นครปฐม - มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมจับมือชุมชน-ท้องถิ่น จัดโครงการ “การสร้างสุขภาวะในพื้นที่ระดับตำบล”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมเดช นิลพันธุ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เผยว่า ขณะนี้มหาวิทยาลัยกำลังระดมจัดอัตรากำลังทุกคณะแลทุกภาคส่วน ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้นำชุมชน สร้างตำบลให้เข้มแข็งและน่าอยู่ เฟสแรก 20 ตำบล ทั่วพื้นที่จังหวัดนครปฐม โดยมี สสส.ร่วมเป็นพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์
“เรื่องการพัฒนาคนและชุมชนนี้ มหาวิทยาลัยได้ทำมาโดยตลอด 75 ปี ตามพื้นฐานขององค์ความรู้ทางวิชาการ รวมทั้งประสบการณ์ของบุคลากรของเราและบริบทของท้องถิ่นในช่วงเวลาหนึ่งๆ มาถึงในวันนี้ มหาวิทยาลัยฯก็ยังคงมีพันธกิจต่อการพัฒนาคนและท้องถิ่นอยู่ โดยกลวิธีการดำเนินงานที่สำคัญ คือ การมุ่งเน้นให้อาจารย์ของเราบูรณาการการสอน การวิจัยและการบริการชุมชนเข้าด้วยกัน นักศึกษาทุกหลักสูตรจะต้องรู้จักชุมชน รู้ปัญหาและใช้ปัญหานั้นเป็นฐานของการเรียน” ผศ.สมเดช กล่าว
หลังจากที่มหาวิทยาลัยได้รับฟังความคิดเห็นและเข้าร่วมประชุมประชาคมในแต่ละพื้นที่แล้ว ในวันที่ 12-13 พฤษภาคมศกนี้จะจัดให้มีการระดมความคิดพัฒนาข้อเสนอโครงการ “การสร้างสุขภาวะในพื้นที่ระดับตำบล” โดยมีทีมนักวิชาการจาก สสส. มาร่วมให้ข้อเสนอแนะ เพื่อนำแนวความคิดที่ตกผลึกแล้วมาดำเนินการต่อไป โดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจนในแต่ละเฟส
“คือเป็นการทำงานที่เอาพื้นที่เป้าหมายเป็นตัวตั้ง ความยากจึงอยู่ที่การบูรณาการและการเชื่อมประสานทรัพยากร ซึ่งอาจจะเป็นการบูรณาการเชิงประเด็น การบูรณาการเชิงองค์กร หรือการบูรณาการเชิงวิธีการ แต่ไม่ว่าจะบูรณาการแบบใด ลักษณะใด ทั้งหมดนี้จะต้องมุ่งตอบโจทย์ของพื้นที่ให้ได้”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมเดช นิลพันธุ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เผยว่า ขณะนี้มหาวิทยาลัยกำลังระดมจัดอัตรากำลังทุกคณะแลทุกภาคส่วน ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้นำชุมชน สร้างตำบลให้เข้มแข็งและน่าอยู่ เฟสแรก 20 ตำบล ทั่วพื้นที่จังหวัดนครปฐม โดยมี สสส.ร่วมเป็นพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์
“เรื่องการพัฒนาคนและชุมชนนี้ มหาวิทยาลัยได้ทำมาโดยตลอด 75 ปี ตามพื้นฐานขององค์ความรู้ทางวิชาการ รวมทั้งประสบการณ์ของบุคลากรของเราและบริบทของท้องถิ่นในช่วงเวลาหนึ่งๆ มาถึงในวันนี้ มหาวิทยาลัยฯก็ยังคงมีพันธกิจต่อการพัฒนาคนและท้องถิ่นอยู่ โดยกลวิธีการดำเนินงานที่สำคัญ คือ การมุ่งเน้นให้อาจารย์ของเราบูรณาการการสอน การวิจัยและการบริการชุมชนเข้าด้วยกัน นักศึกษาทุกหลักสูตรจะต้องรู้จักชุมชน รู้ปัญหาและใช้ปัญหานั้นเป็นฐานของการเรียน” ผศ.สมเดช กล่าว
หลังจากที่มหาวิทยาลัยได้รับฟังความคิดเห็นและเข้าร่วมประชุมประชาคมในแต่ละพื้นที่แล้ว ในวันที่ 12-13 พฤษภาคมศกนี้จะจัดให้มีการระดมความคิดพัฒนาข้อเสนอโครงการ “การสร้างสุขภาวะในพื้นที่ระดับตำบล” โดยมีทีมนักวิชาการจาก สสส. มาร่วมให้ข้อเสนอแนะ เพื่อนำแนวความคิดที่ตกผลึกแล้วมาดำเนินการต่อไป โดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจนในแต่ละเฟส
“คือเป็นการทำงานที่เอาพื้นที่เป้าหมายเป็นตัวตั้ง ความยากจึงอยู่ที่การบูรณาการและการเชื่อมประสานทรัพยากร ซึ่งอาจจะเป็นการบูรณาการเชิงประเด็น การบูรณาการเชิงองค์กร หรือการบูรณาการเชิงวิธีการ แต่ไม่ว่าจะบูรณาการแบบใด ลักษณะใด ทั้งหมดนี้จะต้องมุ่งตอบโจทย์ของพื้นที่ให้ได้”