สสปน. ปรับแผนรับมือผลกระทบการเมืองวุ่น หันบูมโดเมสติกไมซ์ เสนอ 4 แนวทางเร่งดำเนินการ ต่อที่ประชุมบอร์ด ตั้งเป้าเพิ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มไมซ์ในประเทศให้เดินทางเพิ่มเป็น 2.5 ล้านคนปีหน้า คาดใช้งบอีกเท่าตัว จากปีนี้ที่ตลาดในประเทศใช้งบราว 50 ล้านบาท ระบุมีแนวคิดเสนอบอร์ดของบเพิ่ม เหตุขณะนี้ใช้วิธีบริหารจัดการ โยกจากงบซัพพอร์ตงานมาแก้สถานการณ์แบบเร่งด่วน
นายณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน) หรือ สสปน. เปิดเผยว่า ได้ดำเนินการปรับแผนการตลาดปีหน้า เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยแผนใหม่จะเพิ่มความสำคัญกับการทำตลาดโดเมสติกไมซ์ ทั้งนี้เพราะตลาดอินเตอร์เนชั่นนัล ไมซ์ ขณะนี้ได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย เช่น ภาวะเศรษฐกิจโลก และสถานการณ์การเมืองภายในประเทศ และผลกระทบจากการปิดสนามบิน ทำให้ตลาดไมซ์ต่างประเทศที่จะเข้ามาจัดงานในประเทศไทยเกิดชะลอตัว โดยเฉพาะกรุ๊ปประชุมสัมมนาและอินเซนทีฟ ซึ่งอ่อนไหวและยกเลิกง่ายกว่ากลุ่มเอ็กซิบิชั่นและคอนเวนชั่น ซึ่งใช้เวลาเตรียมงานเป็นปี
ทั้งนี้แผนงานโดเมสติกไมซ์ ที่ได้นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) ของสสปน. มี 4 ประเด็นหลักที่จะเร่งดำเนินการ ได้แก่ 1. ทำการตลาดแบบแมทเมคกิ้ง คือ จัดผู้ซื้อพบผู้ขาย 2.ทำมาร์ทนิทรรศการ 3.ทำตลาดเชิงรุกจัดทีมเข้าพบลูกค้า ที่มีแผนงานการจัดประชุมสัมมนาในทุกปีอยู่แล้ว เช่น สภาหอการค้า และ เอกชนในภาคอื่นๆ นำเสนอสินค้าที่เหมาะกับการจัดงานในราคาพิเศษคุ้มค้าเงิน และ4. จัดแฟมทริปพาลูกค้าเป้าหมายที่เป็นองค์กร และบริษัทที่อยู่ในประเทศไทยเดินทางสำรวจสินค้า และแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะกับการจัดประชุมสัมมนา เป็นต้น
สำหรับในส่วนของการจัดเวทีผู้ซื้อพบผู้ขาย นั้นเบื้องต้น หารือกับ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) สมาคมท่องเที่ยวภายในประเทศ(สทน.) และสมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ(ไทย) หรือ ทิก้า รวบรวมแพกเกจสำหรับไมซ์ ที่ได้เคยนำเสนอขายให้กับตลาดต่างประเทศ มานำเสนอให้กับตลาดในประเทศ ซึ่งปกติแพกเกจเหล่านั้นจะไม่เคยขายในประเทศไทย หรือเป็นแพกเกจที่บริษัทห้างร้าน หน่วยงานราชการ องค์กรบริหารส่วนจังหวัดอาจยังไม่เคยเห็นมาก่อน ขณะที่ราคาต้องจูงใจในข้อเสนอที่คุ้มค่า
ที่ผ่านมา สสปน. ไม่ได้เน้นทำตลาดในประเทศมาก แต่ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาก็ได้จัดโดเมสติกไมซ์ นำเสนอเส้นทางในโครงการพระราชดำริ หรือโครงการเปิดทองหลังพระ เป็นผลให้ ปี 2550-2551 มีนักท่องเที่ยวโดเมสติกไมซ์ เข้ามาใช้บริการรวม 1.9 ล้านคน ขณะที่อินเตอร์ไมซ์ ที่เดินทางมาจาดต่างประเทศ ในแต่ละปีจะอยู่ประมาณ 8 แสนคน ดังนั้นหลังการปรับแผนใหม่นี้ ตั้งเป้าให้เกิดการเดินทางในโดเมสติกไมซ์ เพิ่มเป็น 2.5 ล้านคน เป็นอย่างน้อย
