ระยอง - ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เปิดแถลงข่าวจัดตั้ง "เบ็ญจภาคี" แก้ไขปัญหามลภาวะ
เวลา 15.00 น.วันนี้ (2 พ.ย.52) นายสยุมพร ลิ่มไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เรื่องการแก้ไขปัญหามลภาวะในพื้นที่ จ.ระยองว่า ได้จัดตั้งกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม 5 ฝ่ายในลักษณะเบ็ญจภาคี คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งนายสาธิต ปิตุเตชะ, นายบัญญัติ เจตนจันทร์, นายวิชัย ล้ำสุทธิ และนายธารา ปิตุเตชะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นายปิยะ ปิตุเตชะ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ระยอง และนายสมพงษ์ โสภณ นายกเทศมนตรีเมืองมาบตาพุด ผู้แทนภาคเอกชนประกอบด้วยผู้แทนสำนักงานการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และผู้แทนภาคประชาชน
นายสยุมพร กล่าวว่า มีความเห็นว่าปัญหาความขัดแย้งเรื่องมลภาวะในพื้นที่ จ.ระยอง มีการนำเสนอจาก 2 กลุ่ม มีประเด็นความขัดแย้งเป็นหลักจะขอให้มีการระงับการขยายตัวภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ไปก่อน ระหว่างที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาล อีกฝ่ายคือภาคอุตสาหกรรม เห็นว่าการระงับโครงการดังกล่าวจะเกิดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม ส่งผลกระทบการจ้างงานใน จ.ระยอง เป็นการมองปัญหาคนละมุมมอง ดังนั้นกลุ่มเบ็ญจภาคีระยอง มีข้อเสนอเบื้องต้นเพื่อจะผ่าทางตันในระยะสั้นและระยะยาว ระยะสั้นมีข้อเสนอ 5 ข้อระยะยาวมี 5 ข้อเช่นกัน
ระยะสั้น 1.จะต้องมีการพิจารณาการระงับ 76 โครงการ ให้เป็นที่ยุติโดยเร็ว ถ้าปล่อยนานเข้าจะส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจโดยรวมและการจ้างงานในพื้นที่ 2.จะต้องมีการเปิดเผยข้อมูลเรื่องมลภาวะในพื้นที่ จ.ระยองให้ชัดเจน เพราะมีการเสนอข้อมูลจากหลายฝ่าย ควรให้องค์กรที่เกี่ยวข้องโดยตรงเรื่องนี้ออกมาเปิดเผยข้อมูลให้ชัดเจน เพื่อไม่ทำให้ประชาชนเกิดความสับสน
3.เร่งรัดพิจารณามาตรการแผนลดและขจัดมลพิษของ จ.ระยองในปี 2553 ที่นำเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว 4.รวบรวมปัญหาข้อเสนอของคนส่วนใหญ่ใน จ.ระยองเพื่อนำเสนอภาคนโยบาย 5.คณะกรรมการ ในระดับนโยบายขึ้นมาดูแลโดยตรง ปัญหามาบตาพุดเกี่ยวข้องกับคณะกรรมการและหน่วยงานหลายหน่วยงาน จะทำให้การแก้ไขปัญหาเดินหน้าได้เร็วกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้
ส่วนระยะยาว 1.จัดตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อดูแลแก้ไขปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมระยอง โดยตรง และต้องกำหนดเป็นนโยบายของกระทรวงที่เกี่ยวข้อง อาจจะใช้มาตรการทางภาษีหรือมาตรการอื่น โดยให้กลุ่มอุตสาหกรรมที่มาประกอบกิจการใน จ.ระยองสนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่งเป็นประจำปีให้กับกองทุนสิ่งแวดล้อม
2.จัดตั้งศูนย์ข้อมูลสิ่งแวดล้อมมลภาวะในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนสามารถรับรู้เข้าถึงข้อมูล
3.จัดสรรเงินภาษีส่วนหนึ่งคืนกลับมาสู่ท้องถิ่น คือภาษีธุรกิจและภาษีรถยนต์ โดยให้กลุ่มประกอบการอุตสาหกรรมใน จ.ระยอง ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจและภาษีรถยนต์ใน จ.ระยอง
4.ต้องกำหนดผังเมืองมาบตาพุดฉบับใหม่ให้ชัดเจน ต้องกำหนดแนวกันชนระหว่างบ้านเรือนประชาชนกับอุตสาหกรรม
5.ให้กระทรวงทบวงกรมที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนการพัฒนา จ.ระยองสู่การพัฒนาเชิงสมดุล จ.ระยองปรับยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาจังหวัดตั้งแต่ปีงบประมาณ 2554 ในการพัฒนาด้านการเกษตรและการท่องเที่ยว เป็นภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงของจังหวัด รวมทั้งแผนพัฒนาด้านสังคม เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาจังหวัดระยอง
เวลา 15.00 น.วันนี้ (2 พ.ย.52) นายสยุมพร ลิ่มไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เรื่องการแก้ไขปัญหามลภาวะในพื้นที่ จ.ระยองว่า ได้จัดตั้งกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม 5 ฝ่ายในลักษณะเบ็ญจภาคี คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งนายสาธิต ปิตุเตชะ, นายบัญญัติ เจตนจันทร์, นายวิชัย ล้ำสุทธิ และนายธารา ปิตุเตชะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นายปิยะ ปิตุเตชะ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ระยอง และนายสมพงษ์ โสภณ นายกเทศมนตรีเมืองมาบตาพุด ผู้แทนภาคเอกชนประกอบด้วยผู้แทนสำนักงานการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และผู้แทนภาคประชาชน
นายสยุมพร กล่าวว่า มีความเห็นว่าปัญหาความขัดแย้งเรื่องมลภาวะในพื้นที่ จ.ระยอง มีการนำเสนอจาก 2 กลุ่ม มีประเด็นความขัดแย้งเป็นหลักจะขอให้มีการระงับการขยายตัวภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ไปก่อน ระหว่างที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาล อีกฝ่ายคือภาคอุตสาหกรรม เห็นว่าการระงับโครงการดังกล่าวจะเกิดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม ส่งผลกระทบการจ้างงานใน จ.ระยอง เป็นการมองปัญหาคนละมุมมอง ดังนั้นกลุ่มเบ็ญจภาคีระยอง มีข้อเสนอเบื้องต้นเพื่อจะผ่าทางตันในระยะสั้นและระยะยาว ระยะสั้นมีข้อเสนอ 5 ข้อระยะยาวมี 5 ข้อเช่นกัน
ระยะสั้น 1.จะต้องมีการพิจารณาการระงับ 76 โครงการ ให้เป็นที่ยุติโดยเร็ว ถ้าปล่อยนานเข้าจะส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจโดยรวมและการจ้างงานในพื้นที่ 2.จะต้องมีการเปิดเผยข้อมูลเรื่องมลภาวะในพื้นที่ จ.ระยองให้ชัดเจน เพราะมีการเสนอข้อมูลจากหลายฝ่าย ควรให้องค์กรที่เกี่ยวข้องโดยตรงเรื่องนี้ออกมาเปิดเผยข้อมูลให้ชัดเจน เพื่อไม่ทำให้ประชาชนเกิดความสับสน
3.เร่งรัดพิจารณามาตรการแผนลดและขจัดมลพิษของ จ.ระยองในปี 2553 ที่นำเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว 4.รวบรวมปัญหาข้อเสนอของคนส่วนใหญ่ใน จ.ระยองเพื่อนำเสนอภาคนโยบาย 5.คณะกรรมการ ในระดับนโยบายขึ้นมาดูแลโดยตรง ปัญหามาบตาพุดเกี่ยวข้องกับคณะกรรมการและหน่วยงานหลายหน่วยงาน จะทำให้การแก้ไขปัญหาเดินหน้าได้เร็วกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้
ส่วนระยะยาว 1.จัดตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อดูแลแก้ไขปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมระยอง โดยตรง และต้องกำหนดเป็นนโยบายของกระทรวงที่เกี่ยวข้อง อาจจะใช้มาตรการทางภาษีหรือมาตรการอื่น โดยให้กลุ่มอุตสาหกรรมที่มาประกอบกิจการใน จ.ระยองสนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่งเป็นประจำปีให้กับกองทุนสิ่งแวดล้อม
2.จัดตั้งศูนย์ข้อมูลสิ่งแวดล้อมมลภาวะในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนสามารถรับรู้เข้าถึงข้อมูล
3.จัดสรรเงินภาษีส่วนหนึ่งคืนกลับมาสู่ท้องถิ่น คือภาษีธุรกิจและภาษีรถยนต์ โดยให้กลุ่มประกอบการอุตสาหกรรมใน จ.ระยอง ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจและภาษีรถยนต์ใน จ.ระยอง
4.ต้องกำหนดผังเมืองมาบตาพุดฉบับใหม่ให้ชัดเจน ต้องกำหนดแนวกันชนระหว่างบ้านเรือนประชาชนกับอุตสาหกรรม
5.ให้กระทรวงทบวงกรมที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนการพัฒนา จ.ระยองสู่การพัฒนาเชิงสมดุล จ.ระยองปรับยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาจังหวัดตั้งแต่ปีงบประมาณ 2554 ในการพัฒนาด้านการเกษตรและการท่องเที่ยว เป็นภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงของจังหวัด รวมทั้งแผนพัฒนาด้านสังคม เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาจังหวัดระยอง