ตาก- พ.ท.เนโซ เมียะ ลูกชายนายพลโบเมียะ นำทหารในสังกัดเข้าร่วมพัฒนากับ SPDC
แหล่งข่าวจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงซึ่งเป็นคณะกรรมการกลางสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงอิสระ KNU กล่าว ณ ฐานที่มั่นแห่งหนึ่งชายแดนไทย-พม่า ตรงข้าม อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ว่า พ.ท.เนโซ เมียะ 1 ในลูกชายคนหนึ่งของนายพลโบเมียะ อดีตประธานาธิบดี KNU และผู้นำสูงสุดของกะเหรี่ยงที่เสียชีวิตไปแล้ว ได้กำลังทหารในสังกัดกว่า 70 นาย พร้อมอาวุธครบมือ และครอบครัวของเหล่าทหารอีกกว่า 90 คน รวมเกือบ 200 คน เดินทางเข้าร่วมกับรัฐบาลทหารพม่า หรือ SPDC สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ โดยมีนายทหาร-ผู้นำฝ่ายปกครองและฝ่ายพลเรือนและประชาชนพม่าให้การต้อนรับกลุ่มของ พ.ท.เนโซ เมียะ โดยทหารพม่าอนุญาตให้ครอบครองอาวุธได้เหมือนเดิม
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้กองกำลังของ พ.ท.เนโซ เมียะ บุตรชายนายพลโบเมียะ ได้เข้าร่วมกับกองกำลัง KNU/KNLA Peace Council นำโดยนายพลทิ่นหม่อง อดีตผู้บัญชาการกองพล 7 เคเอ็นยู.ซึ่งเป็นคู่เขยในฐานะญาติสนิทของนายพลโบเมียะ ที่ได้แยกตัวออกจากเคเอ็นยู.ไปเข้าร่วมกับกองทัพพม่าเมื่อปี 2550 ก่อนหน้านี้ พ.ท.เนโซ เมียะ เคยเดินทางเข้าพบกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลพม่าที่กรุงเนย์ปีดอว์ เมื่อปลายปี 2551 ประมาณ 2-3 ครั้ง และครั้งล่าสุดได้เข้าพบ 1 ในผู้นำระดับสูงในสภา SPDC ของพม่า เมื่อเดือนมีนาคม 2552 ที่ผ่านมา
นายเดวิด ทรอ คณะกรรมการระดับสูงของกองกำลังกะเหรี่ยงเคเอ็นยู กล่าวว่า การเข้าร่วมพัฒนาชาติกับรัฐบาลพม่าของ พ.ท.เนโซ เมียะ ไม่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการกลาง KNU และไม่ได้รับความเห็นชอบจากนายพลตามาราบอ ประธานาธิบดี KNU เป็นการไปร่วมกับพม่าส่วนตัวของ พ.ท.เนโซ เมียะ เพียงกลุ่มเดียว
แหล่งข่าวจากเจ้าหน้าที่ระดับสูง KNU กล่าวว่า ตั้งแต่ พ.ท.เนโซเมียะ เข้าร่วมกับกองทัพพม่า พบว่ากองกำลังทหารพม่าและกะเหรี่ยงพุทธดีเคบีเอ.ได้เข้ามาควบคุมในเขตควบคุมของเคเอ็นยู.ตามชายแดนไทย-พม่า ด้าน อ.พบพระ จ.ตาก ในทันที ตั้งแต่ 3-4 วันก่อน โดยทหารพม่าและกองกำลังดีเคบีเอ จำนวน 1-2 กองร้อย พร้อมอาวุธปืนหนักและปืนประจำกายครบมือได้เข้าโจมตีในเขตควบคุมของกองพันที่ 201 ของกองกำลัง KNU
