ตราด-ผอ.ททท.ตราด เปลี่ยนเป้าท่องเที่ยวตราดหันส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ หวังเป็น 4 ชุมชนสู่การท่องเที่ยวระดับชาติ นายกฯน้ำเชี่ยวนำร่อง “กิจกรรม 1 วัน 1 คืน”
นายวรนิติ์ กายราศ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่ประเทศไทย สำนักงานตราด กล่าวว่า ทาง (ททท) สำนักงานตราด ได้มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งในจังหวัดตราดมี 4 แห่ง คือ บ้านห้วยแร้ง ตลาดริมน้ำคลองบางพระ โฮมเสตย์บ้านน้ำเชี่ยว และบ้านสลักคอก โดยได้มีการสานต่อ โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ
ซึ่งมีการนำสื่อมวลชนและผู้นำท้องถิ่นเข้า ไปมีส่วนร่วม มีการเตรียมต้อนรับทัวร์ที่มาท่องเที่ยว และมีการถ่ายภาพ นำไปเสนอขาย เพื่อขยายเครือข่ายชุมชนเชิง อนุรักษ์ธรรมชาติ ส่วนทางด้านการเดินทางมายังชุมชนเชิงอนุรักษ์นี้ ก็เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งของนักท่องเที่ยว ซึ่งจะแตกต่างจากที่อื่น เนื่องจากพื้นที่ในจังหวัดตราดนั้นภูมิอากาศเอื้ออำนวยแก่การมาพักผ่อน ซึ่งจะมีความ แตกต่างจากที่อื่น เช่น การกินข้าวน้ำพริกลงเรือกับกาบหมากแทนโฟม และการนวดแผนไทยเชิงอนุรักษ์ เพื่อผ่อนคลายสำหรับการเดินทางของนักท่องเที่ยว
“ทั้ง 4 ชุมชน มีเอกลักษณ์ในวิถีชุมชนทีมีเอกลักษณ์และสามารถยกระดับให้ก้าวไปสู่แหล่งท่องเที่ยวเชิง นิเวศน์ระดับชาติได้ไม่ยาก เพราะสิ่งที่จะขายได้คือวิถีชีวิตที่แท้จริงของชุมชนไม่ได้สร้างภาพเพียงแต่ส่งเสริมและ สนับสนุนให้ดำรงอยู่เท่านั้น ซึ่ง จ.ตราด ไม่ใช่มีแหล่งท่องเที่ยวที่ล้ำค่าอยู่ใน จ.ตราดด้วย”
ขณะที่นายศักดิ์ชัย เอี่ยมบุญญฤทธิ์ นายกเทศมนตรี เทศบาล ต.น้ำเชี่ยว กล่าวว่า หลังจากที่ชุมชนน้ำเชี่ยว ได้รับรางวัลแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์จาก ททท. ในปี 2550 แล้วได้พัฒนาชุมชนและส่งเสริมประชาชนในพื้นที่ให้สร้าง กิจกรรมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามาเที่ยวชมในบ้านน้ำเชี่ยว โดยเฉพาะภูมิทัศน์ของ ชุมชน
รวมทั้งการสร้างผลิตสินค้าของที่ระลึกชุมชนเพื่อเป็นสินค้าของชุมชนด้วย ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี โดยเฉพาะสินค้าของที่ระลึก เช่น งอบน้ำเชี่ยว ตังเมกรอบ หรือน้ำตาลชัก และสินค้าอื่น ๆ ปรากฏว่าได้รับ ความสนใจมาก ทั้งนี้ ทางเทศบาลก็ได้ยกระดับในเรื่องทีพักและแหล่งท่องเที่ยวให้สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้
“ผมได้จัดกิจกรรมท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยวขึ้นโดยกำหนดกิจกรรม 1 วัน 1 คืน ล่องเรือชมวิถีชีวิตชาวประมง ชมป่าชายเลนน้ำเชี่ยว ชมหอดูนก ชมลิงแสม และฝูงหิ่งห้อย ชมชาวน้ำเชี่ยวสานงอบใบจ่ากที่เป็นสินค้า OTOP ห้าดาว รวมทั้งการทำน้ำตาลชักหรือตังเมกรอบที่เป็นอาชีพดั่งเดิมของชาวน้ำเชี่ยวที่มีศิลปในการผลิตและต้องใช้ ความเชี่ยวชาญของการชักน้ำตาล ซึ่งกิจกรรมนี้จัดท่องเที่ยวใน 1 วัน พร้อมที่พัก 1 คืน (โฮมสเตย์พร้อมอาหาร 3 มื้อ งอบใบจาก 1 ใบ เสื้อยืดโกงกาง 1 ตัว) ซึ่งชาวบ้านจะได้ประโยชน์จากกิจกรรมนี้มาก”
