พะเยา - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นครวญยรัฐสั่งใช้ฐานงบประมาณปี 2551 ตั้งงบประมาณปี 53 ขณะที่รายได้หดหายมากกว่า 20-30% จนบางแห่งต้องหาช่องกู้เงินมาใช้แล้ว ด้านที่ปรึกษา ส.ท.ท.เตือน อปท.ทั่วไทย ระงับแผนกู้ เชื่อถูก ปชช.ต้านแน่
นายสรยุทธ์ กันตะยา นายกเทศมนตรีตำบล (ทต.) สบบง อ.ภูซาง จ.พะเยา กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลกลางได้มีหนังสือสั่งการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จัดทำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2553 โดยใช้ฐานรายจ่ายงบประมาณ 2551 เป็นหลัก ซึ่งเท่ากับว่าให้ อปท.ตั้งงบฯ ปี 2553 ลดลง ซึ่ง ทต.สบบงจะเหลืองบฯ ที่สามารถตั้งได้ไม่เกิน 40 ล้านบาท ประกอบกับปีงบประมาณ 52 ที่ผ่านมา เงินอุดหนุนและรายได้จากภาษีต่างๆ ให้กับ อปท.หายไปประมาณ 20-30% รวมทั้งเงินอุดหนุน 35% ที่รัฐบาลยังอุดหนุนไม่เต็มจำนวน ยังลดระดับการอุดหนุนเหลือเพียง 20%เศษ เท่านั้น จึงส่งผลให้เงินงบประมาณไม่เพียงพอต่อการบริหารงานของ อปท.
นายก ทต.สบบง กล่าวต่อว่า ล่าสุด ทต.สบบง ได้มีนโยบายจะขอกู้เงินจากสำนักงานส่งเสริมกิจการเทศบาล จำนวน 9.7 ล้านบาท เพื่อดำเนินงาน 4 โครงการ คือ 1.การก่อสร้างท่อระบายน้ำ คสล.และบ่อพัก 2.ก่อสร้างถนน คสล. พร้อมไหล่ทาง 3.การก่อสร้างถนนแอสฟัลท์ติก พร้อมทางเชื่อมทางแยก และ 4.ปรับปรุงโรงฆ่าสัตว์ของเทศบาล ซึ่งหากได้รับอนุมัติให้กู้ ทต.สบบง จะชำระหนี้ดังกล่าวภายในเวลา 15 ปี เฉลี่ยปีละ 700,000 บาท
ด้าน นายสุรพล เต็มสวัสดิ์ ที่ปรึกษาสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย(ส.ท.ท.) กล่าวว่า วันที่ 30-31 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีประชุมสันนิบาตเทศบาลภาคเหนือ ณ อาคารไทรทอง ของบริษัทสยามเซ้าท์ไชน่า โลจิสติกส์ จำกัด หรือห้าเชียงเดิม ตั้งอยู่ที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ในครั้งนั้น เทศบาลทุกแห่งใน 17 จังหวัดภาคเหนือ ได้ร่วมถกปัญหากรณีเงินงบประมาณขาดแคลน และได้นำเสนอเป็นมติของ ส.ท.เหนือ ต่อรัฐบาลเพื่อขอเพิ่มวงเงินงบประมาณอุดหนุนแก่ อปท.ไปแล้ว
ทั้งนี้ ด้วยสภาวะเศรษฐกิจซบเซามาแล้ว 1-2 ปี ส่งผลกระทบต่องบประมาณที่รัฐบาลอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อทป.) ลดลงตามไปด้วย อาจจะทำให้ อปท.บางแห่งคิดหาช่องทางได้งบประมาณเพิ่มเติมให้เพียงพอต่อการนำมาบริหารจัดการในท้องถิ่นของตนเอง เช่น การทำแผนขอกู้เงินจากสถานบันการเงิน โดยส่วนตัวคิดว่าเป็นช่องทางหนึ่งของ อปท.ที่มีศักยภาพด้านการเงินการคลังสามารถดำเนินการได้ ซึ่งการกู้จะต้องมีความจำเป็นเร่งด่วนจริงๆ เท่านั้น
นายก ทต.ดงเจน กล่าวต่อว่า สำหรับตนไม่เคยคิดที่จะกู้เงินมาใช้ในการบริหารของ อปท. เพราะการกู้เงินของ อปท.จะเป็นการสร้างภาระหนี้ผูกพัน หากผู้บริหารไม่มีแผนการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้เงินกู้ที่ได้มาสูญเปล่า ยิ่งกว่านั้นหากการจัดเก็บรายได้ไม่เพียงพอสำหรับการนำมาใช้หนี้คืนสถาบันการเงิน อปท.จะต้องแบกรับภาระหนี้สินจนอาจจะนำไปสู่ประเด็นการเมืองในระดับท้องถิ่นได้
“หากจะมีเพื่อนผู้บริหารท้องถิ่นแห่งใดแห่งหนึ่ง ที่มีแนวความคิดจะกู้เงินจากสถาบันการเงินเพื่อนำมาดำเนินโครงการใดๆ ก็ตาม นอกจากจะได้รับมติเห็นชอบจากสภา อปท.แล้ว ที่สำคัญต้องผ่านความเห็นชอบของประชาคมหมู่บ้านในพื้นที่นั้นๆ ด้วย แต่ในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ผมคิดว่าระดับ อปท.ทั่วไปไม่ใช่ขนาดใหญ่ไม่ควรคิดถึงเรื่องเงินกู้” นายสุรพล กล่าว
นายสรยุทธ์ กันตะยา นายกเทศมนตรีตำบล (ทต.) สบบง อ.ภูซาง จ.พะเยา กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลกลางได้มีหนังสือสั่งการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จัดทำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2553 โดยใช้ฐานรายจ่ายงบประมาณ 2551 เป็นหลัก ซึ่งเท่ากับว่าให้ อปท.ตั้งงบฯ ปี 2553 ลดลง ซึ่ง ทต.สบบงจะเหลืองบฯ ที่สามารถตั้งได้ไม่เกิน 40 ล้านบาท ประกอบกับปีงบประมาณ 52 ที่ผ่านมา เงินอุดหนุนและรายได้จากภาษีต่างๆ ให้กับ อปท.หายไปประมาณ 20-30% รวมทั้งเงินอุดหนุน 35% ที่รัฐบาลยังอุดหนุนไม่เต็มจำนวน ยังลดระดับการอุดหนุนเหลือเพียง 20%เศษ เท่านั้น จึงส่งผลให้เงินงบประมาณไม่เพียงพอต่อการบริหารงานของ อปท.
