ตราด- เรือประมงไทย 4 ลำ ถูกทหารเรือเขมรจับกุม หลังเข้าไปทำประมงในน่านน้ำกัมพูชาโดยไม่เสียค่าสัมปทาน ขณะนายกสมาคมประมง จ.ตราด เตรียมพบผู้นำกัมพูชาในการประชุม GBC ที่พัทยา ชี้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องการเมือง ระบุ หากเจรจาไม่ได้อาจจะต้องยืดเยื้อ และสูญเสียประโยชน์
ผู้ประกอบธุรกิจด้านการตลาดของโรงพยาบาลกรุงเทพตราด เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจาก พล.ร.ต.เตีย โสกา รองผู้บัญชาการทหารเรือกัมพูชา ว่า ได้รับรายงานจากทางตำรวจน้ำจังหวัดประจำพื้นที่เกาะกง ประเทศกัมพูชา ว่า ได้จับเรือประมงไทยที่เป็นเรือลากคู่จำนวน 4 ลำ ไว้ที่ตำรวจน้ำ จ.เกาะกง เนื่องจากเข้าไปทำประมงในพื้นที่น่านน้ำกัมพูชา โดยไม่จ่ายค่าสัมปทาน ทั้งนี้ ทางเจ้าของเรือซึ่งอยู่ที่มหาชัย จ.สมุทรสาคร ได้แจ้งมายัง ตนเพื่อขอให้มีการประสานงานไปยัง พล.ร.ต.เตีย โสกา เพื่อขอนำเรือกลับ และจ่ายค่าปรับ
อย่างไรก็ตาม ตนเองยังไม่สามารถติดต่อประสานงานอะไรได้ในตอนนี้ เนื่องจากยังไม่สามารถติดต่อกับบุคคลของทางกองทัพเรือได้
ด้าน นายฐิติกร โลหะคุปต์ นายกสมาคมประมง จ.ตราด กล่าวว่า ยังไม่ได้รับการประสานงานจากเรือประมงไทยที่ถูกจับกุมทั้ง 4 ลำ เนื่องจากยังไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลว่า มีการจับกุมในพื้นที่กัมพูชาหรือในพื้นที่ประเทศไทยอย่างชัดเจน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ เรือประมงไทยหากจะเข้าไปทำประมงในพื้นที่กัมพูชาในขณะนี้จะต้องดำเนินการจ่ายค่าสัมปทานทำประมงให้กับกัมพูชาอย่างเป็นทางการก่อน
ในขณะนี้ยังไม่สามารถจะดำเนินการอะไรได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการดำเนินการทำข้อตกลงในเรื่องหลักเกณฑ์การทำประมงในพื้นที่น่านน้ำกัมพูชา โดยมีคณะกรรมการที่เรียกว่า คณะกรรมการทำประมงในกัมพูชาในพื้นที่ทับซ้อนที่ประกอบด้วย หน่วยงานหลัก 7 หน่วยงาน เช่น จังหวัด ทหารเรือ ศุลกากร เป็นต้น จะเป็นผู้ดำเนินการออกระเบียบและเงื่อนไขในการเข้าไปทำประมงในพื้นที่น่านน้ำกัมพูชา โดยในขณะนี้ยังไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จ
"ผมมั่นใจว่า เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นความจงใจของผู้ที่ต้องการให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา โดยนำผลประโยชน์ของทั้งสองประเทศมาต่อรอง และมันเป็นเรื่องทางการเมืองระหว่างกลุ่มการเมือง 2 กลุ่มของประเทศ ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้ว การดำเนินการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงก็เป็นเรื่องปกติ ที่ทางฝ่ายกัมพูชาจำเป็นจะต้องจัดหารายได้เข้าภาครัฐให้มาก แต่ในปัจจุบันปัญหาในกัมพูชาหน่วยงานบางหน่วย ยังไม่มีความเป็นเอกภาพและมีปัญหาความขัดแย้ง ในเรื่องของผลประโยชน์ที่แต่ละหน่วยงานได้ประโยชน์แตกต่างกัน"
