"อภิสิทธิ์"เดินหน้าแก้ปัญหามาบตาพุด ตามแนวทางรธน. ยันให้ทุกโครงการในจ.ระยองปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรค 2 แม้ไม่เข้าข่าย ทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ผนวกรายงานผลกระทบสุขภาพ และรับฟังความเห็นประชาชน ส่ง"กอร์ปศักดิ์"ลงพื้นที่ เร่งรัดมาตรการเยียวยา คุณภาพชีวิต ด้านส.ส.ปชป.ระยอง หนุนออกประกาศสำนักนายกฯหรือกฎกระทรวงฯช่วย 76 เอกชน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์” ว่า หลังจากที่ศาลปกครองกลางระยองได้สั่งระงับการดำเนินการ 76 โครงการเอาไว้ ขณะนี้รัฐบาลได้เชิญชวนให้หลาย ๆ โครงการในจังหวัดระยอง ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง แต่ยังไม่ได้เริ่มต้นประกอบการ ที่แม้จะเห็นว่าไม่เข้าข่ายที่จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรค 2 ก็ตาม ให้เข้ามาสู่กระบวนการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 ที่รัฐบาลวางแนวทางไว้ ส่วนโครงการต่าง ๆจะเดินหน้าไปได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของศาลปกครอง ซึ่งรัฐบาลได้ยื่นอุทธรณ์ไปแล้ว
ทั้งนี้ กระบวนการที่จะต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 ในระหว่างที่ยังไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายนั้น จะให้โครงการต่าง ๆ ทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ทำรายงานผลกระทบสุขภาพ ตามกระบวนการที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติได้กำหนดเอาไว้ และนำมาผนวกกับ EIA ซึ่งในสองกระบวนการนี้ จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน นอกจากนี้ หน่วยงานที่ทำหน้าที่อนุมัติโครงการจะต้องจัดให้โครงการนั้น ๆ มีการจัดการรับฟังความคิดเห็นเป็นการเฉพาะ ซึ่งจะอิงกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่มีอยู่ แต่จะมีข้อกำหนดเพิ่มเติมให้การรับฟังความคิดเห็นครอบคลุมประเด็นในเรื่องที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ ยังจะเปิดโอกาสให้ผู้ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมและผู้ทำงานด้านวิชาการรวมตัวกันในการที่จะเป็นองค์การอิสระ สามารถมาจดแจ้ง และสนใจที่จะให้ความเห็นในโครงการใดสามารถรับรายงานของผู้ชำนาญการไปพิจารณาและให้ความเห็นกลับมายังหน่วยงานอนุญาตได้
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ได้หารือกับภาคประชาชน สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่สนใจในเรื่องนี้ โดยรัฐบาลมีความตั้งใจที่จะตั้งคณะกรรมการที่ประกอบด้วย 4 ฝ่ายขึ้นมา เพื่อพิจารณาทั้ง 76 โครงการลงทุนในมาบตาพุดให้เห็นว่า แต่ละโครงการมีปัญหาอย่างไรหรือไม่ และจะต้องกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม และจำเป็นต้องแก้ไขในสิ่งใดบ้าง ซึ่งเชื่อว่า จะได้ความสมดุลระหว่างการพัฒนาและเรื่องการดูแลคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของประชาชน
อย่างไรก็ตาม นโยบายของรัฐบาลต่อกรณีการลงทุนในมาบตาพุด จังหวัดระยองนั้นได้ยึดถือแนวทางการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ โดยโครงการที่รัฐบาลได้อนุมัติไปก่อนหน้านี้ เป็นโครงการที่ได้ตรวจวิเคราะห์จากรายงานการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมแล้วเห็นว่า ไม่ได้มีผลกระทบรุนแรงต่อชุมชน ซึ่งเห็นใจ และเข้าใจความเดือดร้อนของประชาชนที่อาศัยอยู่มาบตาพุด จากปัญหามลพิษมาพอสมควร ซึ่งแนวทางในการทำงานของรัฐบาลนั้นได้มอบหมายให้นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ออกไปพบประชาชนที่มาชุมนุมเคลื่อนไหว ตลอดจนลงไปในพื้นที่มาบตาพุดและมีการลงพื้นสม่ำเสมอ เพื่อเร่งรัดมาตรการเยียวยาต่าง ๆ และดูแลเรื่องหลักประกันสุขภาพ พัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โรงพยาบาลและอื่น ๆ ส่วนการดำเนินการเกี่ยวข้องกับมาตรา 67 วรรค 2 รัฐบาลได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว
โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้กำหนดแนวทางที่ชัดเจนแล้วดังนี้ 1. โครงการที่มีข้อกำหนดต่าง ๆ อยู่ในประกาศของกระทรวงต่าง ๆ อยู่แล้ว 2. โครงการที่มีเรื่องร้องเรียนเข้ามา คณะอนุกรรมการสิ่งแวดล้อม ก็จะดำเนินการให้เข้าสู่กระบวนการตามมาตรา 67 วรรค 2 3. โครงการที่ดำเนินการไปแล้ว แต่มีปัญหามลพิษเกิดขึ้นมา ก็จะย้อนกลับขึ้นมาสู่กระบวนการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 และ 4.ในพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวโครงการใดที่มีความอ่อนไหวที่จะกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่นั้นๆ ก็จะต้องเข้าสู่กระบวนการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 ด้วย
นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง และในฐานะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการแก้ปัญหามาบตาพุดว่า เห็นด้วยกับแนวทางของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่มีความชัดเจนมากขึ้น ในเรื่องการประกาศสำนักนายกฯหรือกฎกระทรวงที่ทำให้มาตรา 67 วรรค 2 สามารถปฏิบัติได้ และมีความชัดเจนว่า โครงการใดเข้าข่ายมาตรานี้ รวมถึงมีตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ข้อมูล นอกจากนี้ให้หามาตรการเยียวยาคนในพื้นที่ โดยเฉพาะเรื่องของคุณภาพชีวิต ที่นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกฯจะเป็นประธานและลงพื้นที่ร่วมแก้ปัญหาสัปดาห์เว้นสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม มีสิ่งที่รัฐบาลทำได้เลยโดยออกเป็นนโยบาย ไม่ต้องใช้กฎหมายคือ 1.ให้พื้นที่มีรายได้จากผู้ประกอบการ คือให้ผู้ประกอบการหรือบริษัท ไปจดทะเบียนที่ จ.ระยองเพื่อเพิ่มรายได้จากภาษี แต่ขณะนี้กรมสรรพากรยังไม่ยินยอม นอกจากนี้ให้ผู้ที่ไปทำงานย้ายสำมะโนครัวไปที่ จ.ระยอง เพื่อเพิ่มประชากร และพื้นที่จะได้รับงบประมาณมากขึ้น
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์” ว่า หลังจากที่ศาลปกครองกลางระยองได้สั่งระงับการดำเนินการ 76 โครงการเอาไว้ ขณะนี้รัฐบาลได้เชิญชวนให้หลาย ๆ โครงการในจังหวัดระยอง ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง แต่ยังไม่ได้เริ่มต้นประกอบการ ที่แม้จะเห็นว่าไม่เข้าข่ายที่จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรค 2 ก็ตาม ให้เข้ามาสู่กระบวนการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 ที่รัฐบาลวางแนวทางไว้ ส่วนโครงการต่าง ๆจะเดินหน้าไปได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของศาลปกครอง ซึ่งรัฐบาลได้ยื่นอุทธรณ์ไปแล้ว
ทั้งนี้ กระบวนการที่จะต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 ในระหว่างที่ยังไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายนั้น จะให้โครงการต่าง ๆ ทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ทำรายงานผลกระทบสุขภาพ ตามกระบวนการที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติได้กำหนดเอาไว้ และนำมาผนวกกับ EIA ซึ่งในสองกระบวนการนี้ จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน นอกจากนี้ หน่วยงานที่ทำหน้าที่อนุมัติโครงการจะต้องจัดให้โครงการนั้น ๆ มีการจัดการรับฟังความคิดเห็นเป็นการเฉพาะ ซึ่งจะอิงกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่มีอยู่ แต่จะมีข้อกำหนดเพิ่มเติมให้การรับฟังความคิดเห็นครอบคลุมประเด็นในเรื่องที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ ยังจะเปิดโอกาสให้ผู้ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมและผู้ทำงานด้านวิชาการรวมตัวกันในการที่จะเป็นองค์การอิสระ สามารถมาจดแจ้ง และสนใจที่จะให้ความเห็นในโครงการใดสามารถรับรายงานของผู้ชำนาญการไปพิจารณาและให้ความเห็นกลับมายังหน่วยงานอนุญาตได้
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ได้หารือกับภาคประชาชน สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่สนใจในเรื่องนี้ โดยรัฐบาลมีความตั้งใจที่จะตั้งคณะกรรมการที่ประกอบด้วย 4 ฝ่ายขึ้นมา เพื่อพิจารณาทั้ง 76 โครงการลงทุนในมาบตาพุดให้เห็นว่า แต่ละโครงการมีปัญหาอย่างไรหรือไม่ และจะต้องกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม และจำเป็นต้องแก้ไขในสิ่งใดบ้าง ซึ่งเชื่อว่า จะได้ความสมดุลระหว่างการพัฒนาและเรื่องการดูแลคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของประชาชน
อย่างไรก็ตาม นโยบายของรัฐบาลต่อกรณีการลงทุนในมาบตาพุด จังหวัดระยองนั้นได้ยึดถือแนวทางการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ โดยโครงการที่รัฐบาลได้อนุมัติไปก่อนหน้านี้ เป็นโครงการที่ได้ตรวจวิเคราะห์จากรายงานการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมแล้วเห็นว่า ไม่ได้มีผลกระทบรุนแรงต่อชุมชน ซึ่งเห็นใจ และเข้าใจความเดือดร้อนของประชาชนที่อาศัยอยู่มาบตาพุด จากปัญหามลพิษมาพอสมควร ซึ่งแนวทางในการทำงานของรัฐบาลนั้นได้มอบหมายให้นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ออกไปพบประชาชนที่มาชุมนุมเคลื่อนไหว ตลอดจนลงไปในพื้นที่มาบตาพุดและมีการลงพื้นสม่ำเสมอ เพื่อเร่งรัดมาตรการเยียวยาต่าง ๆ และดูแลเรื่องหลักประกันสุขภาพ พัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โรงพยาบาลและอื่น ๆ ส่วนการดำเนินการเกี่ยวข้องกับมาตรา 67 วรรค 2 รัฐบาลได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว
โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้กำหนดแนวทางที่ชัดเจนแล้วดังนี้ 1. โครงการที่มีข้อกำหนดต่าง ๆ อยู่ในประกาศของกระทรวงต่าง ๆ อยู่แล้ว 2. โครงการที่มีเรื่องร้องเรียนเข้ามา คณะอนุกรรมการสิ่งแวดล้อม ก็จะดำเนินการให้เข้าสู่กระบวนการตามมาตรา 67 วรรค 2 3. โครงการที่ดำเนินการไปแล้ว แต่มีปัญหามลพิษเกิดขึ้นมา ก็จะย้อนกลับขึ้นมาสู่กระบวนการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 และ 4.ในพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวโครงการใดที่มีความอ่อนไหวที่จะกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่นั้นๆ ก็จะต้องเข้าสู่กระบวนการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 ด้วย
นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง และในฐานะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการแก้ปัญหามาบตาพุดว่า เห็นด้วยกับแนวทางของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่มีความชัดเจนมากขึ้น ในเรื่องการประกาศสำนักนายกฯหรือกฎกระทรวงที่ทำให้มาตรา 67 วรรค 2 สามารถปฏิบัติได้ และมีความชัดเจนว่า โครงการใดเข้าข่ายมาตรานี้ รวมถึงมีตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ข้อมูล นอกจากนี้ให้หามาตรการเยียวยาคนในพื้นที่ โดยเฉพาะเรื่องของคุณภาพชีวิต ที่นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกฯจะเป็นประธานและลงพื้นที่ร่วมแก้ปัญหาสัปดาห์เว้นสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม มีสิ่งที่รัฐบาลทำได้เลยโดยออกเป็นนโยบาย ไม่ต้องใช้กฎหมายคือ 1.ให้พื้นที่มีรายได้จากผู้ประกอบการ คือให้ผู้ประกอบการหรือบริษัท ไปจดทะเบียนที่ จ.ระยองเพื่อเพิ่มรายได้จากภาษี แต่ขณะนี้กรมสรรพากรยังไม่ยินยอม นอกจากนี้ให้ผู้ที่ไปทำงานย้ายสำมะโนครัวไปที่ จ.ระยอง เพื่อเพิ่มประชากร และพื้นที่จะได้รับงบประมาณมากขึ้น