xs
xsm
sm
md
lg

สำนักอนุรักษ์ที่ 16 ทุ่มงบไทยเข้มแข็งตั้ง 632 อาสาสกัดไฟป่าแล้งนี้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายทวีศักดิ์ วัฒน์ธรรมรักษ์ รองผู้ว่าฯ แม่ฮ่องสอน ปล่อยขบวนรถยนต์บรรทุกน้ำเพื่อดับไฟป่าในพื้นที่ 7 อำเภอ เพื่อป้องกันไฟป่าตั้งแต่เดือนธันวาคม 2552 -พฤษภาคม 2553
แม่ฮ่องสอน - สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 แม่สะเรียง ทุ่มจัดตั้งอาสาสมัครดับไฟป่า 632 คน ดูแลพื้นที่79 หมู่บ้าน สกัดไฟป่าทุกรูปแบบ

วันนี้ (16 ธ.ค.) ที่บริเวณสถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดแม่ฮ่องสอน ต.ปางหมู อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน นายทวีศักดิ์ วัฒน์ธรรมรักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธานปล่อยขบวนรถยนต์บรรทุกน้ำ พร้อมด้วยอาสาสมัครดับไฟป่า ไปยังพื้นที่ 7 อำเภอ เพื่อดำเนินการสกัดกั้นไฟป่าในแต่ละพื้นที่ เ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาไฟป่าในพื้นที่ในแล้งนี้

โดยนายจเรศักดิ์ นันตะวงษ์ ผู้อำนวยนการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 อำเภอแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 สาขาแม่สะเรียง ได้จัดโครงการประชาป้องกันภัยดับไฟป่า ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข็มแข็ง 2555 โดยได้รับงบประมาณมาดำเนินโครงการฯ ดังกล่าว 2,528,000 บาท จัดจ้างอาสาสมัครดับไฟป่าในพื้นที่ 7 อำเภอ รวม79 หมู่บ้าน ในสัดส่วนหมู่บ้านละ 32,000 บาท อาสาสมัครดับไฟป่าหมู่บ้านละ 8 คน รวม 7 อำเภอ 632 คน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2552 ถึงเดือนพฤษภาคม 2553 โดยแต่ละคนจะได้เงินค้าจ้างประมาณคนละ 4,000 บาทต่อเดือน

ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 สาขาแม่สะเรียง เปิดเผยว่า โครงการ ฯ ดังกล่าวคาด จะสามารถป้องกันไฟป่าในแต่ละพื้นที่ได้ เนื่องจากให้ราษฏรในหมู่บ้านเป็นอาสาสมัครดับไฟป่า

ทั้งนี้ จากข้อมูลสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดแม่ฮ่องสอน สรุปรายงานสถานการณ์หมอกควันและไฟป่าจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปี 2552 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน 2552 ที่ผ่านมาว่า จังหวัดแม่ฮ่องสอนเกิดไฟป่าจำนวน จำนวน 487 ครั้ง พื้นที่ป่าไม้ได้รับความเสียหาย ประมาณ 8,071.5 ไร่ และมีผู้ป่วยจากผลกระทบจากปัญหาหมอกควันและไฟป่า จำนวน 8,014 ราย รวม 7 อำเภอ แยกเป็นโรคทางเดินหายใจ 6,136 ราย โรคหัวใจ 676 ราย โรคผิวหนัง 390 ราย โรคทางตา 812 ราย

นอกจากนี้ จังหวัดแม่ฮ่องสอนยังอยู่ในจังหวัดที่มีวิกฤตการณ์ปัญหามลพิษทาอากาศโดยมีฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ( PM10 ) ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง อยู่ในระดับเกินเกณฑ์มาตรฐาน ถึงขั้นที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน และส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยว

โดยสาเหตุของหมอกควันที่ลอยปกคลุมพื้นที่แม่ฮ่องสอน เกิดจากการเผาวัชพืช เศษวัสดุการเกษตรเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกและการเกิดไฟป่า ดังนั้น ในปี 2553ในช่วงตั้งแต่เดือนมกราคม จนถึงเดือนพฤษภาคม ผู้นำท้องถิ่นจะต้องร่วมมือกันป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าในทุกพื้นที่
กำลังโหลดความคิดเห็น