เชียงใหม่ – เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศเสนอมาตรการเร่งด่วน “มาร์ค” จัดทำนโยบายแถลงต่อรัฐสภา หวังลดผลกระทบการจัดการที่ดินของรัฐ-ช่วยแก้ไขปัญหาความยากจน ลดเอกชนถือครองที่ดินโดยมิชอบ
นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด ตัวแทนเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ตามที่นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะได้มีการจัดทำนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อแถลงต่อรัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนั้น เครือข่ายที่ดินแห่งประเทศไทย อันประกอบด้วยเครือข่ายสลัม 4 ภาค สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ เครือข่ายปฏิรูปทีดินภาคอีสานและเครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด ซึ่งเป็นองค์กรประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายการจัดการที่ดินของรัฐ และแผนพัฒนาประเทศที่ผ่านมา
ทั้งนี้เห็นว่า การแก้ไขปัญหาความยากจนของคนประเทศ รัฐจำเป็นจะต้องเร่งแก้ไขปัญหาการถือครองที่ดินโดยเร่งด่วน อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนของคนทั้งประเทศ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศ จึงขอเสนอข้อเสนอเกี่ยวกับนโยบายแนวทางและมาตรการการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยระหว่างภาครัฐและคนจนไร้ที่ดิน ต่อ นายกรัฐมนตรีเพื่อนำไปประกอบการจัดทำนโยบายและผลักดันให้มีการแก้ไขปัญหาต่อไป
โดยมาตรการเร่งด่วน 1.ต้องยุติปัญหาการใช้ความรุนแรงของหน่วยงานภาครัฐกับคนจนไร้ที่ดิน ที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฎหมายของรัฐ 2. ยุติการจับกุมดำเนินคดีกับชาวบ้านที่มีข้อพิพาทเรื่องที่ดินกับรัฐ จนกว่าการแก้ไขปัญหาในทางนโยบายจะแล้วเสร็จ 3.ยุติการไล่รื้อชุมชนแออัด ตั้งคณะกรรมการที่ชุมชนมีส่วนร่วมไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ดิน ในกรณีพื้นที่ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขปัญหา ให้ราษฎรสามารถเข้าทำประโยชน์ในที่ดินทำกินเดิมได้ โดยมิให้มีการขยายพื้นที่เพิ่มเติมโดยเด็ดขาด
4.ให้รัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมในการแก้ไขปัญหาของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย โดยมีองค์ประกอบของตัวแทนรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับผู้แทนเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ในสัดส่วนที่เท่าเทียมกัน ทั้งนี้ ให้ดำเนินการภายใน 30 วัน ภายหลังการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
สำหรับมาตรการระยะสั้น1.จัดตั้งคณะกรรมการในรูปองค์กรอิสระ เพื่อดำเนินการตรวจสอบการถือครอง และทำประโยชน์ที่ดินของเอกชน บริษัทธุรกิจและนักการเมืองที่ถือครองที่ดินขนาดใหญ่ สัญญาเช่าสัมปทานที่ดินรัฐขนาดใหญ่ และเจ้าพนักงานที่ดินที่มีพฤติกรรมไม่เป็นกลาง 2.เพิกถอนที่ดินที่มีการออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบ และและที่ดินที่เจ้าของทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ นำมาปฏิรูปการถือครองให้กับคนจนไร้ที่อยู่อาศัยและคนจนไร้ที่ดินทำกิน คุ้มครองและเคารพสิทธิขององค์กรชุมชนท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรที่ดิน และทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของคนในสังคมท้องถิ่น โดยไม่ใช้มาตรการทางกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมบังคับและล่วงละเมิดสิทธิของสังคมท้องถิ่น
3.ชะลอการประกาศเขตหรือการขยายเขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตพื้นที่อนุรักษ์ตามกฎหมายอื่นๆ จนกว่ากระบวนการตรวจสอบพิสูจน์รับรองสิทธิ์ของเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากนโยบาย กฎหมายเหล่านี้จะแล้วเสร็จ4.ประกาศนโยบายหยุดการไล่รื้อชุมชนแออัด และตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการไล่รื้อชุมชน โดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และแสวงหาแนวทางแก้ปัญหาตามแนวนโยบายบ้านมั่นคง และ 5.ให้รัฐบาลมีคำสั่งยุติการดำเนินการผลักดันโครงการคาร์บอนเครดิต ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.)ที่จะนำพื้นที่สวนป่า ออป. ประมาณ 200 แปลงเนื้อที่ทั้งสิ้น 1.2 ล้านไร่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ตามข้อตกลงการพัฒนากลไกแบบสะอาด (CDM) ในพิธีสารเกียวโต ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่สวนป่า ออป. หลายแห่งทับซ้อนหรือมีการปลูกสร้างทับที่ทำกินและที่อยู่อาศัยของประชาชน และอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะทำงานร่วม ดังนั้น รัฐบาลต้องดำเนินการเร่งรัดตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นให้แล้วเสร็จ จากนั้นให้นำที่ดินมาดำเนินการปฏิรูปที่ดินให้กับประชาชนผู้เดือดร้อนต่อไป