อย่างไรก็ตาม การทำสัญญาหยุดยิงร่วมกับรัฐบาลพม่าของกลุ่มที่แยกตัวออกจากเคเอ็นยูที่ผ่านมาแตกต่างจากกลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยกลุ่มอื่น เพราะกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับเคเอ็นยูมักจะแยกตัวออกเป็นกลุ่มเล็กๆ ก่อนที่จะเข้าร่วมกับกองทัพพม่า เหมือนเหตุการณ์ในอดีตที่ทหารเคเอ็นยูที่นับถือศาสนาพุทธแยกตัวออกจากทหารเคเอ็นยู ที่นับถือศาสนาคริสต์เมื่อปี 2537 ก่อนจะจัดตั้งเป็นกองกำลังโดยใช้ชื่อใหม่ว่า กองกำลังกะเหรี่ยงพุทธ หรือ ดีเคบีเอที่เข้าร่วมกับกองทัพพม่าและหันมาสู้รบกับกองกำลังกะเหรี่ยงเคเอ็นยู
รายงานข่าวแจ้งว่า การแยกตัวของดีเคบีเอ เป็นเหตุให้ฐานบัญชาการที่เข้มแข็งของเคเอ็นยูในมาเนอปลอว์ รัฐกะเหรี่ยง ถูกโจมตีย่อยยับ นับเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่เลวร้ายของเคเอ็นยู โดยนับตั้งแต่ปี 2538-2549 มีกลุ่มที่แยกตัวจากเคเอ็นยู และวางอาวุธและเข้าร่วมกับรัฐบาลทหารพม่าไปแล้ว 3-4 กลุ่ม คือ กลุ่มนายปาโด้อ่องซาน อดีตรัฐมนตรีป่าไม้ กลุ่มนายพลทิ่นหม่อง อดีต ผบ.พล 7 กลุ่ม พ.อ.ตามือแฮ อดีต ผบ.พันรบพิเศษ ค่ายอาซีน เขต ตรงข้าม อ.อุ้มผาง จ.ตาก และล่าสุดกลุ่ม พ.ท.เนโซ เมียะ ลูกชายนายพลโบเมียะ
อย่างไรก็ตาม สำหรับ พล.ต.เนอดา เมียะ บุตรชายอีกคนหนึ่งของนายพลโบเมียะ ที่มีบทบาทสำคัญทางการทหารและการทูต และคุมกำลังหลักของ กองทัพ KNU ดูแลกองบัญชาการใหญ่และงานด้านการต่างประเทศ ประกาศชัดเจนไม่ร่วมกับพม่าและไม่มีการเจรจา โดยยืนในเงื่อนไขเดิมหากกะเหรี่ยงจะเจรจาพม่า ต้องมีอิสระ-ไม่วางอาวุธ-ปกครองตนเองภายใต้กฎหมายแห่งรัฐกะเหรี่ยง
แหล่งข่าวจากทหารพม่าที่ประจำการชายแดนไทย-พม่า จังหวัดเมียวดี กล่าวที่ชายแดนว่านายพลติ่นอ่องมิ้นอู แม่ทัพคนหนึ่งของกองทัพพม่า ได้ร่วมประชุมกับกับนายพลทิ่นหม่อง ผู้นำกลุ่ม กะเหรี่ยง KNU/KNLA Peace Council โดยรัฐบาลพม่าเปิดประตูต้อนรับกลุ่มติดอาวุธอื่นที่ต้องการทำสัญญาหยุดยิงเสมอ อย่างไรก็ตาม ในอดีตเคเอ็นยูได้ร่วมเจรจากับทางรัฐบาลพม่าหลายครั้ง แต่ก็ต้องล้มเหลว โดยผู้นำเคเอ็นยูให้เหตุผลว่า เป็นเพราะรัฐบาลพม่าไม่ได้มีความจริงใจที่จะร่วมเจรจา
ทั้งนี้ กองกำลังเคเอ็นยู ถือเป็นกลุ่มติดอาวุธสำคัญที่ให้การสนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยตามชายแดนไทย-พม่ามาโดยตลอด นอกจากนี้ เคเอ็นยูยังมีบทบาทที่สำคัญและดำรงตำแหน่งเป็นประธานของกลุ่มพันธมิตรประชาธิปไตยพม่า (Democratic Alliance of Burma) และสภาแห่งชาติของสหภาพพม่า (National Council of the Union of Burma - NCUB) และรัฐบาลพม่าต้องการให้กลุ่มกองกำลังติดอาวุธ เคเอ็นยู เคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยตามชายแดนไทย-พม่าลดน้อยลง เพื่อไม่ให้สร้างปัญหากับรัฐบาลพม่าที่กำลังเตรียมจัดการเลือกตั้งใหญ่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในเดือนพฤษภาคม 2553
แหล่งข่าวจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงซึ่งเป็นคณะกรรมการกลางสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงอิสระ KNU กล่าว ณ ฐานที่มั่นแห่งหนึ่งชายแดนไทย-พม่า ตรงข้าม อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ว่า พ.ท.เนโซ เมียะ 1 ในลูกชายคนหนึ่งของนายพลโบเมียะ อดีตประธานาธิบดี KNU และผู้นำสูงสุดของกะเหรี่ยงที่เสียชีวิตไปแล้ว ได้กำลังทหารในสังกัดกว่า 70 นาย พร้อมอาวุธครบมือ และครอบครัวของเหล่าทหารอีกกว่า 90 คน รวมเกือบ 200 คน เดินทางเข้าร่วมกับรัฐบาลทหารพม่า หรือ SPDC สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ โดยมีนายทหาร-ผู้นำฝ่ายปกครองและฝ่ายพลเรือนและประชาชนพม่าให้การต้อนรับกลุ่มของ พ.ท.เนโซ เมียะ โดยทหารพม่าอนุญาตให้ครอบครองอาวุธได้เหมือนเดิม
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้กองกำลังของ พ.ท.เนโซ เมียะ บุตรชายนายพลโบเมียะ ได้เข้าร่วมกับกองกำลัง KNU/KNLA Peace Council นำโดยนายพลทิ่นหม่อง อดีตผู้บัญชาการกองพล 7 เคเอ็นยู.ซึ่งเป็นคู่เขยในฐานะญาติสนิทของนายพลโบเมียะ ที่ได้แยกตัวออกจากเคเอ็นยู.ไปเข้าร่วมกับกองทัพพม่าเมื่อปี 2550 ก่อนหน้านี้ พ.ท.เนโซ เมียะ เคยเดินทางเข้าพบกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลพม่าที่กรุงเนย์ปีดอว์ เมื่อปลายปี 2551 ประมาณ 2-3 ครั้ง และครั้งล่าสุดได้เข้าพบ 1 ในผู้นำระดับสูงในสภา SPDC ของพม่า เมื่อเดือนมีนาคม 2552 ที่ผ่านมา
นายเดวิด ทรอ คณะกรรมการระดับสูงของกองกำลังกะเหรี่ยงเคเอ็นยู กล่าวว่า การเข้าร่วมพัฒนาชาติกับรัฐบาลพม่าของ พ.ท.เนโซ เมียะ ไม่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการกลาง KNU และไม่ได้รับความเห็นชอบจากนายพลตามาราบอ ประธานาธิบดี KNU เป็นการไปร่วมกับพม่าส่วนตัวของ พ.ท.เนโซ เมียะ เพียงกลุ่มเดียว
แหล่งข่าวจากเจ้าหน้าที่ระดับสูง KNU กล่าวว่า ตั้งแต่ พ.ท.เนโซเมียะ เข้าร่วมกับกองทัพพม่า พบว่ากองกำลังทหารพม่าและกะเหรี่ยงพุทธดีเคบีเอ.ได้เข้ามาควบคุมในเขตควบคุมของเคเอ็นยู.ตามชายแดนไทย-พม่า ด้าน อ.พบพระ จ.ตาก ในทันที ตั้งแต่ 3-4 วันก่อน โดยทหารพม่าและกองกำลังดีเคบีเอ จำนวน 1-2 กองร้อย พร้อมอาวุธปืนหนักและปืนประจำกายครบมือได้เข้าโจมตีในเขตควบคุมของกองพันที่ 201 ของกองกำลัง KNU
