จันทบุรี - เกษตรจังหวัดจันทบุรี คาดการณ์ปริมาณผลไม้ปี 53 ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ขณะที่เบื้องต้นรัฐบาลเตรียมจัดสรรวงเงินกู้ผ่านสหกรณ์ เพื่อใช้ในการกู้ยืมกระจายผลผลิต 70 ล้านบาท
วันนี้(18 ก.พ.53 ) นางเริงจิตต์ พรมสถิต เกษตรจังหวัดจันทบุรี ได้เปิดเผยถึงสถานการณ์ผลไม้ ปี 2553 ของจังหวัดจันทบุรี ที่จะมีผลผลิตออกสู่ตลาดในช่วงอีก 1-2 เดือนข้างหน้านี้ โดยระบุว่า ณ.ขณะนี้จังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่เพาะปลูกที่ให้ผลผลิต เป็น ทุเรียนจำนวน 170,136 ไร่ ,เงาะ 104,744 ไร่ ,มังคุด 115,650 ไร่ และลองกองอีก 75,844 ไร่
จากข้อมูลล่าสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2553 พบว่าทุเรียนออกดอกไปแล้ว 167,994 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 98.74 ของพื้นที่ให้ผลผลิต ,เงาะออกดอก 99,543 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 95.03 ,มังคุดออกดอกแล้ว 114,455 ไร่ ร้อยละ 98.97 และลองกองออกดอก 48,704 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 64.22 ของพื้นที่ให้ผลผลิต ซึ่งจะเริ่มส่งผลผลิตออกสู่ตลาดได้ในเดือนมีนาคมนี้ คือ ทุเรียนกับมังคุด ส่วนเงาะกับลองกอง จะเริ่มมีผลผลิตออกสู่ตลาดได้ประมาณกลางเดือนเมษายน เป็นต้นไป
สำหรับปี 2553 คาดการณ์ว่า ผลไม้ของจังหวัดจันทบุรี จะเริ่มมีผลผลิตทยอยออกสู่ตลาด ตั้งแต่เดือนมีนาคม ไปจนถึงเดือน กรกฎาคม และจะออกสู่ตลาดพร้อมกันมากสุดในช่วงต้นเดือน พฤษภาคม โดยปริมาณผลผลิตที่คาดการณ์ คือ ทุเรียน ประมาณ 219,740 ตัน เงาะ ประมาณ 136,430 ตัน มังคุด ประมาณ 89,530 ตัน และลองกองประมาณ 36,975 ตัน ซึ่งผลไม้ทั้ง 4 ชนิด มีปริมาณใกล้เคียงกับผลผลิตในปีที่ผ่านมา แต่ทั้งนี้ปริมาณผลผลิตและช่วงเวลา การเก็บเกี่ยวของชาวสวนอาจเปลียนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศและปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการออกดอกและการพัฒนาผลผลิต เช่นกัน
ขณะนี้ สำนักงานเกษตรจังหวัด ได้เชิญทุกฝ่ายจำนวน 11 หน่วยงานในจังหวัดมาระดมความคิดเห็น รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องด้านการผลิต การจำหน่ายผลไม้ มาจัดทำโครงการบริหารจัดการผลไม้จังหวัด เพื่อป้องกันและการแก้ไขปัญหาผลไม้ ปี 2553 โดยจะมีการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำเสนอรัฐบาลในการวางแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาผลไม้ของภาคตะวันออก อย่างยั่งยืนต่อไป
นายพงศ์เวช เวชชาชีวะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดจันทบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎร ได้เปิดเผยว่า เบื้องต้นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลไม้ปีนี้รัฐบาลได้จัดสรรวงเงินกู้โดยผ่านสหกรณ์เพื่อใช้ในการกู้ยืมกระจายผลผลิต จากเดิม 52 ล้านบาท เป็น 70 ล้านบาท
ส่วนเงินจ่ายขาดปีที่แล้ว ซึ่งใช้ในการแทรกแซงราคาผลไม้เป็นเงิน 60 ล้านบาท และคาดว่าปีนี้รัฐบาลคงพิจารณาสนับสนุนไม่น้อยกว่าเดิม เนื่องจากปัญหาผลผลิตล้นตลาด ราคาตกต่ำเป็นปัญหาที่ต้องมีการป้องกันและแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร
วันนี้(18 ก.พ.53 ) นางเริงจิตต์ พรมสถิต เกษตรจังหวัดจันทบุรี ได้เปิดเผยถึงสถานการณ์ผลไม้ ปี 2553 ของจังหวัดจันทบุรี ที่จะมีผลผลิตออกสู่ตลาดในช่วงอีก 1-2 เดือนข้างหน้านี้ โดยระบุว่า ณ.ขณะนี้จังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่เพาะปลูกที่ให้ผลผลิต เป็น ทุเรียนจำนวน 170,136 ไร่ ,เงาะ 104,744 ไร่ ,มังคุด 115,650 ไร่ และลองกองอีก 75,844 ไร่
จากข้อมูลล่าสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2553 พบว่าทุเรียนออกดอกไปแล้ว 167,994 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 98.74 ของพื้นที่ให้ผลผลิต ,เงาะออกดอก 99,543 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 95.03 ,มังคุดออกดอกแล้ว 114,455 ไร่ ร้อยละ 98.97 และลองกองออกดอก 48,704 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 64.22 ของพื้นที่ให้ผลผลิต ซึ่งจะเริ่มส่งผลผลิตออกสู่ตลาดได้ในเดือนมีนาคมนี้ คือ ทุเรียนกับมังคุด ส่วนเงาะกับลองกอง จะเริ่มมีผลผลิตออกสู่ตลาดได้ประมาณกลางเดือนเมษายน เป็นต้นไป
สำหรับปี 2553 คาดการณ์ว่า ผลไม้ของจังหวัดจันทบุรี จะเริ่มมีผลผลิตทยอยออกสู่ตลาด ตั้งแต่เดือนมีนาคม ไปจนถึงเดือน กรกฎาคม และจะออกสู่ตลาดพร้อมกันมากสุดในช่วงต้นเดือน พฤษภาคม โดยปริมาณผลผลิตที่คาดการณ์ คือ ทุเรียน ประมาณ 219,740 ตัน เงาะ ประมาณ 136,430 ตัน มังคุด ประมาณ 89,530 ตัน และลองกองประมาณ 36,975 ตัน ซึ่งผลไม้ทั้ง 4 ชนิด มีปริมาณใกล้เคียงกับผลผลิตในปีที่ผ่านมา แต่ทั้งนี้ปริมาณผลผลิตและช่วงเวลา การเก็บเกี่ยวของชาวสวนอาจเปลียนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศและปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการออกดอกและการพัฒนาผลผลิต เช่นกัน
ขณะนี้ สำนักงานเกษตรจังหวัด ได้เชิญทุกฝ่ายจำนวน 11 หน่วยงานในจังหวัดมาระดมความคิดเห็น รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องด้านการผลิต การจำหน่ายผลไม้ มาจัดทำโครงการบริหารจัดการผลไม้จังหวัด เพื่อป้องกันและการแก้ไขปัญหาผลไม้ ปี 2553 โดยจะมีการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำเสนอรัฐบาลในการวางแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาผลไม้ของภาคตะวันออก อย่างยั่งยืนต่อไป
นายพงศ์เวช เวชชาชีวะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดจันทบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎร ได้เปิดเผยว่า เบื้องต้นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลไม้ปีนี้รัฐบาลได้จัดสรรวงเงินกู้โดยผ่านสหกรณ์เพื่อใช้ในการกู้ยืมกระจายผลผลิต จากเดิม 52 ล้านบาท เป็น 70 ล้านบาท
ส่วนเงินจ่ายขาดปีที่แล้ว ซึ่งใช้ในการแทรกแซงราคาผลไม้เป็นเงิน 60 ล้านบาท และคาดว่าปีนี้รัฐบาลคงพิจารณาสนับสนุนไม่น้อยกว่าเดิม เนื่องจากปัญหาผลผลิตล้นตลาด ราคาตกต่ำเป็นปัญหาที่ต้องมีการป้องกันและแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร