เชียงใหม่ – รมว.อุตสาหกรรม ขึ้นเชียงใหม่ พบปะภาคเอกชน หลังออกมาตรการพิเศษกระตุ้นภาคอุตสาหกรรมทั่วประเทศ โอ่ไตรมาสสุดท้ายมูลค่าส่งเสริมการลงทุนภาคเหนือเพิ่ม 1 เท่าตัว รวมมูลค่า 1 แสนล้านบาท ด้าน บีโอไอ สรุปยอด 7 เดือน มูลค่าส่งเสริมการลงทุนแค่ 7 พันล้านบาท เร่งออกมาตรการส่งเสริมการขอรับการลงทุนทั้งยกเว้นภาษี-ผ่อนกฎระเบียบอื้อ หวังกระตุ้นยอดทั้งปี
วันนี้ (28 ส.ค.) นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงาน “ผลักดันการลงทุน กระตุ้นเศรษฐกิจภาคเหนือ” ที่โรงแรมแชงกรี-ลา จังหวัดเชียงใหม่ ว่า การเดินทางมาจังหวัดเชียงใหม่เพื่อกระตุ้นการส่งเสริมขอรับการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ในเขตภาคเหนือตั้งแต่ 2547 จนถึงปัจจุบัน มีโครงการที่ขอรับการลงทุน 370 โครงการรวมเม็ดเงินลงทุน 62,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ จะเร่งออกมาตรการเพื่อพัฒนาศักยภาพของโครงการเหล่านี้ เนื่องจากภาคเหนือมีศักยภาพที่จะขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจได้อีก รวมทั้งการตกลงการค้าร่วมกับประเทศจีนจำให้ภาคเหนือได้รับอานิสงส์อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าทางการเกษตร ซึ่งคาดว่าในไตรมาสที่ 4 มูลค่ารวมของการขอส่งเสริมการลงทุนในภาคเหนือทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าตัว รวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 100,000 กว่าล้านบาท
“ภายหลังอาเซียนทำข้อตกลงร่วมกับจีน เชื่อว่า จะส่งผลดีโดยรวมต่อประเทศไทย ซึ่งเชื่อว่าในไตรมาสที่ 4 จะเห็นผลอย่างชัดเจน ตอนนั้นจะทำให้ภาคเหนือมีอัตราการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มอีก 1 เท่าตัว อย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามปัญหาการไม่นิ่งทางการเมืองก็ยังน่าเป็นห่วงเล็กน้อย แต่เชื่อว่านายกรัฐมนตรีจะประคับประคองสถานการณ์ให้ผ่านพ้นไปได้ เพราะการเมืองต้องแก้ด้วยการส่งเสริมการลงทุน เพราะนอกจากบีโอไอแล้ว ยังดึง เอสเอ็มอีแบงก์ เข้ามาร่วมปล่อยสินเชื่อด้วย” นายชาญชัย กล่าว
ด้าน นางหิรัญญา สุจินัย ที่ปรึกษาด้านการลงทุนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เปิดเผยว่า ตั้งแต่ต้นปีจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2552 มูลค่าการส่งเสริมการลงทุนของภาคเหนือรวมทั้งสิ้น 7,000 ล้านบาท คิดเป็น 3.2% ของประเทศ ส่วนใหญ่เป็นกิจการด้านเกษตรกรรมและผลผลิตทางการเกษตร อิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ และอุตสาหกรรมเบา ซึ่งตั้งอยู่ในเขตลำพูน เชียงใหม่ และนครสวรรค์
บีโอไอได้ออกมาตรการพิเศษเพื่อเร่งรัดการลงทุนในปี 2552 ใน 6 กลุ่มอุตสาหกรรม ประกอบด้วยกิจการเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน หรือพลังงานทดแทน กิจการที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง กิจการผลิตวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กิจการที่เกี่ยวเนื่องกับเมกะโปรเจกต์ กิจการด้านการท่องเที่ยวเชื่อมโยงภาคอสังหาริมทรัพย์ และกิจการในอุตสาหกรรมทางการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ซึ่งจะได้รับการยกเว้นภาษีและผ่อนปรนกฎระเบียบที่เอื้อต่อการลงทุน
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการเสริมให้กิจการทุกประเภทที่ส่งเสริม หรืออยู่ในระหว่างส่งเสริม หากสามารถจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้จนถึงปี พ.ศ.2555 ซึ่งมีเจ้าของกิจการหลายแห่งทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคให้ความสนใจเข้ามาปรึกษาบีโอไอจำนวนมาก
นางหิรัญญา กล่าวต่ออีกว่า มีกิจการประมาณ 1,000 กว่าแห่ง ทั้งในส่วนกลาง และภูมิภาค ที่ยังไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่หลังจากออกมาตรการนี้ พบว่ามีกิจการหลายแห่งให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งเชื่อว่าภายในปี 2552 นี้ จะมีกิจการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หลายแห่ง