นอกจากนี้ ยังมีนายหน้าที่เป็นคน 2 สัญชาติ พยายามเข้ามาเจรจาและหาผลประโยชน์ในการติดต่อกับหน่วยราชการที่ เกี่ยวข้องกับการให้สัมปทานในพื้นที่กัมพูชาจนทำให้การทำบันทึกข้อตกลงไม่ เป็นไปตามเงื่อนไข บางรายอาจจะจ่ายน้อยบางรายอาจจะจ่ายมาก บางหน่วยงานอาจจ่ายเงินให้ภาครัฐไม่มาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้ของภาครัฐ
ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องแก้ปัญหาในเรื่องนี้ ซึ่งกัมพูชามีความต้องการรายได้ในส่วนนี้มากเพราะถือเป็นรายได้หลักของกัมพูชาและหน่วยงานของรัฐบาลกัมพูชาทั้งในส่วนกลาง และท้องถิ่น หากยุติไปหรือล่าช้าออกไปจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของหน่วยงานเหล่านี้ แต่มีคนไทยบางคนที่ต้องการให้เรื่องนี้บานปลายออกไปและใช้เป็นเงื่อนไขต่อรองทางการเมือง คนผู้นี้จึงควรจะยุติความคิดนี้ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้ประกอบการประมงของประเทศไทย”
นายฐิติกร กล่าวอีกว่า ในวันที่ 26-27 พฤศจิกายน จะมีการประชุมคณะกรรมการชายแดนไทย-กัมพูชา ที่พัทยา ตนเองพร้อมคณะกรรมการสมาคมประมง จ.ตราด และสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยจะเดินทางไปพบหัวหน้าคณะของกัมพูชาเพื่อยื่น ข้อเรียกร้องให้กับกัมพูชาเพื่อให้ดำเนินการต่อสัมปทานการทำประมงในพื้นที่ กัมพูชาให้รวดเร็วเพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาระหว่าง 2 ฝ่าย อย่างไรก็ตาม จะไม่ประชุมร่วมกับทั้ง 2 ฝ่าย แต่เพียงจะยื่นข้อเสนอให้กับหัวหน้าคณะของกัมพูชาเท่านั้น
ผู้ประกอบธุรกิจด้านการตลาดของโรงพยาบาลกรุงเทพตราด เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจาก พล.ร.ต.เตีย โสกา รองผู้บัญชาการทหารเรือกัมพูชา ว่า ได้รับรายงานจากทางตำรวจน้ำจังหวัดประจำพื้นที่เกาะกง ประเทศกัมพูชา ว่า ได้จับเรือประมงไทยที่เป็นเรือลากคู่จำนวน 4 ลำ ไว้ที่ตำรวจน้ำ จ.เกาะกง เนื่องจากเข้าไปทำประมงในพื้นที่น่านน้ำกัมพูชา โดยไม่จ่ายค่าสัมปทาน ทั้งนี้ ทางเจ้าของเรือซึ่งอยู่ที่มหาชัย จ.สมุทรสาคร ได้แจ้งมายัง ตนเพื่อขอให้มีการประสานงานไปยัง พล.ร.ต.เตีย โสกา เพื่อขอนำเรือกลับ และจ่ายค่าปรับ
อย่างไรก็ตาม ตนเองยังไม่สามารถติดต่อประสานงานอะไรได้ในตอนนี้ เนื่องจากยังไม่สามารถติดต่อกับบุคคลของทางกองทัพเรือได้
ด้าน นายฐิติกร โลหะคุปต์ นายกสมาคมประมง จ.ตราด กล่าวว่า ยังไม่ได้รับการประสานงานจากเรือประมงไทยที่ถูกจับกุมทั้ง 4 ลำ เนื่องจากยังไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลว่า มีการจับกุมในพื้นที่กัมพูชาหรือในพื้นที่ประเทศไทยอย่างชัดเจน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ เรือประมงไทยหากจะเข้าไปทำประมงในพื้นที่กัมพูชาในขณะนี้จะต้องดำเนินการจ่ายค่าสัมปทานทำประมงให้กับกัมพูชาอย่างเป็นทางการก่อน