อย่างไรก็ตาม การทำสัญญาหยุดยิงร่วมกับรัฐบาลพม่าของกลุ่มที่แยกตัวออกจากเคเอ็นยูที่ผ่านมาแตกต่างจากกลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยกลุ่มอื่น เพราะกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับเคเอ็นยูมักจะแยกตัวออกเป็นกลุ่มเล็กๆ ก่อนที่จะเข้าร่วมกับกองทัพพม่า เหมือนเหตุการณ์ในอดีตที่ทหารเคเอ็นยูที่นับถือศาสนาพุทธแยกตัวออกจากทหารเคเอ็นยู ที่นับถือศาสนาคริสต์เมื่อปี 2537 ก่อนจะจัดตั้งเป็นกองกำลังโดยใช้ชื่อใหม่ว่า กองกำลังกะเหรี่ยงพุทธ หรือ ดีเคบีเอที่เข้าร่วมกับกองทัพพม่าและหันมาสู้รบกับกองกำลังกะเหรี่ยงเคเอ็นยู
รายงานข่าวแจ้งว่า การแยกตัวของดีเคบีเอ เป็นเหตุให้ฐานบัญชาการที่เข้มแข็งของเคเอ็นยูในมาเนอปลอว์ รัฐกะเหรี่ยง ถูกโจมตีย่อยยับ นับเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่เลวร้ายของเคเอ็นยู โดยนับตั้งแต่ปี 2538-2549 มีกลุ่มที่แยกตัวจากเคเอ็นยู และวางอาวุธและเข้าร่วมกับรัฐบาลทหารพม่าไปแล้ว 3-4 กลุ่ม คือ กลุ่มนายปาโด้อ่องซาน อดีตรัฐมนตรีป่าไม้ กลุ่มนายพลทิ่นหม่อง อดีต ผบ.พล 7 กลุ่ม พ.อ.ตามือแฮ อดีต ผบ.พันรบพิเศษ ค่ายอาซีน เขต ตรงข้าม อ.อุ้มผาง จ.ตาก และล่าสุดกลุ่ม พ.ท.เนโซ เมียะ ลูกชายนายพลโบเมียะ
อย่างไรก็ตาม สำหรับ พล.ต.เนอดา เมียะ บุตรชายอีกคนหนึ่งของนายพลโบเมียะ ที่มีบทบาทสำคัญทางการทหารและการทูต และคุมกำลังหลักของ กองทัพ KNU ดูแลกองบัญชาการใหญ่และงานด้านการต่างประเทศ ประกาศชัดเจนไม่ร่วมกับพม่าและไม่มีการเจรจา โดยยืนในเงื่อนไขเดิมหากกะเหรี่ยงจะเจรจาพม่า ต้องมีอิสระ-ไม่วางอาวุธ-ปกครองตนเองภายใต้กฎหมายแห่งรัฐกะเหรี่ยง
แหล่งข่าวจากทหารพม่าที่ประจำการชายแดนไทย-พม่า จังหวัดเมียวดี กล่าวที่ชายแดนว่านายพลติ่นอ่องมิ้นอู แม่ทัพคนหนึ่งของกองทัพพม่า ได้ร่วมประชุมกับกับนายพลทิ่นหม่อง ผู้นำกลุ่ม กะเหรี่ยง KNU/KNLA Peace Council โดยรัฐบาลพม่าเปิดประตูต้อนรับกลุ่มติดอาวุธอื่นที่ต้องการทำสัญญาหยุดยิงเสมอ อย่างไรก็ตาม ในอดีตเคเอ็นยูได้ร่วมเจรจากับทางรัฐบาลพม่าหลายครั้ง แต่ก็ต้องล้มเหลว โดยผู้นำเคเอ็นยูให้เหตุผลว่า เป็นเพราะรัฐบาลพม่าไม่ได้มีความจริงใจที่จะร่วมเจรจา
ทั้งนี้ กองกำลังเคเอ็นยู ถือเป็นกลุ่มติดอาวุธสำคัญที่ให้การสนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยตามชายแดนไทย-พม่ามาโดยตลอด นอกจากนี้ เคเอ็นยูยังมีบทบาทที่สำคัญและดำรงตำแหน่งเป็นประธานของกลุ่มพันธมิตรประชาธิปไตยพม่า (Democratic Alliance of Burma) และสภาแห่งชาติของสหภาพพม่า (National Council of the Union of Burma - NCUB) และรัฐบาลพม่าต้องการให้กลุ่มกองกำลังติดอาวุธ เคเอ็นยู เคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยตามชายแดนไทย-พม่าลดน้อยลง เพื่อไม่ให้สร้างปัญหากับรัฐบาลพม่าที่กำลังเตรียมจัดการเลือกตั้งใหญ่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในเดือนพฤษภาคม 2553