นครปฐม - มหาวิทยาลัยราชภันครปฐม เดินหน้าดำเนินการขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการหรือ "นครปฐมโมเดล"
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมเดช นิลพันธุ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เปิดเ ผยว่า ขณะนี้มหาวิทยาลัยราชภันครปฐม กำลังดำเนินการขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการหรือนครปฐมโมเดล ซึ่งมหาวิทยาลัยฯได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมดูแลรับผิดชอบท้องถิ่นมาตลอด โดยมหาวิทยาลัยฯพร้อมที่จะส่งเสริมการพัฒนาคน พัฒนาชุมชน เสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่ดี และส่งเสริมให้ชุมชนมีความอยู่ดี มีสุข
สำหรับชุมชนที่มหาวิทยาลัยฯใช้เป็นพื้นที่นำร่องในการศึกษาและพัฒนาเพื่อนำศักยภาพในด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัยลงสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนมี 2 พื้นที่คือ องค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกู และเทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ ในการดำเนินการจะใช้รูปแบบกระบวนการการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชนในการศึกษาวิจัยและการค้นคว้าหาข้อมูล องค์ความรู้ที่มีความจำเป็น พื้นฐานของชุมชนในด้านสังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตลอดจนแนวทางและรูปแบบในการพัฒนาเพื่อยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของชุมชน ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับชุมชนที่จะนำไปสู่กระบวนการพัฒนาร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีร่วมพัฒนาทุกภาคส่วน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมเดช นิลพันธุ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เปิดเ ผยว่า ขณะนี้มหาวิทยาลัยราชภันครปฐม กำลังดำเนินการขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการหรือนครปฐมโมเดล ซึ่งมหาวิทยาลัยฯได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมดูแลรับผิดชอบท้องถิ่นมาตลอด โดยมหาวิทยาลัยฯพร้อมที่จะส่งเสริมการพัฒนาคน พัฒนาชุมชน เสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่ดี และส่งเสริมให้ชุมชนมีความอยู่ดี มีสุข
สำหรับชุมชนที่มหาวิทยาลัยฯใช้เป็นพื้นที่นำร่องในการศึกษาและพัฒนาเพื่อนำศักยภาพในด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัยลงสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนมี 2 พื้นที่คือ องค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกู และเทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ ในการดำเนินการจะใช้รูปแบบกระบวนการการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชนในการศึกษาวิจัยและการค้นคว้าหาข้อมูล องค์ความรู้ที่มีความจำเป็น พื้นฐานของชุมชนในด้านสังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตลอดจนแนวทางและรูปแบบในการพัฒนาเพื่อยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของชุมชน ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับชุมชนที่จะนำไปสู่กระบวนการพัฒนาร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีร่วมพัฒนาทุกภาคส่วน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน