ศูนย์ข่าวศรีราชา- ส.นักธุรกิจและการท่องเที่ยวเมืองพัทยา เผยวิกฤตชาติ-เศรษฐกิจ ทำนักท่องเที่ยวปี 51 หาย 60% เงินหล่นหายไปกว่า 1 หมื่นล้านบาท
วันนี้ (12 ก.พ.) นายจำรูญ วิศชัยพันธ์ นายกสมาคมนักธุรกิจและการท่องเที่ยวเมืองพัทยา กล่าวในที่ประชุมคณะกรรมการสมาคมฯ ที่โรงแรมเดอะกรีนพาร์คว่า จากการสำรวจสถิติของนัก ท่องเที่ยวด้วยการสุ่มตัวอย่างในกลุ่มของสมาชิกสมาคมฯ และอื่นๆ พบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 ซึ่งเป็นช่วงที่มีปัญหาทางด้านการเมือง และเศรษฐกิจ จำนวนนักท่องเที่ยวในพื้นที่เมืองพัทยาหดหายไปเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวเกาหลีและรัสเซีย ซึ่งถือเป็นตลาดหลักนั้นหายไปกว่า 80%
ขณะที่ยอดรวมนั้นคาดว่าจะเหลือนักท่องเที่ยวเพียงประมาณ 5 ล้านคนตลอดทั้งปี หรือหายไปกว่า 60% สูญเสียรายได้จากเป้าหมายไปกว่า 1-2 หมื่นล้านบาท จึงต้องหามาตรการในการกระตุ้นการท่องเที่ยวเป็นการเร่งด่วน
ล่าสุดจากการประชุม เพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงานภาคโรงแรมและการท่องเที่ยวร่วมกับสมาคมท่องเที่ยวไทย หรือ FETTA มีบทสรุปร่วมกันที่จะเสนอแนวคิดต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้พิจารณาแก้ไขเป็นการเร่งด่วนใน 6 มาตรการหลัก คือ 1.ยกเว้นค่าธรรมเนียมการออก VISA ให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากประเทศจีน ไต้หวันและอินเดีย อย่างน้อยเป็นเวลา 6 เดือน เนื่องจากต้องการให้นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้เป็นเป้าหมายหลักทางการท่องเที่ยวของไทยในปี 52
2.ลดค่าธรรมเนียมรวมทุกประเภทในการนำเครื่องเข้ามาจอด ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เชียงใหม่ และภูเก็ต อย่างน้อยร้อยละ 50 เพื่อให้สามารถแข่งขันกับสิงคโปร์ และมาเลเซีย ที่ให้บริการฟรีเป็นเวลา 5 ปี 3.งดเว้นการเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ทั้งในส่วนของลูกจ้างและนายจ้างอย่างน้อย 1 ปี เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับนายจ้าง 4.หาแหล่งเงินทุนกู้ดอกเบี้ยต่ำ จากสถานบันการเงินต่างๆให้ผู้ประกอบการที่มีปัญหาเพื่อเสริมสภาพคล่อง 5.งดเว้นการเก็บภาษีโรงเรือนในปี 52 6.ชะลอการเก็บค่าธรรมเนียมโรงแรมห้องละ 80 บาทต่อปี ออกไปอย่างน้อย 3 ปี
และ 7.มาตรการสำคัญในการช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศ ได้แก่ 7.1 เร่งรัดให้หน่วยงานที่มีแผนงานการประชุมสัมมนา ให้กระจายการจัดประชุมในทุกไตรมาส
โดยเริ่มจากไตรมาสที่ 2 อย่าให้เกิดการกระจุกตัว และสนับสนุนให้มีการว่าจ้าง จัดจ้างผ่านบริษัทนำเที่ยวที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย 7.2 ให้รัฐยุติโครงการในลักษณะการแข่งขันกับภาคเอกชน เช่น ททท. การบินไทย จำกัด การรถไฟแห่งประเทศไทย และ ขสมก.เป็นต้น
7.3 ให้นิติบุคคลจัดสัมมนานอกสถานที่ สามารถนำค่าใช้จ่ายมาคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายของหน่วยงานของตนเองได้ 2 เท่า ของค่าใช้จ่ายจริง 7.4 สนับสนุนไทยเที่ยวไทย โดยสามารถนำค่าใช้จ่ายมาใช้ในการหักลดหย่อนภาษีได้ และ 7.5 ให้องค์กรส่งเสริมการประชุมนานาชาติ ขยายนโยบายส่งเสริมการมีส่วนร่วมของธุรกิจนำเที่ยวในการจัดประชุมสัมมนาให้มากขึ้น โดยมาตรการดังกล่าวจะมีการนำเสนอเพื่อพิจารณาความเห็นชอบในเร็ววันนี้
