พิษณุโลก - รมว.สุวิทย์ สั่งดีเดย์! เชือดไก่ให้ชาวสวนยางพาราดู ในวัน “อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ 14 มกราฯ” ทั่วประเทศ เผยเชียงใหม่ อธิบดีป่าไม้ลุยตัดสวนยางฝาง-พิษณุโลก เล็งเป้านครไทย และ อช.แม่วงค์ นครสรรค์ ขณะที่ไม้สัก 4 พันท่อนถูกยึดที่ท่าตะโก นครสวรรค์ ล้วนเป็นแปลงปลูกเชิงพาณิชย์ บนที่ดินไร้เอกสารสิทธิ ขึ้นทะเบียน “สวนป่า” ไม่ได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 จ.นครสวรรค์ บุกตรวจยึดไม้สักกว่า 4 พันท่อนใน 2 จุด ที่บ้านหนองตะโก ตำบลหนองหลวง อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งจุดแรกได้ไม้สัก 875 ท่อน รถแทรกเตอร์ รถพ่วง บรรทุกและผู้ต้องหา 7 คน บนที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ
จุดที่ 2 (ใกล้กัน) ป่าไม้นครสวรรค์ ตรวจยึดไม้สัก 4,004 ท่อน คิดเป็นปริมาตร 91.75 ลูกบาศก์เมตร บนเนื้อที่ 28 ไร่ อายุต้นสักกว่า 15 ปี ปลูกอยู่บนพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ แต่ไม้สักที่ถูกโค่นนั้น ถูกตีตรา “สป” ในบางท่อน เพื่อตบตาเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ว่า ทำการตัดไม้สักสวนป่าถูกต้อง แต่เมื่อเจ้าหน้าที่ป่าไม้ตรวจสอบกลับพบว่า พื้นที่ดังกล่าวขึ้นทะเบียนสวนป่าไม้ได้
เจ้าหน้าที่สายตรวจผู้ประทำผิดว่าด้วยป่าไม้ (ป่าไม้ภาคเหนือ) เปิดเผยว่า ไม้สักที่โค่นนั้น เป็นไม้สักที่ปลูกตามโครงการปลูกสักแปลงละ 3,000 ต้นต่อไร่ แต่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนสวนป่าได้ เพราะไม่มีเอกสารสิทธิ โดยปลูกไม้สักได้ แต่ไม่ได้ขออนุญาตโค่น ทำให้นายทุนปลอมแปลงหลักฐานตีดวงตรา “สป” หรือ พ.ร.บ.สวนป่า พ.ศ.2535 ก่อนโค่น โดยมีค้อนอยู่ในพื้นที่
เจ้าหน้าที่ป่าไม้ยืนยันว่า ตรวจสอบการขึ้นทะเบียนสวนป่า 28 ไร่แล้ว ไม่พบว่า มีการขึ้นทะเบียน จึงถือว่า ปลอมแปลง จึงทำการตรวจยึดไม้สักทั้งหมด นำส่งดำเนินคดี ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 มาตรา 11, 69
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ตามนโยบายนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ ส่งให้กรมป่าไม้ตามหนังสือกรมป่าไม้ที่ ทส 1612.3/ 23541 ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2553 เรื่อง การป้องกันและปราบปรามเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ ระบุว่า
1) ดำเนินการตัดหรือปิดเส้นทางลำลองทุกแห่งในพื้นที่รับผิดชอบของกรมป่าไม้ เว้นแต่เส้นทางที่ได้รับอนุญาต
2) ให้ตรวจสอบกรณีนำไม้เคลื่อนที่ตามหลักฐานนำมาอ้าง โดยให้ตรวจสอบแหล่งที่มา ในกรณีที่สงสัยแหล่งที่มา หรืออ้างว่า ได้มาจากสวนป่าหรือที่ดินกรรมสิทธิ์ ให้ดำเนินการตรวจสอบอย่างเคร่งครัด หากจำเป็นจะดำเนินการตีความแปลความภาพถ่ายทางอากาศก็ได้
3) พื้นที่ที่ทำการตรวจยึดและให้ดำเนินการตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 โดยให้ปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมายทุกขั้นตอน
4) ให้สั่งการให้หัวหน้าหน่วยป้องกันและเจ้าหน้าที่สายตรวจไปทำการตรวจสอบ ตัดบัญชีโรงงาน โรงค้า ที่อยู่ในความรับผิดชอบ ตามระเบียบและกฎหมายอย่างเข้มงวดและกวดขัน
5) ให้ทุกหน่วยงานจัดทำสถิติ ผลคดี และรายงานความก้าวหน้าของคดี ทั้งปัจจุบันและในอดีต รวมถึงที่ได้รายงานกรมป่าไม้ย้อนหลัง 3 ปี
6) งานด่านป่าไม้ การนำไม้สักท่อนหรือไม้สักแปรรูปเข้าในประเทศ ไม่ว่าจะทางใดก็ตาม ให้ดำเนินการ ตามระเบียบ กฎหมาย นโยบายของรัฐบาลและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
หากพบว่าเจ้าหน้าที่ผู้ใดมีส่วนเกี่ยวข้อง หรือฝ่าฝืนให้มีการกระทำความผิด กรมป่าไม้จะพิจารณาดำเนินการลงโทษโดยเด็ดขาด ทั้งทางวินัย ทางอาญา
จากมาตรการข้อ 3 ที่ให้ดำเนินการตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 คือ ทำการรื้อถอนพืชผลอาสิน สิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ที่คณะเจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจยึดจับกุมไว้ ให้สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ทุกสำนักทั่วประเทศ เร่งรัดการใช้อำนาจตาม มาตรา 25 พร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 14 มกราคม 2554 ซึ่งเป็น”วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ”
สำหรับพิษณุโลก กรมป่าไม้ได้แจ้งให้สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 (ตาก) ทำการประสานนายอำเภอนครไทย ใช้อำนาจตามมาตรา 25 ในคดี ตรวจยึดจับกุม นายเดชธนา สุขจิตร์ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 53 บริเวณป่าภูขมิ้น หลังบ้านโคกคล้าย หมู่ 7 ต.บ่อโพธิ์ อ.นครไทย จ.พิษณุโลก พื้นที่ 484 ไร่ ไม้กระยาเลยจำนวน 14 ท่อน ไม้กระยาเลยถูกกานเพื่อทำให้ยืนต้นตาย และของกลาง คือ กล้ายางพาราจำนวน 62 ต้น ตะกร้าใส่ยางพารา จำนวน 2 ใบ
ส่วนจังหวัดเชียงใหม่ อธิบดีกรมป่าไม้ ลงพื้นที่และเตรียมลงมือตัดต้นยางพาราอายุ 3-4 ปีด้วยตนเอง ที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ขณะที่ที่จังหวัดนครสวรรค์ วางแผนตัดโค่นต้นยางพารา บนพื้นที่บุกรุกที่อุทยานแห่งชาติแม่วงค์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 จ.นครสวรรค์ บุกตรวจยึดไม้สักกว่า 4 พันท่อนใน 2 จุด ที่บ้านหนองตะโก ตำบลหนองหลวง อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งจุดแรกได้ไม้สัก 875 ท่อน รถแทรกเตอร์ รถพ่วง บรรทุกและผู้ต้องหา 7 คน บนที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ
จุดที่ 2 (ใกล้กัน) ป่าไม้นครสวรรค์ ตรวจยึดไม้สัก 4,004 ท่อน คิดเป็นปริมาตร 91.75 ลูกบาศก์เมตร บนเนื้อที่ 28 ไร่ อายุต้นสักกว่า 15 ปี ปลูกอยู่บนพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ แต่ไม้สักที่ถูกโค่นนั้น ถูกตีตรา “สป” ในบางท่อน เพื่อตบตาเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ว่า ทำการตัดไม้สักสวนป่าถูกต้อง แต่เมื่อเจ้าหน้าที่ป่าไม้ตรวจสอบกลับพบว่า พื้นที่ดังกล่าวขึ้นทะเบียนสวนป่าไม้ได้
เจ้าหน้าที่สายตรวจผู้ประทำผิดว่าด้วยป่าไม้ (ป่าไม้ภาคเหนือ) เปิดเผยว่า ไม้สักที่โค่นนั้น เป็นไม้สักที่ปลูกตามโครงการปลูกสักแปลงละ 3,000 ต้นต่อไร่ แต่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนสวนป่าได้ เพราะไม่มีเอกสารสิทธิ โดยปลูกไม้สักได้ แต่ไม่ได้ขออนุญาตโค่น ทำให้นายทุนปลอมแปลงหลักฐานตีดวงตรา “สป” หรือ พ.ร.บ.สวนป่า พ.ศ.2535 ก่อนโค่น โดยมีค้อนอยู่ในพื้นที่
เจ้าหน้าที่ป่าไม้ยืนยันว่า ตรวจสอบการขึ้นทะเบียนสวนป่า 28 ไร่แล้ว ไม่พบว่า มีการขึ้นทะเบียน จึงถือว่า ปลอมแปลง จึงทำการตรวจยึดไม้สักทั้งหมด นำส่งดำเนินคดี ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 มาตรา 11, 69
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ตามนโยบายนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ ส่งให้กรมป่าไม้ตามหนังสือกรมป่าไม้ที่ ทส 1612.3/ 23541 ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2553 เรื่อง การป้องกันและปราบปรามเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ ระบุว่า
1) ดำเนินการตัดหรือปิดเส้นทางลำลองทุกแห่งในพื้นที่รับผิดชอบของกรมป่าไม้ เว้นแต่เส้นทางที่ได้รับอนุญาต
2) ให้ตรวจสอบกรณีนำไม้เคลื่อนที่ตามหลักฐานนำมาอ้าง โดยให้ตรวจสอบแหล่งที่มา ในกรณีที่สงสัยแหล่งที่มา หรืออ้างว่า ได้มาจากสวนป่าหรือที่ดินกรรมสิทธิ์ ให้ดำเนินการตรวจสอบอย่างเคร่งครัด หากจำเป็นจะดำเนินการตีความแปลความภาพถ่ายทางอากาศก็ได้
3) พื้นที่ที่ทำการตรวจยึดและให้ดำเนินการตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 โดยให้ปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมายทุกขั้นตอน
4) ให้สั่งการให้หัวหน้าหน่วยป้องกันและเจ้าหน้าที่สายตรวจไปทำการตรวจสอบ ตัดบัญชีโรงงาน โรงค้า ที่อยู่ในความรับผิดชอบ ตามระเบียบและกฎหมายอย่างเข้มงวดและกวดขัน
5) ให้ทุกหน่วยงานจัดทำสถิติ ผลคดี และรายงานความก้าวหน้าของคดี ทั้งปัจจุบันและในอดีต รวมถึงที่ได้รายงานกรมป่าไม้ย้อนหลัง 3 ปี
6) งานด่านป่าไม้ การนำไม้สักท่อนหรือไม้สักแปรรูปเข้าในประเทศ ไม่ว่าจะทางใดก็ตาม ให้ดำเนินการ ตามระเบียบ กฎหมาย นโยบายของรัฐบาลและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
หากพบว่าเจ้าหน้าที่ผู้ใดมีส่วนเกี่ยวข้อง หรือฝ่าฝืนให้มีการกระทำความผิด กรมป่าไม้จะพิจารณาดำเนินการลงโทษโดยเด็ดขาด ทั้งทางวินัย ทางอาญา
จากมาตรการข้อ 3 ที่ให้ดำเนินการตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 คือ ทำการรื้อถอนพืชผลอาสิน สิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ที่คณะเจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจยึดจับกุมไว้ ให้สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ทุกสำนักทั่วประเทศ เร่งรัดการใช้อำนาจตาม มาตรา 25 พร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 14 มกราคม 2554 ซึ่งเป็น”วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ”
สำหรับพิษณุโลก กรมป่าไม้ได้แจ้งให้สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 (ตาก) ทำการประสานนายอำเภอนครไทย ใช้อำนาจตามมาตรา 25 ในคดี ตรวจยึดจับกุม นายเดชธนา สุขจิตร์ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 53 บริเวณป่าภูขมิ้น หลังบ้านโคกคล้าย หมู่ 7 ต.บ่อโพธิ์ อ.นครไทย จ.พิษณุโลก พื้นที่ 484 ไร่ ไม้กระยาเลยจำนวน 14 ท่อน ไม้กระยาเลยถูกกานเพื่อทำให้ยืนต้นตาย และของกลาง คือ กล้ายางพาราจำนวน 62 ต้น ตะกร้าใส่ยางพารา จำนวน 2 ใบ
ส่วนจังหวัดเชียงใหม่ อธิบดีกรมป่าไม้ ลงพื้นที่และเตรียมลงมือตัดต้นยางพาราอายุ 3-4 ปีด้วยตนเอง ที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ขณะที่ที่จังหวัดนครสวรรค์ วางแผนตัดโค่นต้นยางพารา บนพื้นที่บุกรุกที่อุทยานแห่งชาติแม่วงค์