กาฬสินธุ์ - “บำรุง” ปธ.ชมรม อปท.ภาคอีสาน แฉซ้ำ ทีมบริหาร อบจ.ไม่ต่างจากแก๊งออฟโฟร์ เพราะเส้นทางการโกงกินถูกจัดระบบ ไว้หาประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนนักเลือกตั้ง เผยงบ อบจ.ยังเป็นจุดผันงบประมาณ ส.ส.ส่วนกลางเข้าไปงาบกันต่อภายในสภา ด้านนักวิชาการชี้ผู้บริหารส่วนท้องถิ่นทุกจังหวัดต้องเพิ่มด้านจริยธรรม หลักธรรมาภิบาลอีกมาก ส่วนการแนะทางออกแก้ทุจริตผู้บริหารต้องเข้าขัดเกลากระบวนทัศน์การบริหารใหม่ พร้อมขจัดระบบอุปถัมภ์สลายขั้วการเมืองอิทธิพล
รายงานข่าวความคืบหน้ากรณีกลุ่มผู้รับเหมาใน จ.กาฬสินธุ์ และ จ.ร้อยเอ็ด ร้องเรียนให้ นางชะม้อย วรามิตร นายก.อบจ.กาฬสินธุ์ ตรวจสอบปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างโดยเฉพาะงานรับเหมา เพราะเชื่อว่ามีการทุจริตปกปิดงาน และเอื้อประโยชน์ให้กับเครือญาติทีมผู้บริหาร อบจ.กาฬสินธุ์
ล่าสุด วันนี้ (28 ก.ย.)นายบำรุง คะโยธา นายก อบต.สายนาวัง อ.นาคู จ.กาฬสินธุ์ ในฐานะประธานชมรมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อประชาชนภาคอีสาน กล่าวว่า จากการแจ้งข่าวให้สมาชิก อปท.ร่วมกันข่าวเกี่ยวกับการทุจริตภายใน อบจ.กาฬสินธุ์ หลายคนยืนยันตรงกันว่า มีปัญหาการทุจริตที่ต้องการให้มีการตรวจสอบจริง เนื่องจากทีมผู้บริหารได้มีการตั้งก๊วนตั้งแก๊ง ที่ข้าราชการภายในให้สมญานามว่าแก๊งออฟโฟร์ที่จะมีหน้าที่ชักใยตัว นายก อบจ.กาฬสินธุ์ ให้เป็นหุ่นเชิดเท่านั้น
ในขบวนการดังกล่าวเนื่องจากทีมผู้บริหารจะมีเครือญาติที่มีอาชีพรับเหมา ทั้งใน อ.ยางตลาด อ.สมเด็จ อ.กมลาไสย ก็จะมีการยื่นซองเสนอราคาเพียงแค่กลุ่มของตนเองเท่านั้น ด้วยการบังคับข้าราชการให้ปฏิบัติตาม จนกลายสภาพเป็นเรื่องธรรมดาจนไม่มีความละอายแก่ใจ ซึ่งหากปล่อยให้มีการทุจริตคอร์รัปชันกันมากๆ ก็จะทำให้งบประมาณแผ่นดินเสียหายอย่างแน่นอน
“นอกจากเวที อบจ.ที่เป็นสนามใหญ่ ก็ยังเป็นแหล่งทำมาหากินให้กับบรรดา ส.ส.ที่มีความสามารถในการวิ่งงบประมาณเข้าไปฝากเอาไว้ใน อบจ. จากนั้นก็จะทำการผันงบประมาณไปลงในพื้นที่ของตนเอง จากนั้นก็จะส่งผู้รับเหมาของตนเองเข้าไปทำการประมูลงาน ซึ่งวิธีการนี้จะเกิดขึ้นอยู่เรื่อยไป จึงต้องการให้ ส่วนกลางและท้องถิ่นได้ร่วมกันตรวจสอบเพื่อเอาผิดกับกลุ่มทุจริตนี้ด้วย” นายบำรุงกล่าว
ด้านนางสาวปาริชา มารีเคน รองอธิการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ อาจารย์ประจำภาควิชารัฐประสาสนศาสตร์ กล่าวว่า การทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งระดับ อบต. เทศบาลหรือ อบจ.มีอยู่จริง โดยการทุจริตจะเป็นการจัดซื้อจัดจ้าง รับเหมางานประมูล และอีกส่วนหนึ่งคือการรับบุคคลเข้าทำงานที่จะต้องมีการจ่ายเงินใต้โต๊ะเป็นเงินก้อนใหญ่ โดยการทุจริตในส่วนของการจัดซื้อจัดจ้าง จะเริ่มตั้งแต่ระบบการนำเอาเครือญาติเข้ามาเป็นผู้ประมูลงาน ด้วยระบบฮั้วประมูลที่ลงตัว
ผลประโยชน์จะเป็นทั้งข้าราชการประจำและผู้บริหารที่จะมีการแบ่งปันทุกสัดส่วน ซึ่งจุดนี้จะใช้ข้ออ้างในการทุจริตรับสินบนคือค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ
นางสาวปาริชา ยังกล่าวอีกว่า ในส่วนของระบบการเมืองอิทธิพล การเมืองเครือญาติ และการเมืองแบบอุปถัมป์จากผู้มีอิทธิผลทั้งด้านการเงิน อำนาจ และตำแหน่งหน้าที่ ยังเป็นปัจจัยอีส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดการทุจริตเพิ่มมากขึ้น และกลายเป็นการเลียนแบบเอาตัวอย่าง ซึ่งการทุจริตแต่ละอย่างในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือว่าเป็นรูปแบบที่ตายตัว ไม่ว่าจะเป็นการฮั้ว หรือเงินใต้โต๊ะ ซึ่งทุกขั้นตอนการทุจริตจะมีเงินจ้าง
ในทางแก้นั้นต้องมองถึงความเข้มแข็งของชุมชนก่อนเป็นหลัก อย่างงานวิจัยที่ทำอยู่ในตอนนี้ เรื่อง บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ยังพบว่า อบต.แห่งหนึ่งในพื้นที่ อ.นาคูมีความเข้มแข็งสูงมาก ทั้งนี้เกิดมาจากความสามัคคีของประชาชนในหมู่บ้าน ส่วนนี้จึงทำให้อบต.แห่งนี้ไม่มีปัญหาการร้องเรียนเรื่องการทุจริต
อย่างไรก็ตาม การแก้อีกทางหนึ่งที่เห็นว่าเหมาะสมกับผู้บริหารทุกระดับก็คือการศึกษาเพิ่มเติม อย่างที่มหาวิทยาราชภัฏกาฬสินธุ์ ได้เน้นการสอนผู้บริหารให้มีหลักธรรมาภิบาล จริยธรรมเป็นหลักเพราะ 2 ประการนี้เป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะสร้างจิตสำนัก ความตระหนักของภาวะผู้นำแบบสุจริตได้
การบริหารรัฐกิจที่ผู้นำจะต้องมีหลักๆ คือ ภาวะผู้นำ ตามหลักธรรมาภิบาล ที่ทุกอย่างจะต้องตรวจสอบได้ แต่อย่างไรก็ตาม เท่าที่สัมผัสผู้บริหาร ผู้นำในระดับชุมชน อบต.เทศบาลในพื้นที่ยังขาดจิตสำนึก จริยธรรม ธรรมาภิบาลอยู่มาก
รายงานข่าวความคืบหน้ากรณีกลุ่มผู้รับเหมาใน จ.กาฬสินธุ์ และ จ.ร้อยเอ็ด ร้องเรียนให้ นางชะม้อย วรามิตร นายก.อบจ.กาฬสินธุ์ ตรวจสอบปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างโดยเฉพาะงานรับเหมา เพราะเชื่อว่ามีการทุจริตปกปิดงาน และเอื้อประโยชน์ให้กับเครือญาติทีมผู้บริหาร อบจ.กาฬสินธุ์
ล่าสุด วันนี้ (28 ก.ย.)นายบำรุง คะโยธา นายก อบต.สายนาวัง อ.นาคู จ.กาฬสินธุ์ ในฐานะประธานชมรมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อประชาชนภาคอีสาน กล่าวว่า จากการแจ้งข่าวให้สมาชิก อปท.ร่วมกันข่าวเกี่ยวกับการทุจริตภายใน อบจ.กาฬสินธุ์ หลายคนยืนยันตรงกันว่า มีปัญหาการทุจริตที่ต้องการให้มีการตรวจสอบจริง เนื่องจากทีมผู้บริหารได้มีการตั้งก๊วนตั้งแก๊ง ที่ข้าราชการภายในให้สมญานามว่าแก๊งออฟโฟร์ที่จะมีหน้าที่ชักใยตัว นายก อบจ.กาฬสินธุ์ ให้เป็นหุ่นเชิดเท่านั้น
ในขบวนการดังกล่าวเนื่องจากทีมผู้บริหารจะมีเครือญาติที่มีอาชีพรับเหมา ทั้งใน อ.ยางตลาด อ.สมเด็จ อ.กมลาไสย ก็จะมีการยื่นซองเสนอราคาเพียงแค่กลุ่มของตนเองเท่านั้น ด้วยการบังคับข้าราชการให้ปฏิบัติตาม จนกลายสภาพเป็นเรื่องธรรมดาจนไม่มีความละอายแก่ใจ ซึ่งหากปล่อยให้มีการทุจริตคอร์รัปชันกันมากๆ ก็จะทำให้งบประมาณแผ่นดินเสียหายอย่างแน่นอน