นายก ทต.สบบง กล่าวต่อว่า ล่าสุด ทต.สบบง ได้มีนโยบายจะขอกู้เงินจากสำนักงานส่งเสริมกิจการเทศบาล จำนวน 9.7 ล้านบาท เพื่อดำเนินงาน 4 โครงการ คือ 1.การก่อสร้างท่อระบายน้ำ คสล.และบ่อพัก 2.ก่อสร้างถนน คสล. พร้อมไหล่ทาง 3.การก่อสร้างถนนแอสฟัลท์ติก พร้อมทางเชื่อมทางแยก และ 4.ปรับปรุงโรงฆ่าสัตว์ของเทศบาล ซึ่งหากได้รับอนุมัติให้กู้ ทต.สบบง จะชำระหนี้ดังกล่าวภายในเวลา 15 ปี เฉลี่ยปีละ 700,000 บาท
ด้าน นายสุรพล เต็มสวัสดิ์ ที่ปรึกษาสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย(ส.ท.ท.) กล่าวว่า วันที่ 30-31 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีประชุมสันนิบาตเทศบาลภาคเหนือ ณ อาคารไทรทอง ของบริษัทสยามเซ้าท์ไชน่า โลจิสติกส์ จำกัด หรือห้าเชียงเดิม ตั้งอยู่ที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ในครั้งนั้น เทศบาลทุกแห่งใน 17 จังหวัดภาคเหนือ ได้ร่วมถกปัญหากรณีเงินงบประมาณขาดแคลน และได้นำเสนอเป็นมติของ ส.ท.เหนือ ต่อรัฐบาลเพื่อขอเพิ่มวงเงินงบประมาณอุดหนุนแก่ อปท.ไปแล้ว
ทั้งนี้ ด้วยสภาวะเศรษฐกิจซบเซามาแล้ว 1-2 ปี ส่งผลกระทบต่องบประมาณที่รัฐบาลอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อทป.) ลดลงตามไปด้วย อาจจะทำให้ อปท.บางแห่งคิดหาช่องทางได้งบประมาณเพิ่มเติมให้เพียงพอต่อการนำมาบริหารจัดการในท้องถิ่นของตนเอง เช่น การทำแผนขอกู้เงินจากสถานบันการเงิน โดยส่วนตัวคิดว่าเป็นช่องทางหนึ่งของ อปท.ที่มีศักยภาพด้านการเงินการคลังสามารถดำเนินการได้ ซึ่งการกู้จะต้องมีความจำเป็นเร่งด่วนจริงๆ เท่านั้น
นายก ทต.ดงเจน กล่าวต่อว่า สำหรับตนไม่เคยคิดที่จะกู้เงินมาใช้ในการบริหารของ อปท. เพราะการกู้เงินของ อปท.จะเป็นการสร้างภาระหนี้ผูกพัน หากผู้บริหารไม่มีแผนการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้เงินกู้ที่ได้มาสูญเปล่า ยิ่งกว่านั้นหากการจัดเก็บรายได้ไม่เพียงพอสำหรับการนำมาใช้หนี้คืนสถาบันการเงิน อปท.จะต้องแบกรับภาระหนี้สินจนอาจจะนำไปสู่ประเด็นการเมืองในระดับท้องถิ่นได้
“หากจะมีเพื่อนผู้บริหารท้องถิ่นแห่งใดแห่งหนึ่ง ที่มีแนวความคิดจะกู้เงินจากสถาบันการเงินเพื่อนำมาดำเนินโครงการใดๆ ก็ตาม นอกจากจะได้รับมติเห็นชอบจากสภา อปท.แล้ว ที่สำคัญต้องผ่านความเห็นชอบของประชาคมหมู่บ้านในพื้นที่นั้นๆ ด้วย แต่ในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ผมคิดว่าระดับ อปท.ทั่วไปไม่ใช่ขนาดใหญ่ไม่ควรคิดถึงเรื่องเงินกู้” นายสุรพล กล่าว