นายสุริยันต์ กล่าวต่ออีกว่า ส่วนมาตรการระยะยาวอยากเรียร้องให้รัฐบาลดำเนินการแก้ไข เพิกถอนหรือยกเลิกกฎหมายและนโยบาย มติ คำสั่ง ระเบียบข้อบังคับ และกลไกที่มีผลกระทบและปิดกั้นต่อสิทธิของประชาชนในการมีส่วนร่วมจัดการทรัพยากร และการเข้าถึงสิทธิในที่ดินของประชาชน รวมทั้งสร้างเสริมความเข้มแข็งของภาคประชาชน ให้ประชาชนเกิดการรวมกลุ่ม เข้ามามีส่วนร่วมในกลไกการกำหนดนโยบายด้านที่ดิน และแนวทางการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติร่วมกับรัฐ เข้าถึงการตรวจสอบการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐในการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินทุกระดับ
นอกจากนี้เร่งอุดหนุนช่วยเหลือเกษตรกรยากจนอย่างเต็มที่ โดยการยกเลิกหนี้สินอันเกิดจากนโยบายเศรษฐกิจที่ผิดพลาดของรัฐ สนับสนุนระบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่ปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค ประกันราคาพืชผลการผลิตให้คุ้มกับตันทุนการผลิตที่เกษตรกรต้องจ่ายไป ช่วยเหลือด้านการแปรรูปผลผลิตและสนับสนุนการขายผลผลิตในตลาดท้องถิ่น ยุติการใช้นโยบายทางเศรษฐกิจและการค้าเสรี ที่บีบให้เกษตรกรทำการผลิตภายใต้กลไกตลาดที่ถูกผูกขาดโดยบริษัทธุรกิจส่งออกขนาดใหญ่
รวมทั้งการกำหนดมาตรการทางด้านกฎหมาย และนโยบายในการกระจายสิทธิการถือครองที่ดินอย่างเป็นระบบ ได้แก่ การแก้ไขพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 โดยรับรองสิทธิการปฏิรูปที่ดินโดยประชาชน การกำหนดอัตราภาษีที่ดินแบบก้าวหน้า การกำหนดเขตคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม การจัดตั้งธนาคารที่ดิน อนุญาตให้ชุมชนแออัดที่อยู่อาศัยในที่ดินรัฐสามารถเช่าที่ดินเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยได้ 30 ปี
นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด ตัวแทนเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ตามที่นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะได้มีการจัดทำนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อแถลงต่อรัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนั้น เครือข่ายที่ดินแห่งประเทศไทย อันประกอบด้วยเครือข่ายสลัม 4 ภาค สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ เครือข่ายปฏิรูปทีดินภาคอีสานและเครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด ซึ่งเป็นองค์กรประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายการจัดการที่ดินของรัฐ และแผนพัฒนาประเทศที่ผ่านมา
ทั้งนี้เห็นว่า การแก้ไขปัญหาความยากจนของคนประเทศ รัฐจำเป็นจะต้องเร่งแก้ไขปัญหาการถือครองที่ดินโดยเร่งด่วน อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนของคนทั้งประเทศ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศ จึงขอเสนอข้อเสนอเกี่ยวกับนโยบายแนวทางและมาตรการการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยระหว่างภาครัฐและคนจนไร้ที่ดิน ต่อ นายกรัฐมนตรีเพื่อนำไปประกอบการจัดทำนโยบายและผลักดันให้มีการแก้ไขปัญหาต่อไป
โดยมาตรการเร่งด่วน 1.ต้องยุติปัญหาการใช้ความรุนแรงของหน่วยงานภาครัฐกับคนจนไร้ที่ดิน ที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฎหมายของรัฐ 2. ยุติการจับกุมดำเนินคดีกับชาวบ้านที่มีข้อพิพาทเรื่องที่ดินกับรัฐ จนกว่าการแก้ไขปัญหาในทางนโยบายจะแล้วเสร็จ 3.ยุติการไล่รื้อชุมชนแออัด ตั้งคณะกรรมการที่ชุมชนมีส่วนร่วมไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ดิน ในกรณีพื้นที่ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขปัญหา ให้ราษฎรสามารถเข้าทำประโยชน์ในที่ดินทำกินเดิมได้ โดยมิให้มีการขยายพื้นที่เพิ่มเติมโดยเด็ดขาด