“นอกจากเวที อบจ.ที่เป็นสนามใหญ่ ก็ยังเป็นแหล่งทำมาหากินให้กับบรรดา ส.ส.ที่มีความสามารถในการวิ่งงบประมาณเข้าไปฝากเอาไว้ใน อบจ. จากนั้นก็จะทำการผันงบประมาณไปลงในพื้นที่ของตนเอง จากนั้นก็จะส่งผู้รับเหมาของตนเองเข้าไปทำการประมูลงาน ซึ่งวิธีการนี้จะเกิดขึ้นอยู่เรื่อยไป จึงต้องการให้ ส่วนกลางและท้องถิ่นได้ร่วมกันตรวจสอบเพื่อเอาผิดกับกลุ่มทุจริตนี้ด้วย” นายบำรุงกล่าว
ด้านนางสาวปาริชา มารีเคน รองอธิการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ อาจารย์ประจำภาควิชารัฐประสาสนศาสตร์ กล่าวว่า การทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งระดับ อบต. เทศบาลหรือ อบจ.มีอยู่จริง โดยการทุจริตจะเป็นการจัดซื้อจัดจ้าง รับเหมางานประมูล และอีกส่วนหนึ่งคือการรับบุคคลเข้าทำงานที่จะต้องมีการจ่ายเงินใต้โต๊ะเป็นเงินก้อนใหญ่ โดยการทุจริตในส่วนของการจัดซื้อจัดจ้าง จะเริ่มตั้งแต่ระบบการนำเอาเครือญาติเข้ามาเป็นผู้ประมูลงาน ด้วยระบบฮั้วประมูลที่ลงตัว
ผลประโยชน์จะเป็นทั้งข้าราชการประจำและผู้บริหารที่จะมีการแบ่งปันทุกสัดส่วน ซึ่งจุดนี้จะใช้ข้ออ้างในการทุจริตรับสินบนคือค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ
นางสาวปาริชา ยังกล่าวอีกว่า ในส่วนของระบบการเมืองอิทธิพล การเมืองเครือญาติ และการเมืองแบบอุปถัมป์จากผู้มีอิทธิผลทั้งด้านการเงิน อำนาจ และตำแหน่งหน้าที่ ยังเป็นปัจจัยอีส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดการทุจริตเพิ่มมากขึ้น และกลายเป็นการเลียนแบบเอาตัวอย่าง ซึ่งการทุจริตแต่ละอย่างในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือว่าเป็นรูปแบบที่ตายตัว ไม่ว่าจะเป็นการฮั้ว หรือเงินใต้โต๊ะ ซึ่งทุกขั้นตอนการทุจริตจะมีเงินจ้าง
ในทางแก้นั้นต้องมองถึงความเข้มแข็งของชุมชนก่อนเป็นหลัก อย่างงานวิจัยที่ทำอยู่ในตอนนี้ เรื่อง บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ยังพบว่า อบต.แห่งหนึ่งในพื้นที่ อ.นาคูมีความเข้มแข็งสูงมาก ทั้งนี้เกิดมาจากความสามัคคีของประชาชนในหมู่บ้าน ส่วนนี้จึงทำให้อบต.แห่งนี้ไม่มีปัญหาการร้องเรียนเรื่องการทุจริต
อย่างไรก็ตาม การแก้อีกทางหนึ่งที่เห็นว่าเหมาะสมกับผู้บริหารทุกระดับก็คือการศึกษาเพิ่มเติม อย่างที่มหาวิทยาราชภัฏกาฬสินธุ์ ได้เน้นการสอนผู้บริหารให้มีหลักธรรมาภิบาล จริยธรรมเป็นหลักเพราะ 2 ประการนี้เป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะสร้างจิตสำนัก ความตระหนักของภาวะผู้นำแบบสุจริตได้
การบริหารรัฐกิจที่ผู้นำจะต้องมีหลักๆ คือ ภาวะผู้นำ ตามหลักธรรมาภิบาล ที่ทุกอย่างจะต้องตรวจสอบได้ แต่อย่างไรก็ตาม เท่าที่สัมผัสผู้บริหาร ผู้นำในระดับชุมชน อบต.เทศบาลในพื้นที่ยังขาดจิตสำนึก จริยธรรม ธรรมาภิบาลอยู่มาก