พิจิตร-เชียงราย- ชาวนา 2 จังหวัดภาคเหนือเดือดร้อนหนักหลังพากันปลูกข้าวนาปรังทั้ง ที่มีการเตือนถึงภาวะแห้งแล้งอย่างหนัก น้ำจะไม่พอในการเกษตรกรรม ท้ายสุดดันทุลังปลูกจนต้องพากันแห่เข้าขอความช่วยเหลือจากชลประทานขอน้ำไปหล่อเลี้ยง ด้านจ.พิจิตรออกโรงเตือนอีกรอบหากฝืนทำต่อจะไม่ให้ความช่วยเหลือ
รายงานข่าวจาก จ.เชียงรายว่าวันนี้ (27 ก.พ.) ได้มีกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรังจากพื้นที่ ต.สันมะเค็ด ต.แม่อ้อ และ ต.สันติสุข อ.พาน จำนวนประมาณ 200 คน พากันเดินทางไปพบนายณรงค์ อินทโชติ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงราย ได้นำเจ้าหน้าที่จากโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ลาวและเขื่อนแม่สรวย ไปรับฟังปัญหาจากชาวบ้าน
นายจิรายุ เผ่ากา สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงราย ในฐานะตัวแทนชาวบ้าน กล่าวว่าปัจจุบันชาวบ้าน 3 ตำบลรวมกันจำนวนกว่า 33 หมู่บ้าน กำลังเดือดร้อนอย่างหนักเนื่องจากมีการปลูกข้าวนาปรังรวมกันกว่า 20,000 ไร่ และในจำนวนดังกล่าวมีอยู่ประมาณ 7,000 ไร่กำลังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพราะส่วนใหญ่อาศัยน้ำจากแม่น้ำแม่คาว แต่สภาพปัจจุบันพบว่าลำน้ำแม่คาวเหือดแห้งไปหมด จึงอยากให้ทางชลประทานจังหวัดได้ช่วยจัดแบ่งหรือสรรน้ำจากคลองชลประทานซึ่งส่งจากแม่น้ำแม่สรวยไปยัง อ.พาน และ อ.แม่ใจ จ.พะเยา ให้ด้วย
ด้านนายบุญสอง พรมตัน อายุ 50 ปีแกนนำชาวนาอีกคน กล่าวว่าตนปลูกข้าวนาปรังจำนวน 30 ไร่ ลงทุนไปแล้วประมาณ 30,000 บาท แต่ปรากฎว่าปัจจุบันน้ำในลำน้ำแม่คาวเหือดแห้งทำให้ไม่เหลือทดใส่นาข้าว ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ไม่เกิน 1 สัปดาห์ต้นข้าวคงจะตายดังนั้นขอให้มีการทดน้ำจากบริเวณจุดน้ำทิ้งของคลองชลประทาน ตามโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ลาวบริเวณ ต.ดงมะดะ อ.แม่ลาว ก็จะช่วยทำให้น้ำดังกล่าวไหลลงสู่แม่น้ำแม่คาวทำให้นาปรังของชาว 3 ตำบลได้กลับมามีทางรอดอีกครั้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายณรงค์ได้นำคณะเจ้าหน้าที่ชี้แจงว่า ปัจจุบันมีน้ำในเขื่อนแม่สรวยหลงเหลืออยู่ประมาณ 66.8440 ล้านลูกบาศก์เมตร และได้ทดออกมาลงสู่แม่น้ำแม่สรวยวินาทีละ 60 ลูกบาศก์เมตร และน้ำทั้งหมดจะลงสู่โครงน้ำและบำรุงรักษาแม่ลาว เพื่อช่วยเหลือพื้นที่ทางการเกษตรประมาณ 140,000 ไร่ แต่ก็ประสบปัญหาเรื่องมีการปลูกเกินกว่าจำนวนที่ตกลงกันเอาไว้ทำให้ต้องบริหารน้ำกันอย่างหนักอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม เมื่อชาวบ้านมาร้องขอก็จะพิจารณาเพิ่มปริมาณน้ำจากเขื่อนลงมาอีกเล็กน้อย จากนั้นจะเปิดประตูน้ำซึ่งเดิมเป็นจุดทิ้งน้ำเสียหรือน้ำล้นที่ ต.ดงมะดะ ดังกล่าว เพื่อให้ชาวบ้านทั้ง 3 ตำบลซึ่งแม้ว่าจะอยู่นอกเขตการให้บริการของโครงการชลประทานได้รับการช่วยเหลือในวันเดียวกัน ทำให้ชาวบ้านพอใจและแยกย้ายกันกลับไปดูแลนาปรังเหมือนเดิม
นายณรงค์ กล่าวว่าระยะสั้นคงจะช่วยเหลือเรื่องการเปิดประตูน้ำดังกล่าว แต่ในระยะยาวได้สั่งการให้หน่วยงานในพื้นที่ได้พิจารณาเพิ่มหรือปรับระบบการส่งน้ำเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรอย่างทั่วถึงโดยเฉพาะฤดูแล้ง รวมทั้งทำการขุดลอกแม่น้ำแม่คาวซึ่งตื้นเขินด้วย กระนั้นก็ขอเตือนชาวบ้านว่าควรศึกษาเพื่อปลูกพืชชนิดอื่นในฤดูแล้งเพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาวะฤดูในช่วงนั้นๆ ด้วย เนื่องจากไม่เช่นนั้นก็จะประสบปัญหาเช่นนี้ตลอดปี.
