xs
xsm
sm
md
lg

"อบต.ห้วยแร้ง" วางท่อน้ำดิบเพื่อดูดน้ำลงอ่างบรรเทาความเดือดร้อนในหน้าแล้ง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ตราด - อบต.ห้วยแร้งเตรียมแก้ปัญหาภัยแล้ง วางท่อน้ำดิบเพื่อดูดน้ำลงอ่างในทุกหมู่บ้านตามโครงการโรงสูบน้ำชลประทานตราดเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ส่วนชาวนาหนีปลูกถั่วแทนข้าว

นายเสริม ยี่สอง รองนายกอบต. ห้วยแร้ง เปิดเผยถึงการเตรยีมความพร้อมแก้ปัญหาภัยแร้งของตำบลห้วยแร้งว่า ในตำบลห้วยแร้งจะมีปัญหาภัยแร้งทุกปี โดยจะเป็นปัญหาเรื่องน้ำที่ใช้ในการเกษตรและการบริโภค ซึ่ง อบต. จะทำโครงการภัยแล้งทุก ๆ ปี โดยจะดูดน้ำจากคลองห้วยแร้งไปใส่ ในอ่างตาโหน หมู่ที่ 3 ซึ่งน้ำในอ่างตาโหนจะแห้งทุกปี เพราะใช้น้ำในการเกษตร มีการเลี้ยงปลา และนำไปใช้ในการประปาในพื้นที่ ม. ,1 3 ,8 โดย อบต. จะฝังท่อน้ำดิบเพื่อดูดน้ำจากคลองพีดไปใส่อ่างตาโขนทุกปี และได้รับการสนับสนุนเครื่องดูดน้ำจากอำเภอเมืองจำนวน 2 เครื่อง

โดยในปีนี้ก็ได้เตรียมวางท่อน้ำดิบไว้เรียบร้อยแล้ว เมื่อทางอำเภอประกาศเป็นพื้นที่ภัยแล้งก็จะดูดน้ำเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนทันที และท่อที่เห็นในม. 5 นี้ท่อที่ใช้ในโครงการโรงดูดน้ำของชลประทานตราด ซึ่งจะก่อสร้างในต. ห้วยแร้งจำนวน 10 จุด โดยจะดูดน้ำจากห้วยแร้งมาใส่อ่างในแต่ละหมู่บ้าน และในม.5 จะดูดน้ำมาใส่ที่คลองปอ ซึ่งใช้ในการเกษตรและการประปา

นายเสริม กล่าวว่า จากการทำโครงการนี้คาดว่าจะสามารถช่ววยแก้ปัญหาช่วยให้ประชาชนมีน้ำใช้อย่างพอเพียง เพราะในอนาคตภาวะภัยแล้งจะรุนแรงขึ้น และจากที่มีการคาดการณ์สถานภัยแล้งและสภาพอากาศ ว่าในปีนี้จะแล้งยาวจนถึงเดือนกรกฏาคม 53 ซึ่งถ้าเป็นความจริงน้ำที่ใช้อุปโภคในต. ห้วยแร้งไม่พอแน่นอน ขณะนี้โครงการโรงดูดน้ำได้สร้างแล้วจำนวน 2 ที่คือม. 11 และ ม. 5 ส่วนที่เหลือกำลังดำเนินการอยู่ และจากการที่มีฝนตกลงมานั้นทำให้สภาพอากาศร้อนขึ้นและน้ำระเหยเร็วเพราะฝนที่ตกลงมามีปริมาณน้อยไม่สามารถช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้งได้

ด้านลุงสัมฤทธิ์ เขาวงษ์ ชาวนาตำบลหนองเสม็ด กล่าวถึงการปลูกถั่วลิสงเป็นอาชีพเสริมว่า หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวนาปีเสร็จ ก็จะเตรียมพื้นที่ปลูกถั่วลิงสงซึ่งต้องเลือกปลูกในที่ที่เป็นดินทราย โดยเริ่มปลูกในช่วงปลายเดือนธ.ค. – ต้นเดือนม.ค. ของทุกปี และจะเวลาในการปลูกประมาณ 2 เดือนจึงขายผลผลิตได้ ซึ่งช่วยสร้างรายได้ให้ชาวนาเป็นอย่างมาก เพราะลงทุนไม่มากนัก แต่ถ้าหากมีฝนตกชุกก็จะได้ผลผลิตไม่ดี เพราะถั่วลิสงไม่ต้องการน้ำ
โดยในพื้นที่ 1 ไร่จะได้ผลผลิตจำนวน 80 ถัง ราคาถังละ 200 บาท หรือ 16,000 บาทต่อ 1 ไร่ ซึ่งจะมีรถมารับซื้อถึงที่ไม่ต้องนำไปขายเอง และในปีนี้มีชาวนาปลูกข้าวกันน้อยลง เนื่องจากชลประทานได้ทำโครงการขยายรางน้ำ และเกรงว่าจะไม่มีน้ำใช้ในการปลูกข้าว จึงหันมาปลูกถั่วลิสงเป็นอาชีพเสริมกัน ซึ่งจะมีการปลูกผลัดเปลี่ยนกันเป็นช่วง ๆ คือ หลังจากทำนาปีเสร็จ ก็จะปลูกถั่วลิสงและหลังจากเก็บผลผลิตก็จะใช้พื้นที่ปลูกข้าวนาปรังต่อไป

กำลังโหลดความคิดเห็น