นครพนม - รมช.เกษตรดึงงบ 470 ล้านตั้งโรงงานยางพาราในพื้นที่อีสานนำร่อง 3 จังหวัด นครพนม-อุดรธานี-ศรีสะเกษ
นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยที่นครพนมว่า ผ่านมาตนได้นำคณะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพบปะเกษตรกร และชาวบ้าน ในพื้นที่อีสานหลายจังหวัด เพื่อชี้แจงนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความยากจน ให้แก่เกษตรกร โดยเน้นเรื่องการลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร พร้อมส่งเสริมอาชีพให้กับเกษตรกร รวมถึงการจัดสรรงบประมาณ 8,000 ล้านบาท มาช่วยเหลือแก้ไขปัญหาราคายางให้เกษตรกร ในพื้นที่ภาคอีสาน ผ่านทางสหกรณ์จังหวัด กลุ่มเกษตรกรต่างๆ เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนให้กู้โดยไม่มีดอกเบี้ย
นอกจากนี้ยังได้นำเสนอให้รัฐบาลเข้าใจปัญหาของเกษตรกรปลูกยางพาราในพื้นที่ภาคอสาน ซึ่งเป็นพื้นที่เพาะปลูกใหม่ ในอดีตในพื้นที่นี่ไม่เคยปลูกยาพาราโดยมีความเชื่อว่าปลูกไม่ได้
จนกระทั่งปัจจุบันนี้รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณ จำนวน 470 ล้านบาท เพื่อดำเนินการก่อสร้างโรงงานรับซื้อและแปรรูปยางพาราขนาดใหญ่ จำนวน 3 แห่ง ในพื้นที่ภาคอีสาน คือ จ.อุดรธานี จ.ศรีษะเกษ และ จ.นครพนม เพื่อรองรับการผลิตยางของภาคอีสาน ลดการแข่งขันกดราคาของพ่อค้าภาคเอกชน เนื่องจากอีสานมีพื้นที่ปลูกยางมากขึ้น ป้องกันยางล้นตลาด ซึ่งรัฐบาลต้องมีมาตรการรองรับเพื่อไม่ให้เกษตรกรชาวสวนยางพาราตกเป็นเบี้ยงล่างนายทุนค้ายาง
นายศุภชัย ในฐานะประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาราคายางของประเทศ กล่าวอีกว่าสำหรับมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำเบื้องต้นรัฐบาล รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณ 8,000 ล้าน มาช่วยเหลือเกษตรกร ผ่านทางสหกรณ์จังหวัด กลุ่มวิสาหกิจ กลุ่มเกษตรกร ที่มีความพร้อม กู้แบบไม่มีดอกเบี้ย มาแก้ไขปัญหาเรื่องยาพาราตกต่ำ ในการเป็นทุนจัดซื้อยางมาแปรรูป สต๊อกไว้เก็งราคาขาย ซึ่งต่อไปราคายางจะต้องไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 60 บาท
นอกจากนั้น จะพัฒนาให้อีสานเป็นศูนย์กลางตลาดยางพาราแถบอินโดจีน รองรับตลาดการผลิตยางของเกษตรกรชาวอีสาน ส่งออกต่างประเทศ แข่งขันการรับซื้อของเอกชน ป้องกันการกดราคาของพ่อค้า ซึ่งเริ่มดำเนินการแล้ว โดยอยู่ในช่วงจัดซื้อจัดจ้างหาผู้รับเหมาก่อสร้าง คาดแล้วเสร็จในระยะเวลาประมาณ 6 เดือน ซึ่งจะเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้เกษตรกรมีรายได้ยั่งยืน ที่สำคัญตนขอให้ประชาชนทุกคนสร้างความสามัคคี หันมาร่วมกันแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของบ้านเมือง
นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยที่นครพนมว่า ผ่านมาตนได้นำคณะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพบปะเกษตรกร และชาวบ้าน ในพื้นที่อีสานหลายจังหวัด เพื่อชี้แจงนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความยากจน ให้แก่เกษตรกร โดยเน้นเรื่องการลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร พร้อมส่งเสริมอาชีพให้กับเกษตรกร รวมถึงการจัดสรรงบประมาณ 8,000 ล้านบาท มาช่วยเหลือแก้ไขปัญหาราคายางให้เกษตรกร ในพื้นที่ภาคอีสาน ผ่านทางสหกรณ์จังหวัด กลุ่มเกษตรกรต่างๆ เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนให้กู้โดยไม่มีดอกเบี้ย
นอกจากนี้ยังได้นำเสนอให้รัฐบาลเข้าใจปัญหาของเกษตรกรปลูกยางพาราในพื้นที่ภาคอสาน ซึ่งเป็นพื้นที่เพาะปลูกใหม่ ในอดีตในพื้นที่นี่ไม่เคยปลูกยาพาราโดยมีความเชื่อว่าปลูกไม่ได้
จนกระทั่งปัจจุบันนี้รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณ จำนวน 470 ล้านบาท เพื่อดำเนินการก่อสร้างโรงงานรับซื้อและแปรรูปยางพาราขนาดใหญ่ จำนวน 3 แห่ง ในพื้นที่ภาคอีสาน คือ จ.อุดรธานี จ.ศรีษะเกษ และ จ.นครพนม เพื่อรองรับการผลิตยางของภาคอีสาน ลดการแข่งขันกดราคาของพ่อค้าภาคเอกชน เนื่องจากอีสานมีพื้นที่ปลูกยางมากขึ้น ป้องกันยางล้นตลาด ซึ่งรัฐบาลต้องมีมาตรการรองรับเพื่อไม่ให้เกษตรกรชาวสวนยางพาราตกเป็นเบี้ยงล่างนายทุนค้ายาง
นายศุภชัย ในฐานะประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาราคายางของประเทศ กล่าวอีกว่าสำหรับมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำเบื้องต้นรัฐบาล รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณ 8,000 ล้าน มาช่วยเหลือเกษตรกร ผ่านทางสหกรณ์จังหวัด กลุ่มวิสาหกิจ กลุ่มเกษตรกร ที่มีความพร้อม กู้แบบไม่มีดอกเบี้ย มาแก้ไขปัญหาเรื่องยาพาราตกต่ำ ในการเป็นทุนจัดซื้อยางมาแปรรูป สต๊อกไว้เก็งราคาขาย ซึ่งต่อไปราคายางจะต้องไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 60 บาท
นอกจากนั้น จะพัฒนาให้อีสานเป็นศูนย์กลางตลาดยางพาราแถบอินโดจีน รองรับตลาดการผลิตยางของเกษตรกรชาวอีสาน ส่งออกต่างประเทศ แข่งขันการรับซื้อของเอกชน ป้องกันการกดราคาของพ่อค้า ซึ่งเริ่มดำเนินการแล้ว โดยอยู่ในช่วงจัดซื้อจัดจ้างหาผู้รับเหมาก่อสร้าง คาดแล้วเสร็จในระยะเวลาประมาณ 6 เดือน ซึ่งจะเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้เกษตรกรมีรายได้ยั่งยืน ที่สำคัญตนขอให้ประชาชนทุกคนสร้างความสามัคคี หันมาร่วมกันแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของบ้านเมือง