ผู้ว่าฯพิจิตรเตือนงดปลูกข้าวนาปรังชั่วคราว
นายสมชัย หทยะตันติ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตรเรียกประชุมหัวหน้าส่วนราชการและผู้นำปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อประชุมวางมาตรการการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง จัดหาน้ำด้านการเกษตรและเรื่องน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ตลอดจนช่วยเหลือด้านจัดหาอาชีพเสริมให้เกษตรกรผู้ประสบภัยแล้ง
จังหวัดพิจิตรมีพื้นที่ประสบภัยแล้งทั้งหมดรวม 12 อำเภอ47ตำบล 446 หมู่บ้าน มีราษฏรเดือดร้อนทั้งหมด 15,471 ครัวเรือน 67,597 คน ภาคราชการออกแจกจ่ายน้ำกินน้ำใช้ให้ราษฏรในพื้นที่ประสบภัยแล้วจำนวน 1,398,000 ลิตร สำหรับพืชไร่ที่เสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ
นอกจากนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ได้แจ้งเตือนเกษตรกรผ่านไปยังหัวหน้าส่วนราชการและผู้นำการปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกอบต.ให้เร่งประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนชาวนาที่คิดจะทำนาปรังรอบ 2 หลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้วเสร็จราวเดือนมีนาคม ว่าให้ชะลอหรือหยุดการทำนาปรังรอบสองที่จะต้องทำในช่วง เดือน มี.ค. – เม.ย – พ.ค. ขอให้หยุดการทำนาปรังไว้ก่อน
ทั้งนี้ เนื่องจากมีข้อมูลจากนักวิชาการชลประทานว่า น้ำเหนือเขื่อนมีจำนวนจำกัดและมีไม่เพียงพอในการทำนาปรังรอบสองอย่างแน่นอน อีกทั้งขอร้องชาวนาที่ทำนาปรังในเขตพื้นที่ชลประทาน ขอร้องห้ามเพิ่มพื้นที่ทำนาปรัง เพราะภัยแล้งคราวนี้ชาวนาอาจได้รับความเสียหายได้โดยคาดว่าฤดูแล้งนี้จะยาวนานกว่าทุกปี
รายงานข่าวจาก จ.เชียงรายว่าวันนี้ (27 ก.พ.) ได้มีกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรังจากพื้นที่ ต.สันมะเค็ด ต.แม่อ้อ และ ต.สันติสุข อ.พาน จำนวนประมาณ 200 คน พากันเดินทางไปพบนายณรงค์ อินทโชติ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงราย ได้นำเจ้าหน้าที่จากโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ลาวและเขื่อนแม่สรวย ไปรับฟังปัญหาจากชาวบ้าน
นายจิรายุ เผ่ากา สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงราย ในฐานะตัวแทนชาวบ้าน กล่าวว่าปัจจุบันชาวบ้าน 3 ตำบลรวมกันจำนวนกว่า 33 หมู่บ้าน กำลังเดือดร้อนอย่างหนักเนื่องจากมีการปลูกข้าวนาปรังรวมกันกว่า 20,000 ไร่ และในจำนวนดังกล่าวมีอยู่ประมาณ 7,000 ไร่กำลังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพราะส่วนใหญ่อาศัยน้ำจากแม่น้ำแม่คาว แต่สภาพปัจจุบันพบว่าลำน้ำแม่คาวเหือดแห้งไปหมด จึงอยากให้ทางชลประทานจังหวัดได้ช่วยจัดแบ่งหรือสรรน้ำจากคลองชลประทานซึ่งส่งจากแม่น้ำแม่สรวยไปยัง อ.พาน และ อ.แม่ใจ จ.พะเยา ให้ด้วย