ด้านนายอัครวิทย์ เทพาสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพัทยา เปิดเผยว่าจากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นทาง ททท.เองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ล่าสุดได้มีการประ ชุมร่วมกับตัวแทนจากสมาคมนักธุรกิจฯ และสมาคมโรงแรมไทยภาคตะวันออก และกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อกำหนดมาตรการในการกระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง โดยเน้นไปที่การสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว เร่งรัดการส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งภายในและนอกประเทศ เพียงแต่ยังไม่ได้ลงรายละเอียดที่ชัดเจน ซึ่งจะมีการประชุมร่วมอีกครั้ง
นายอัครวิทย์ กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันภาครัฐเองก็มีนโยบายในการแก้ไขเช่นกัน โดยได้จัดสรรงบประมาณเบื้องต้นมาแล้วจำนวน 1,000 ล้านบาท เพื่อให้ดำเนินการใน 3 มาตรการหลัก คือ
1.แผนงานฟื้นฟูภาพลักษณ์ความเชื่อมั่นในวงเงิน 250 ล้านบาท เช่น การจัดทำโครงการ ไทยแลนด์ ทอล์ก ทู เดอะ เวิลด์ ซึ่งเป็นการจัดทำสปอตผ่านสื่อให้รับทราบว่าประเทศไทยมีความปลอดภัย และสร้างความมั่นใจว่าจะไม่มีการปิดสนามบินอีก 2.แผนงานกระตุ้นการเดินทางของนักท่อง เที่ยวชาวต่างประเทศในวงเงิน 350 ล้านบาท เช่น โครงการพาร์ทเนอร์ส ออน ดีมานต์ โครงการอะเมซิ่ง ไทยแลนด์ และการทำโฆษราไทยแลนด์แบรนด์ และ 3.แผนการกระตุ้นตลาดท่องเที่ยวภาย ในประเทศ วงเงิน 400 ล้านบาท เช่นโครงการประชาสัมพันธ์ให้คนไทยเที่ยวเมืองไทยเพิ่มขึ้น โดยจะเชิญ เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์เจาะกลุ่มคนเมือง และวงโปงลางสะออน เจาะกลุ่มคนต่างจังหวัด เป็นต้น
วันนี้ (12 ก.พ.) นายจำรูญ วิศชัยพันธ์ นายกสมาคมนักธุรกิจและการท่องเที่ยวเมืองพัทยา กล่าวในที่ประชุมคณะกรรมการสมาคมฯ ที่โรงแรมเดอะกรีนพาร์คว่า จากการสำรวจสถิติของนัก ท่องเที่ยวด้วยการสุ่มตัวอย่างในกลุ่มของสมาชิกสมาคมฯ และอื่นๆ พบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 ซึ่งเป็นช่วงที่มีปัญหาทางด้านการเมือง และเศรษฐกิจ จำนวนนักท่องเที่ยวในพื้นที่เมืองพัทยาหดหายไปเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวเกาหลีและรัสเซีย ซึ่งถือเป็นตลาดหลักนั้นหายไปกว่า 80%
ขณะที่ยอดรวมนั้นคาดว่าจะเหลือนักท่องเที่ยวเพียงประมาณ 5 ล้านคนตลอดทั้งปี หรือหายไปกว่า 60% สูญเสียรายได้จากเป้าหมายไปกว่า 1-2 หมื่นล้านบาท จึงต้องหามาตรการในการกระตุ้นการท่องเที่ยวเป็นการเร่งด่วน
ล่าสุดจากการประชุม เพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงานภาคโรงแรมและการท่องเที่ยวร่วมกับสมาคมท่องเที่ยวไทย หรือ FETTA มีบทสรุปร่วมกันที่จะเสนอแนวคิดต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้พิจารณาแก้ไขเป็นการเร่งด่วนใน 6 มาตรการหลัก คือ 1.ยกเว้นค่าธรรมเนียมการออก VISA ให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากประเทศจีน ไต้หวันและอินเดีย อย่างน้อยเป็นเวลา 6 เดือน เนื่องจากต้องการให้นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้เป็นเป้าหมายหลักทางการท่องเที่ยวของไทยในปี 52