4.ให้รัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมในการแก้ไขปัญหาของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย โดยมีองค์ประกอบของตัวแทนรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับผู้แทนเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ในสัดส่วนที่เท่าเทียมกัน ทั้งนี้ ให้ดำเนินการภายใน 30 วัน ภายหลังการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
สำหรับมาตรการระยะสั้น1.จัดตั้งคณะกรรมการในรูปองค์กรอิสระ เพื่อดำเนินการตรวจสอบการถือครอง และทำประโยชน์ที่ดินของเอกชน บริษัทธุรกิจและนักการเมืองที่ถือครองที่ดินขนาดใหญ่ สัญญาเช่าสัมปทานที่ดินรัฐขนาดใหญ่ และเจ้าพนักงานที่ดินที่มีพฤติกรรมไม่เป็นกลาง 2.เพิกถอนที่ดินที่มีการออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบ และและที่ดินที่เจ้าของทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ นำมาปฏิรูปการถือครองให้กับคนจนไร้ที่อยู่อาศัยและคนจนไร้ที่ดินทำกิน คุ้มครองและเคารพสิทธิขององค์กรชุมชนท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรที่ดิน และทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของคนในสังคมท้องถิ่น โดยไม่ใช้มาตรการทางกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมบังคับและล่วงละเมิดสิทธิของสังคมท้องถิ่น
3.ชะลอการประกาศเขตหรือการขยายเขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตพื้นที่อนุรักษ์ตามกฎหมายอื่นๆ จนกว่ากระบวนการตรวจสอบพิสูจน์รับรองสิทธิ์ของเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากนโยบาย กฎหมายเหล่านี้จะแล้วเสร็จ4.ประกาศนโยบายหยุดการไล่รื้อชุมชนแออัด และตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการไล่รื้อชุมชน โดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และแสวงหาแนวทางแก้ปัญหาตามแนวนโยบายบ้านมั่นคง และ 5.ให้รัฐบาลมีคำสั่งยุติการดำเนินการผลักดันโครงการคาร์บอนเครดิต ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.)ที่จะนำพื้นที่สวนป่า ออป. ประมาณ 200 แปลงเนื้อที่ทั้งสิ้น 1.2 ล้านไร่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ตามข้อตกลงการพัฒนากลไกแบบสะอาด (CDM) ในพิธีสารเกียวโต ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่สวนป่า ออป. หลายแห่งทับซ้อนหรือมีการปลูกสร้างทับที่ทำกินและที่อยู่อาศัยของประชาชน และอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะทำงานร่วม ดังนั้น รัฐบาลต้องดำเนินการเร่งรัดตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นให้แล้วเสร็จ จากนั้นให้นำที่ดินมาดำเนินการปฏิรูปที่ดินให้กับประชาชนผู้เดือดร้อนต่อไป
นายสุริยันต์ กล่าวต่ออีกว่า ส่วนมาตรการระยะยาวอยากเรียร้องให้รัฐบาลดำเนินการแก้ไข เพิกถอนหรือยกเลิกกฎหมายและนโยบาย มติ คำสั่ง ระเบียบข้อบังคับ และกลไกที่มีผลกระทบและปิดกั้นต่อสิทธิของประชาชนในการมีส่วนร่วมจัดการทรัพยากร และการเข้าถึงสิทธิในที่ดินของประชาชน รวมทั้งสร้างเสริมความเข้มแข็งของภาคประชาชน ให้ประชาชนเกิดการรวมกลุ่ม เข้ามามีส่วนร่วมในกลไกการกำหนดนโยบายด้านที่ดิน และแนวทางการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติร่วมกับรัฐ เข้าถึงการตรวจสอบการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐในการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินทุกระดับ
นอกจากนี้เร่งอุดหนุนช่วยเหลือเกษตรกรยากจนอย่างเต็มที่ โดยการยกเลิกหนี้สินอันเกิดจากนโยบายเศรษฐกิจที่ผิดพลาดของรัฐ สนับสนุนระบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่ปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค ประกันราคาพืชผลการผลิตให้คุ้มกับตันทุนการผลิตที่เกษตรกรต้องจ่ายไป ช่วยเหลือด้านการแปรรูปผลผลิตและสนับสนุนการขายผลผลิตในตลาดท้องถิ่น ยุติการใช้นโยบายทางเศรษฐกิจและการค้าเสรี ที่บีบให้เกษตรกรทำการผลิตภายใต้กลไกตลาดที่ถูกผูกขาดโดยบริษัทธุรกิจส่งออกขนาดใหญ่
รวมทั้งการกำหนดมาตรการทางด้านกฎหมาย และนโยบายในการกระจายสิทธิการถือครองที่ดินอย่างเป็นระบบ ได้แก่ การแก้ไขพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 โดยรับรองสิทธิการปฏิรูปที่ดินโดยประชาชน การกำหนดอัตราภาษีที่ดินแบบก้าวหน้า การกำหนดเขตคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม การจัดตั้งธนาคารที่ดิน อนุญาตให้ชุมชนแออัดที่อยู่อาศัยในที่ดินรัฐสามารถเช่าที่ดินเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยได้ 30 ปี