ด้านนายบุญสอง พรมตัน อายุ 50 ปีแกนนำชาวนาอีกคน กล่าวว่าตนปลูกข้าวนาปรังจำนวน 30 ไร่ ลงทุนไปแล้วประมาณ 30,000 บาท แต่ปรากฎว่าปัจจุบันน้ำในลำน้ำแม่คาวเหือดแห้งทำให้ไม่เหลือทดใส่นาข้าว ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ไม่เกิน 1 สัปดาห์ต้นข้าวคงจะตายดังนั้นขอให้มีการทดน้ำจากบริเวณจุดน้ำทิ้งของคลองชลประทาน ตามโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ลาวบริเวณ ต.ดงมะดะ อ.แม่ลาว ก็จะช่วยทำให้น้ำดังกล่าวไหลลงสู่แม่น้ำแม่คาวทำให้นาปรังของชาว 3 ตำบลได้กลับมามีทางรอดอีกครั้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายณรงค์ได้นำคณะเจ้าหน้าที่ชี้แจงว่า ปัจจุบันมีน้ำในเขื่อนแม่สรวยหลงเหลืออยู่ประมาณ 66.8440 ล้านลูกบาศก์เมตร และได้ทดออกมาลงสู่แม่น้ำแม่สรวยวินาทีละ 60 ลูกบาศก์เมตร และน้ำทั้งหมดจะลงสู่โครงน้ำและบำรุงรักษาแม่ลาว เพื่อช่วยเหลือพื้นที่ทางการเกษตรประมาณ 140,000 ไร่ แต่ก็ประสบปัญหาเรื่องมีการปลูกเกินกว่าจำนวนที่ตกลงกันเอาไว้ทำให้ต้องบริหารน้ำกันอย่างหนักอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม เมื่อชาวบ้านมาร้องขอก็จะพิจารณาเพิ่มปริมาณน้ำจากเขื่อนลงมาอีกเล็กน้อย จากนั้นจะเปิดประตูน้ำซึ่งเดิมเป็นจุดทิ้งน้ำเสียหรือน้ำล้นที่ ต.ดงมะดะ ดังกล่าว เพื่อให้ชาวบ้านทั้ง 3 ตำบลซึ่งแม้ว่าจะอยู่นอกเขตการให้บริการของโครงการชลประทานได้รับการช่วยเหลือในวันเดียวกัน ทำให้ชาวบ้านพอใจและแยกย้ายกันกลับไปดูแลนาปรังเหมือนเดิม
นายณรงค์ กล่าวว่าระยะสั้นคงจะช่วยเหลือเรื่องการเปิดประตูน้ำดังกล่าว แต่ในระยะยาวได้สั่งการให้หน่วยงานในพื้นที่ได้พิจารณาเพิ่มหรือปรับระบบการส่งน้ำเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรอย่างทั่วถึงโดยเฉพาะฤดูแล้ง รวมทั้งทำการขุดลอกแม่น้ำแม่คาวซึ่งตื้นเขินด้วย กระนั้นก็ขอเตือนชาวบ้านว่าควรศึกษาเพื่อปลูกพืชชนิดอื่นในฤดูแล้งเพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาวะฤดูในช่วงนั้นๆ ด้วย เนื่องจากไม่เช่นนั้นก็จะประสบปัญหาเช่นนี้ตลอดปี.
ผู้ว่าฯพิจิตรเตือนงดปลูกข้าวนาปรังชั่วคราว
นายสมชัย หทยะตันติ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตรเรียกประชุมหัวหน้าส่วนราชการและผู้นำปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อประชุมวางมาตรการการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง จัดหาน้ำด้านการเกษตรและเรื่องน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ตลอดจนช่วยเหลือด้านจัดหาอาชีพเสริมให้เกษตรกรผู้ประสบภัยแล้ง
จังหวัดพิจิตรมีพื้นที่ประสบภัยแล้งทั้งหมดรวม 12 อำเภอ47ตำบล 446 หมู่บ้าน มีราษฏรเดือดร้อนทั้งหมด 15,471 ครัวเรือน 67,597 คน ภาคราชการออกแจกจ่ายน้ำกินน้ำใช้ให้ราษฏรในพื้นที่ประสบภัยแล้วจำนวน 1,398,000 ลิตร สำหรับพืชไร่ที่เสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ
นอกจากนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ได้แจ้งเตือนเกษตรกรผ่านไปยังหัวหน้าส่วนราชการและผู้นำการปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกอบต.ให้เร่งประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนชาวนาที่คิดจะทำนาปรังรอบ 2 หลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้วเสร็จราวเดือนมีนาคม ว่าให้ชะลอหรือหยุดการทำนาปรังรอบสองที่จะต้องทำในช่วง เดือน มี.ค. – เม.ย – พ.ค. ขอให้หยุดการทำนาปรังไว้ก่อน
ทั้งนี้ เนื่องจากมีข้อมูลจากนักวิชาการชลประทานว่า น้ำเหนือเขื่อนมีจำนวนจำกัดและมีไม่เพียงพอในการทำนาปรังรอบสองอย่างแน่นอน อีกทั้งขอร้องชาวนาที่ทำนาปรังในเขตพื้นที่ชลประทาน ขอร้องห้ามเพิ่มพื้นที่ทำนาปรัง เพราะภัยแล้งคราวนี้ชาวนาอาจได้รับความเสียหายได้โดยคาดว่าฤดูแล้งนี้จะยาวนานกว่าทุกปี