2.ลดค่าธรรมเนียมรวมทุกประเภทในการนำเครื่องเข้ามาจอด ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เชียงใหม่ และภูเก็ต อย่างน้อยร้อยละ 50 เพื่อให้สามารถแข่งขันกับสิงคโปร์ และมาเลเซีย ที่ให้บริการฟรีเป็นเวลา 5 ปี 3.งดเว้นการเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ทั้งในส่วนของลูกจ้างและนายจ้างอย่างน้อย 1 ปี เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับนายจ้าง 4.หาแหล่งเงินทุนกู้ดอกเบี้ยต่ำ จากสถานบันการเงินต่างๆให้ผู้ประกอบการที่มีปัญหาเพื่อเสริมสภาพคล่อง 5.งดเว้นการเก็บภาษีโรงเรือนในปี 52 6.ชะลอการเก็บค่าธรรมเนียมโรงแรมห้องละ 80 บาทต่อปี ออกไปอย่างน้อย 3 ปี
และ 7.มาตรการสำคัญในการช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศ ได้แก่ 7.1 เร่งรัดให้หน่วยงานที่มีแผนงานการประชุมสัมมนา ให้กระจายการจัดประชุมในทุกไตรมาส
โดยเริ่มจากไตรมาสที่ 2 อย่าให้เกิดการกระจุกตัว และสนับสนุนให้มีการว่าจ้าง จัดจ้างผ่านบริษัทนำเที่ยวที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย 7.2 ให้รัฐยุติโครงการในลักษณะการแข่งขันกับภาคเอกชน เช่น ททท. การบินไทย จำกัด การรถไฟแห่งประเทศไทย และ ขสมก.เป็นต้น
7.3 ให้นิติบุคคลจัดสัมมนานอกสถานที่ สามารถนำค่าใช้จ่ายมาคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายของหน่วยงานของตนเองได้ 2 เท่า ของค่าใช้จ่ายจริง 7.4 สนับสนุนไทยเที่ยวไทย โดยสามารถนำค่าใช้จ่ายมาใช้ในการหักลดหย่อนภาษีได้ และ 7.5 ให้องค์กรส่งเสริมการประชุมนานาชาติ ขยายนโยบายส่งเสริมการมีส่วนร่วมของธุรกิจนำเที่ยวในการจัดประชุมสัมมนาให้มากขึ้น โดยมาตรการดังกล่าวจะมีการนำเสนอเพื่อพิจารณาความเห็นชอบในเร็ววันนี้
ด้านนายอัครวิทย์ เทพาสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพัทยา เปิดเผยว่าจากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นทาง ททท.เองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ล่าสุดได้มีการประ ชุมร่วมกับตัวแทนจากสมาคมนักธุรกิจฯ และสมาคมโรงแรมไทยภาคตะวันออก และกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อกำหนดมาตรการในการกระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง โดยเน้นไปที่การสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว เร่งรัดการส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งภายในและนอกประเทศ เพียงแต่ยังไม่ได้ลงรายละเอียดที่ชัดเจน ซึ่งจะมีการประชุมร่วมอีกครั้ง
นายอัครวิทย์ กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันภาครัฐเองก็มีนโยบายในการแก้ไขเช่นกัน โดยได้จัดสรรงบประมาณเบื้องต้นมาแล้วจำนวน 1,000 ล้านบาท เพื่อให้ดำเนินการใน 3 มาตรการหลัก คือ
1.แผนงานฟื้นฟูภาพลักษณ์ความเชื่อมั่นในวงเงิน 250 ล้านบาท เช่น การจัดทำโครงการ ไทยแลนด์ ทอล์ก ทู เดอะ เวิลด์ ซึ่งเป็นการจัดทำสปอตผ่านสื่อให้รับทราบว่าประเทศไทยมีความปลอดภัย และสร้างความมั่นใจว่าจะไม่มีการปิดสนามบินอีก 2.แผนงานกระตุ้นการเดินทางของนักท่อง เที่ยวชาวต่างประเทศในวงเงิน 350 ล้านบาท เช่น โครงการพาร์ทเนอร์ส ออน ดีมานต์ โครงการอะเมซิ่ง ไทยแลนด์ และการทำโฆษราไทยแลนด์แบรนด์ และ 3.แผนการกระตุ้นตลาดท่องเที่ยวภาย ในประเทศ วงเงิน 400 ล้านบาท เช่นโครงการประชาสัมพันธ์ให้คนไทยเที่ยวเมืองไทยเพิ่มขึ้น โดยจะเชิญ เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์เจาะกลุ่มคนเมือง และวงโปงลางสะออน เจาะกลุ่มคนต่างจังหวัด เป็นต้น