นายวรนิติ์ กายราศ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่ประเทศไทย สำนักงานตราด กล่าวว่า ทาง (ททท) สำนักงานตราด ได้มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งในจังหวัดตราดมี 4 แห่ง คือ บ้านห้วยแร้ง ตลาดริมน้ำคลองบางพระ โฮมเสตย์บ้านน้ำเชี่ยว และบ้านสลักคอก โดยได้มีการสานต่อ โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ
ซึ่งมีการนำสื่อมวลชนและผู้นำท้องถิ่นเข้า ไปมีส่วนร่วม มีการเตรียมต้อนรับทัวร์ที่มาท่องเที่ยว และมีการถ่ายภาพ นำไปเสนอขาย เพื่อขยายเครือข่ายชุมชนเชิง อนุรักษ์ธรรมชาติ ส่วนทางด้านการเดินทางมายังชุมชนเชิงอนุรักษ์นี้ ก็เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งของนักท่องเที่ยว ซึ่งจะแตกต่างจากที่อื่น เนื่องจากพื้นที่ในจังหวัดตราดนั้นภูมิอากาศเอื้ออำนวยแก่การมาพักผ่อน ซึ่งจะมีความ แตกต่างจากที่อื่น เช่น การกินข้าวน้ำพริกลงเรือกับกาบหมากแทนโฟม และการนวดแผนไทยเชิงอนุรักษ์ เพื่อผ่อนคลายสำหรับการเดินทางของนักท่องเที่ยว
“ทั้ง 4 ชุมชน มีเอกลักษณ์ในวิถีชุมชนทีมีเอกลักษณ์และสามารถยกระดับให้ก้าวไปสู่แหล่งท่องเที่ยวเชิง นิเวศน์ระดับชาติได้ไม่ยาก เพราะสิ่งที่จะขายได้คือวิถีชีวิตที่แท้จริงของชุมชนไม่ได้สร้างภาพเพียงแต่ส่งเสริมและ สนับสนุนให้ดำรงอยู่เท่านั้น ซึ่ง จ.ตราด ไม่ใช่มีแหล่งท่องเที่ยวที่ล้ำค่าอยู่ใน จ.ตราดด้วย”
ขณะที่นายศักดิ์ชัย เอี่ยมบุญญฤทธิ์ นายกเทศมนตรี เทศบาล ต.น้ำเชี่ยว กล่าวว่า หลังจากที่ชุมชนน้ำเชี่ยว ได้รับรางวัลแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์จาก ททท. ในปี 2550 แล้วได้พัฒนาชุมชนและส่งเสริมประชาชนในพื้นที่ให้สร้าง กิจกรรมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามาเที่ยวชมในบ้านน้ำเชี่ยว โดยเฉพาะภูมิทัศน์ของ ชุมชน
รวมทั้งการสร้างผลิตสินค้าของที่ระลึกชุมชนเพื่อเป็นสินค้าของชุมชนด้วย ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี โดยเฉพาะสินค้าของที่ระลึก เช่น งอบน้ำเชี่ยว ตังเมกรอบ หรือน้ำตาลชัก และสินค้าอื่น ๆ ปรากฏว่าได้รับ ความสนใจมาก ทั้งนี้ ทางเทศบาลก็ได้ยกระดับในเรื่องทีพักและแหล่งท่องเที่ยวให้สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้
“ผมได้จัดกิจกรรมท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยวขึ้นโดยกำหนดกิจกรรม 1 วัน 1 คืน ล่องเรือชมวิถีชีวิตชาวประมง ชมป่าชายเลนน้ำเชี่ยว ชมหอดูนก ชมลิงแสม และฝูงหิ่งห้อย ชมชาวน้ำเชี่ยวสานงอบใบจ่ากที่เป็นสินค้า OTOP ห้าดาว รวมทั้งการทำน้ำตาลชักหรือตังเมกรอบที่เป็นอาชีพดั่งเดิมของชาวน้ำเชี่ยวที่มีศิลปในการผลิตและต้องใช้ ความเชี่ยวชาญของการชักน้ำตาล ซึ่งกิจกรรมนี้จัดท่องเที่ยวใน 1 วัน พร้อมที่พัก 1 คืน (โฮมสเตย์พร้อมอาหาร 3 มื้อ งอบใบจาก 1 ใบ เสื้อยืดโกงกาง 1 ตัว) ซึ่งชาวบ้านจะได้ประโยชน์จากกิจกรรมนี้มาก”