้สิ้นสุดลงแล้วซึ่งขณะนี้เหลือสิ่งที่เป็นผลจากการฟอกขาว ซึ่งตรวจพบว่าแนวปะการังหลายแห่งได้ตายไปแล้วจากการเกิดฟอกขาว ในภาพร่วมจังหวัดภูเก็ตได้รับผลกระทบที่ค่อนข้างรุนแรงเหมือนพื้นที่อื่นๆ ซึ่งได้รับความเสียหายประมาณ 50-100 %เช่น ที่อ่าวสยาม ทางตอนเหนือของเกาะราชา ปะการังเกิดการฟอกขาวทั้งผืน หรือเรียกว่า 100 %ของพื้นที่ ขณะที่แนวปะการังด้านตะวันตกของเกาะพบว่ามีความเสียหายน้อยกว่าด้านตะวันออกของเกาะ ส่วนพื้นที่เกาะเฮและเกาะแอวก็เช่นเดียวกัน

ส่วนการฟื้นฟูแนวปะกังในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเมื่อการปิดจุดดำน้ำไม่สามารถทำได้ก็ต้องอาศัยขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ไกด์ ให้คำแนะนักท่องเที่ยวหลีกเลี่ยงการพานักท่องเที่ยวไปยังจุดที่น้ำตื้นและให้ใส่เสื้อชูชีพทุกครั้งเพื่อลอยตัวจนไม่สามารถเหยียบปะการังได้ ทั้งนี้เพื่อปล่อยให้ปะการังฟื้นตัวไปตามธรรมชาติ

สำหรับการฟื้นฟูแนวปะการังในพื้นที่ภูเก็ตนั้นด้วยสภาพภูมิประเทศที่แตกต่างจากหมู่เกาะสุรินทร์ และสิมิลัน ประกอบกับจังหวัดภูเก็ตมีคุณภาพน้ำที่แย่กว่าเพราะจากการสำรวจพบว่ามีค่าตะกอนน้ำที่เกิดจากการพัฒนาเกาะ การเปิดหน้าดิน และการปล่อยน้ำเสียลงสู่ทะเลสูง ซึ่งจะมีผลต่อการเติบโตของแนวปะการรังทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้จึงเป็นไปได้ว่าแนวปะการังในจังหวัดภูเก็ตอาจมีการฟื้นตัวช้ากว่าพื้นที่อื่นๆ
กำลังโหลดความคิดเห็น