ทางด้านงบประมาณปกติโดเมสติกไมซ์จะใช้งบปีละราว 50 ล้านบาท ซึ่งต้องมีการปรับเพิ่มขึ้นอาจถึงเท่าตัว แต่ยังตอบตัวเลขที่ชัดเจนไม่ได้ ส่วนวงเงินที่จะเพิ่มนั้น เบื้องต้นใช้วิธีโยกงบมาจากส่วนที่ต้องใช้ซัพพอร์ตการจัดงาน เพราะคาดว่าในปีหน้า จำนวนงานระดับอินเตอร์ที่เข้ามาจัดงานในประเทศไทยที่ สสปน.ต้องซัพพอร์ตอาจลดลง ตามสถานการณ์ แต่งบในส่วนของการบิดดิ้ง และการประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศจะไม่ลด แต่ยิ่งต้องประชาสัมพันธ์ สร้างภาพลักษณ์กลับคืนไป พร้อมกับเดินหน้าบิดดิ้งงานสำคัญต่างๆ เพราะแต่ละงาน ไม่ใช่ว่าต้องเข้ามาจัดปีหน้าเสมอไป แต่ยอมรับว่ามีแนวคิดที่จะเสนอบอร์ดของบเพิ่ม เพราะงบบางส่วนได้ใช้ไปกับการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวในช่วงปิดสนามบิน และปีหน้า ต้องทำตลาดหนักขึ้น
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดนายโอฬาร ไชยประวัติ ได้รับทราบและเห็นด้วย ที่จะขอความร่วมมือให้หน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เลือกใช้สถานที่ในประเทศไทย เพื่อจัดประชุมสัมมนาและดูงาน เป็นอันดับแรก เพื่อให้เกิดเงินหมุนเวียนภายในประเทศ และยังได้ช่วยเหลือเอกชนในภาคธุรกิจท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านอาหารและบริษัทนำเที่ยว สำหรับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมือง ตั้งแต่ช่วงที่รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เมื่อ ก.ย.51 และ เหตุสลายการชุมนุมเมื่อ 7 ต.ค.51 มาถึงการปิดสนามบิน ทำให้สถิตินักท่องเที่ยวกลุ่มไมซ์ ไตรมาส 3 ปีนี้ ลดจากปีก่อน 30% ขณะที่ไตรมาส 4 ตัวเลขยังไม่แน่นอน แต่คาดว่าจะลดจากปีก่อนไม่น้อยกว่า 60%
นายณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน) หรือ สสปน. เปิดเผยว่า ได้ดำเนินการปรับแผนการตลาดปีหน้า เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยแผนใหม่จะเพิ่มความสำคัญกับการทำตลาดโดเมสติกไมซ์ ทั้งนี้เพราะตลาดอินเตอร์เนชั่นนัล ไมซ์ ขณะนี้ได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย เช่น ภาวะเศรษฐกิจโลก และสถานการณ์การเมืองภายในประเทศ และผลกระทบจากการปิดสนามบิน ทำให้ตลาดไมซ์ต่างประเทศที่จะเข้ามาจัดงานในประเทศไทยเกิดชะลอตัว โดยเฉพาะกรุ๊ปประชุมสัมมนาและอินเซนทีฟ ซึ่งอ่อนไหวและยกเลิกง่ายกว่ากลุ่มเอ็กซิบิชั่นและคอนเวนชั่น ซึ่งใช้เวลาเตรียมงานเป็นปี
ทั้งนี้แผนงานโดเมสติกไมซ์ ที่ได้นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) ของสสปน. มี 4 ประเด็นหลักที่จะเร่งดำเนินการ ได้แก่ 1. ทำการตลาดแบบแมทเมคกิ้ง คือ จัดผู้ซื้อพบผู้ขาย 2.ทำมาร์ทนิทรรศการ 3.ทำตลาดเชิงรุกจัดทีมเข้าพบลูกค้า ที่มีแผนงานการจัดประชุมสัมมนาในทุกปีอยู่แล้ว เช่น สภาหอการค้า และ เอกชนในภาคอื่นๆ นำเสนอสินค้าที่เหมาะกับการจัดงานในราคาพิเศษคุ้มค้าเงิน และ4. จัดแฟมทริปพาลูกค้าเป้าหมายที่เป็นองค์กร และบริษัทที่อยู่ในประเทศไทยเดินทางสำรวจสินค้า และแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะกับการจัดประชุมสัมมนา เป็นต้น
สำหรับในส่วนของการจัดเวทีผู้ซื้อพบผู้ขาย นั้นเบื้องต้น หารือกับ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) สมาคมท่องเที่ยวภายในประเทศ(สทน.) และสมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ(ไทย) หรือ ทิก้า รวบรวมแพกเกจสำหรับไมซ์ ที่ได้เคยนำเสนอขายให้กับตลาดต่างประเทศ มานำเสนอให้กับตลาดในประเทศ ซึ่งปกติแพกเกจเหล่านั้นจะไม่เคยขายในประเทศไทย หรือเป็นแพกเกจที่บริษัทห้างร้าน หน่วยงานราชการ องค์กรบริหารส่วนจังหวัดอาจยังไม่เคยเห็นมาก่อน ขณะที่ราคาต้องจูงใจในข้อเสนอที่คุ้มค่า
ที่ผ่านมา สสปน. ไม่ได้เน้นทำตลาดในประเทศมาก แต่ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาก็ได้จัดโดเมสติกไมซ์ นำเสนอเส้นทางในโครงการพระราชดำริ หรือโครงการเปิดทองหลังพระ เป็นผลให้ ปี 2550-2551 มีนักท่องเที่ยวโดเมสติกไมซ์ เข้ามาใช้บริการรวม 1.9 ล้านคน ขณะที่อินเตอร์ไมซ์ ที่เดินทางมาจาดต่างประเทศ ในแต่ละปีจะอยู่ประมาณ 8 แสนคน ดังนั้นหลังการปรับแผนใหม่นี้ ตั้งเป้าให้เกิดการเดินทางในโดเมสติกไมซ์ เพิ่มเป็น 2.5 ล้านคน เป็นอย่างน้อย
ทางด้านงบประมาณปกติโดเมสติกไมซ์จะใช้งบปีละราว 50 ล้านบาท ซึ่งต้องมีการปรับเพิ่มขึ้นอาจถึงเท่าตัว แต่ยังตอบตัวเลขที่ชัดเจนไม่ได้ ส่วนวงเงินที่จะเพิ่มนั้น เบื้องต้นใช้วิธีโยกงบมาจากส่วนที่ต้องใช้ซัพพอร์ตการจัดงาน เพราะคาดว่าในปีหน้า จำนวนงานระดับอินเตอร์ที่เข้ามาจัดงานในประเทศไทยที่ สสปน.ต้องซัพพอร์ตอาจลดลง ตามสถานการณ์ แต่งบในส่วนของการบิดดิ้ง และการประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศจะไม่ลด แต่ยิ่งต้องประชาสัมพันธ์ สร้างภาพลักษณ์กลับคืนไป พร้อมกับเดินหน้าบิดดิ้งงานสำคัญต่างๆ เพราะแต่ละงาน ไม่ใช่ว่าต้องเข้ามาจัดปีหน้าเสมอไป แต่ยอมรับว่ามีแนวคิดที่จะเสนอบอร์ดของบเพิ่ม เพราะงบบางส่วนได้ใช้ไปกับการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวในช่วงปิดสนามบิน และปีหน้า ต้องทำตลาดหนักขึ้น
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดนายโอฬาร ไชยประวัติ ได้รับทราบและเห็นด้วย ที่จะขอความร่วมมือให้หน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เลือกใช้สถานที่ในประเทศไทย เพื่อจัดประชุมสัมมนาและดูงาน เป็นอันดับแรก เพื่อให้เกิดเงินหมุนเวียนภายในประเทศ และยังได้ช่วยเหลือเอกชนในภาคธุรกิจท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านอาหารและบริษัทนำเที่ยว สำหรับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมือง ตั้งแต่ช่วงที่รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เมื่อ ก.ย.51 และ เหตุสลายการชุมนุมเมื่อ 7 ต.ค.51 มาถึงการปิดสนามบิน ทำให้สถิตินักท่องเที่ยวกลุ่มไมซ์ ไตรมาส 3 ปีนี้ ลดจากปีก่อน 30% ขณะที่ไตรมาส 4 ตัวเลขยังไม่แน่นอน แต่คาดว่าจะลดจากปีก่อนไม่น้อยกว่า 60%