ในขณะนี้ยังไม่สามารถจะดำเนินการอะไรได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการดำเนินการทำข้อตกลงในเรื่องหลักเกณฑ์การทำประมงในพื้นที่น่านน้ำกัมพูชา โดยมีคณะกรรมการที่เรียกว่า คณะกรรมการทำประมงในกัมพูชาในพื้นที่ทับซ้อนที่ประกอบด้วย หน่วยงานหลัก 7 หน่วยงาน เช่น จังหวัด ทหารเรือ ศุลกากร เป็นต้น จะเป็นผู้ดำเนินการออกระเบียบและเงื่อนไขในการเข้าไปทำประมงในพื้นที่น่านน้ำกัมพูชา โดยในขณะนี้ยังไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จ
"ผมมั่นใจว่า เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นความจงใจของผู้ที่ต้องการให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา โดยนำผลประโยชน์ของทั้งสองประเทศมาต่อรอง และมันเป็นเรื่องทางการเมืองระหว่างกลุ่มการเมือง 2 กลุ่มของประเทศ ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้ว การดำเนินการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงก็เป็นเรื่องปกติ ที่ทางฝ่ายกัมพูชาจำเป็นจะต้องจัดหารายได้เข้าภาครัฐให้มาก แต่ในปัจจุบันปัญหาในกัมพูชาหน่วยงานบางหน่วย ยังไม่มีความเป็นเอกภาพและมีปัญหาความขัดแย้ง ในเรื่องของผลประโยชน์ที่แต่ละหน่วยงานได้ประโยชน์แตกต่างกัน"
นอกจากนี้ ยังมีนายหน้าที่เป็นคน 2 สัญชาติ พยายามเข้ามาเจรจาและหาผลประโยชน์ในการติดต่อกับหน่วยราชการที่ เกี่ยวข้องกับการให้สัมปทานในพื้นที่กัมพูชาจนทำให้การทำบันทึกข้อตกลงไม่ เป็นไปตามเงื่อนไข บางรายอาจจะจ่ายน้อยบางรายอาจจะจ่ายมาก บางหน่วยงานอาจจ่ายเงินให้ภาครัฐไม่มาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้ของภาครัฐ
ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องแก้ปัญหาในเรื่องนี้ ซึ่งกัมพูชามีความต้องการรายได้ในส่วนนี้มากเพราะถือเป็นรายได้หลักของกัมพูชาและหน่วยงานของรัฐบาลกัมพูชาทั้งในส่วนกลาง และท้องถิ่น หากยุติไปหรือล่าช้าออกไปจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของหน่วยงานเหล่านี้ แต่มีคนไทยบางคนที่ต้องการให้เรื่องนี้บานปลายออกไปและใช้เป็นเงื่อนไขต่อรองทางการเมือง คนผู้นี้จึงควรจะยุติความคิดนี้ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้ประกอบการประมงของประเทศไทย”
นายฐิติกร กล่าวอีกว่า ในวันที่ 26-27 พฤศจิกายน จะมีการประชุมคณะกรรมการชายแดนไทย-กัมพูชา ที่พัทยา ตนเองพร้อมคณะกรรมการสมาคมประมง จ.ตราด และสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยจะเดินทางไปพบหัวหน้าคณะของกัมพูชาเพื่อยื่น ข้อเรียกร้องให้กับกัมพูชาเพื่อให้ดำเนินการต่อสัมปทานการทำประมงในพื้นที่ กัมพูชาให้รวดเร็วเพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาระหว่าง 2 ฝ่าย อย่างไรก็ตาม จะไม่ประชุมร่วมกับทั้ง 2 ฝ่าย แต่เพียงจะยื่นข้อเสนอให้กับหัวหน้าคณะของกัมพูชาเท่านั้น