“บีโอไอตั้งเป้าเพิ่มการส่งเสริมการลงทุนอีก 1 เท่าตัวในเขตภาคเหนือ ซึ่งเชื่อว่า จะทำได้ตามเป้า เนื่องจากกิจการหลายแห่งมีศักยภาพอยู่แล้ว รวมทั้งผลักดันให้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพราะจะส่งผลดีโดยตัวต่อกิจการเอง ซึ่งภาคเหนือยังไม่มีกิจการใดที่จดทะเบียน แต่คาดว่า เร็วๆ นี้ จะมีอย่างแน่นอน” นางหิรัญญา กล่าว
วันนี้ (28 ส.ค.) นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงาน “ผลักดันการลงทุน กระตุ้นเศรษฐกิจภาคเหนือ” ที่โรงแรมแชงกรี-ลา จังหวัดเชียงใหม่ ว่า การเดินทางมาจังหวัดเชียงใหม่เพื่อกระตุ้นการส่งเสริมขอรับการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ในเขตภาคเหนือตั้งแต่ 2547 จนถึงปัจจุบัน มีโครงการที่ขอรับการลงทุน 370 โครงการรวมเม็ดเงินลงทุน 62,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ จะเร่งออกมาตรการเพื่อพัฒนาศักยภาพของโครงการเหล่านี้ เนื่องจากภาคเหนือมีศักยภาพที่จะขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจได้อีก รวมทั้งการตกลงการค้าร่วมกับประเทศจีนจำให้ภาคเหนือได้รับอานิสงส์อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าทางการเกษตร ซึ่งคาดว่าในไตรมาสที่ 4 มูลค่ารวมของการขอส่งเสริมการลงทุนในภาคเหนือทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าตัว รวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 100,000 กว่าล้านบาท
“ภายหลังอาเซียนทำข้อตกลงร่วมกับจีน เชื่อว่า จะส่งผลดีโดยรวมต่อประเทศไทย ซึ่งเชื่อว่าในไตรมาสที่ 4 จะเห็นผลอย่างชัดเจน ตอนนั้นจะทำให้ภาคเหนือมีอัตราการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มอีก 1 เท่าตัว อย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามปัญหาการไม่นิ่งทางการเมืองก็ยังน่าเป็นห่วงเล็กน้อย แต่เชื่อว่านายกรัฐมนตรีจะประคับประคองสถานการณ์ให้ผ่านพ้นไปได้ เพราะการเมืองต้องแก้ด้วยการส่งเสริมการลงทุน เพราะนอกจากบีโอไอแล้ว ยังดึง เอสเอ็มอีแบงก์ เข้ามาร่วมปล่อยสินเชื่อด้วย” นายชาญชัย กล่าว
ด้าน นางหิรัญญา สุจินัย ที่ปรึกษาด้านการลงทุนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เปิดเผยว่า ตั้งแต่ต้นปีจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2552 มูลค่าการส่งเสริมการลงทุนของภาคเหนือรวมทั้งสิ้น 7,000 ล้านบาท คิดเป็น 3.2% ของประเทศ ส่วนใหญ่เป็นกิจการด้านเกษตรกรรมและผลผลิตทางการเกษตร อิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ และอุตสาหกรรมเบา ซึ่งตั้งอยู่ในเขตลำพูน เชียงใหม่ และนครสวรรค์
บีโอไอได้ออกมาตรการพิเศษเพื่อเร่งรัดการลงทุนในปี 2552 ใน 6 กลุ่มอุตสาหกรรม ประกอบด้วยกิจการเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน หรือพลังงานทดแทน กิจการที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง กิจการผลิตวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กิจการที่เกี่ยวเนื่องกับเมกะโปรเจกต์ กิจการด้านการท่องเที่ยวเชื่อมโยงภาคอสังหาริมทรัพย์ และกิจการในอุตสาหกรรมทางการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ซึ่งจะได้รับการยกเว้นภาษีและผ่อนปรนกฎระเบียบที่เอื้อต่อการลงทุน
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการเสริมให้กิจการทุกประเภทที่ส่งเสริม หรืออยู่ในระหว่างส่งเสริม หากสามารถจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้จนถึงปี พ.ศ.2555 ซึ่งมีเจ้าของกิจการหลายแห่งทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคให้ความสนใจเข้ามาปรึกษาบีโอไอจำนวนมาก
นางหิรัญญา กล่าวต่ออีกว่า มีกิจการประมาณ 1,000 กว่าแห่ง ทั้งในส่วนกลาง และภูมิภาค ที่ยังไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่หลังจากออกมาตรการนี้ พบว่ามีกิจการหลายแห่งให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งเชื่อว่าภายในปี 2552 นี้ จะมีกิจการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หลายแห่ง
“บีโอไอตั้งเป้าเพิ่มการส่งเสริมการลงทุนอีก 1 เท่าตัวในเขตภาคเหนือ ซึ่งเชื่อว่า จะทำได้ตามเป้า เนื่องจากกิจการหลายแห่งมีศักยภาพอยู่แล้ว รวมทั้งผลักดันให้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพราะจะส่งผลดีโดยตัวต่อกิจการเอง ซึ่งภาคเหนือยังไม่มีกิจการใดที่จดทะเบียน แต่คาดว่า เร็วๆ นี้ จะมีอย่างแน่นอน” นางหิรัญญา กล่าว