แม่ฮ่องสอน – จังหวัดแม่ฮ่องสอนไฟเขียวนำเข้าสินค้าจากพม่าเพิ่มอีก 2 ช่องทาง หลังชิมลางให้นำเข้าสิ่งประดิษฐ์ผ่านช่องทางห้วยผึ้งแล้วได้ผล ทำมูลค่าการค้า-ยอดจัดเก็บภาษีเพิ่มเพียบ พร้อมเตรียมหาทางดันเส้นทางเสาหิน-ดอยก่อ-เนปิดอว์ ลดต้นทุนการขนส่งเข้าเมืองหลวงพม่าแทนเส้นทาง R3b
นายวันชัย สุทธิวรชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า หลังจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน อนุญาตให้มีการนำเข้าสิ่งประดิษฐ์จากประเทศพม่าผ่านช่องทางบ้านห้วยผึ้ง ตำบลห้วยผา อำเภอเมือง ทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดแม่ฮ่องสอนดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยห้วงวันที่ 23 เมษายน - 28 สิงหาคม 2551 รวมทั้งสิ้นจำนวน13 ครั้ง สิ่งประดิษฐ์ จำนวน 57,437 ชิ้น ราคาประเมิน 5,010,561 บาท อากร 369,320บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 377,209 บาท รวมค่าภาษีอากร 746,529 บาท
ดังนั้น จังหวัดจึงได้พิจารณาเปิดช่องทางการค้าชายแดนอีก 2 ช่องทาง คือ ช่องทางบ้านน้ำเพียงดิน ตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง และช่องทางบ้านแม่สามแลบ ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย ให้สามารถนำเข้าสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใดที่ทำด้วยไม้เข้ามาในราชอาณาจักรได้ด้วย
อย่างไรก็ตาม สำหรับช่องทางบ้านห้วยต้นนุ่น ตำบลแม่เงา อำเภอขุนยวม จังหวัดไม่อนุญาตให้มีการนำเข้าสิ่งประดิษฐ์ เนื่องจากช่องทางดังกล่าวจะต้องผ่านพื้นที่ป่าอนุรักษ์เกรงว่าจะเกิดปัญหาตามมา
“หากสามารถเปิดให้มีการนำเข้าสิ่งประดิษฐ์เพิ่มอีก 2 ช่องทางดังกล่าวจะทำให้จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีเงินหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว”
ด้าน นายเดช เยาว์โสภา ประธานประธานสหกรณ์บ้านทุ่งกองมู ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า การจัดเก็บภาษีของสหกรณ์หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงบ้านทุ่งกองมู จำกัด เปรียบเทียบกับปี 2550 มีดังนี้ ปี 2550 จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 35,237 บาท และตั้งแต่ต้นปี 2551 มีการนำเข้าสิ่งประดิษฐ์ผ่านสหกรณ์ฯ สามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวน 184,964 บาท เพิ่มขึ้น 149,727 บาท
นายสมพร วิริยานุภาพพงศ์ พาณิชย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า สถานการณ์การค้าชายแดนบ้านห้วยผึ้ง ตำบลห้วยผา อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน หลังจากที่มีการนำเข้าสิ่งประดิษฐ์ตามช่องทางดังกล่าว มีการเคลื่อนไหวเพิ่มมากขึ้นและมีการจัดเก็บของภาษีศุลกากรเพิ่มสูงขึ้น จากเดิมที่มีการนำเข้าเฉพาะสินค้าประเภทอุปโภค-บริโภค และเพิ่มโอกาสการค้าชายแดนด้านจังหวัดแม่ฮ่องสอน
โดยหลังจากที่ได้เข้าร่วมประชุมการเตรียมความพร้อมของภาครัฐและภาคเอกชนในการเปิดประชุมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในที่ประชุม ฯ มีการตั้งข้อสังเกตศักยภาพและประโยชน์ของช่องทางการค้าชายแดนบ้านเสาหิน ตำบลเสาหิน อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ทั้งนี้ หากได้รับการสนับสนุนให้มีการขนส่งสินค้าได้สะดวกขึ้นจะเป็นช่องทางการค้าชายแดนที่จะสนับสนุนการค้าชายแดนไทยกับสหภาพม่าผ่านไปจังหวัดดอยก่อ ไปยังเมืองต่องกี ประเทศพม่า ซึ่งจะเป็นเมืองกระจายสินค้าเข้าสู่เมืองหลวงใหม่พม่า (เมืองเนปิดอร์) ซึ่งพม่ามีผู้ประกอบการค้าชายแดน ผู้ประกอบการค้าพม่า เล็งเห็นถึงเส้นทางที่จะลดต้นทุนการขนส่งสินค้าเมื่อเทียบกับเส้นทาง R3b ที่ต่อเชื่อมจากจีน และตัดอุโมงค์เข้าเชียงราย-เชียงใหม่ และย้อนกลับไปยังเมืองหลวงใหม่พม่า
นายวันชัย สุทธิวรชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า หลังจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน อนุญาตให้มีการนำเข้าสิ่งประดิษฐ์จากประเทศพม่าผ่านช่องทางบ้านห้วยผึ้ง ตำบลห้วยผา อำเภอเมือง ทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดแม่ฮ่องสอนดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยห้วงวันที่ 23 เมษายน - 28 สิงหาคม 2551 รวมทั้งสิ้นจำนวน13 ครั้ง สิ่งประดิษฐ์ จำนวน 57,437 ชิ้น ราคาประเมิน 5,010,561 บาท อากร 369,320บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 377,209 บาท รวมค่าภาษีอากร 746,529 บาท
ดังนั้น จังหวัดจึงได้พิจารณาเปิดช่องทางการค้าชายแดนอีก 2 ช่องทาง คือ ช่องทางบ้านน้ำเพียงดิน ตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง และช่องทางบ้านแม่สามแลบ ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย ให้สามารถนำเข้าสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใดที่ทำด้วยไม้เข้ามาในราชอาณาจักรได้ด้วย
อย่างไรก็ตาม สำหรับช่องทางบ้านห้วยต้นนุ่น ตำบลแม่เงา อำเภอขุนยวม จังหวัดไม่อนุญาตให้มีการนำเข้าสิ่งประดิษฐ์ เนื่องจากช่องทางดังกล่าวจะต้องผ่านพื้นที่ป่าอนุรักษ์เกรงว่าจะเกิดปัญหาตามมา
“หากสามารถเปิดให้มีการนำเข้าสิ่งประดิษฐ์เพิ่มอีก 2 ช่องทางดังกล่าวจะทำให้จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีเงินหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว”
ด้าน นายเดช เยาว์โสภา ประธานประธานสหกรณ์บ้านทุ่งกองมู ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า การจัดเก็บภาษีของสหกรณ์หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงบ้านทุ่งกองมู จำกัด เปรียบเทียบกับปี 2550 มีดังนี้ ปี 2550 จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 35,237 บาท และตั้งแต่ต้นปี 2551 มีการนำเข้าสิ่งประดิษฐ์ผ่านสหกรณ์ฯ สามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวน 184,964 บาท เพิ่มขึ้น 149,727 บาท
นายสมพร วิริยานุภาพพงศ์ พาณิชย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า สถานการณ์การค้าชายแดนบ้านห้วยผึ้ง ตำบลห้วยผา อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน หลังจากที่มีการนำเข้าสิ่งประดิษฐ์ตามช่องทางดังกล่าว มีการเคลื่อนไหวเพิ่มมากขึ้นและมีการจัดเก็บของภาษีศุลกากรเพิ่มสูงขึ้น จากเดิมที่มีการนำเข้าเฉพาะสินค้าประเภทอุปโภค-บริโภค และเพิ่มโอกาสการค้าชายแดนด้านจังหวัดแม่ฮ่องสอน
โดยหลังจากที่ได้เข้าร่วมประชุมการเตรียมความพร้อมของภาครัฐและภาคเอกชนในการเปิดประชุมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในที่ประชุม ฯ มีการตั้งข้อสังเกตศักยภาพและประโยชน์ของช่องทางการค้าชายแดนบ้านเสาหิน ตำบลเสาหิน อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ทั้งนี้ หากได้รับการสนับสนุนให้มีการขนส่งสินค้าได้สะดวกขึ้นจะเป็นช่องทางการค้าชายแดนที่จะสนับสนุนการค้าชายแดนไทยกับสหภาพม่าผ่านไปจังหวัดดอยก่อ ไปยังเมืองต่องกี ประเทศพม่า ซึ่งจะเป็นเมืองกระจายสินค้าเข้าสู่เมืองหลวงใหม่พม่า (เมืองเนปิดอร์) ซึ่งพม่ามีผู้ประกอบการค้าชายแดน ผู้ประกอบการค้าพม่า เล็งเห็นถึงเส้นทางที่จะลดต้นทุนการขนส่งสินค้าเมื่อเทียบกับเส้นทาง R3b ที่ต่อเชื่อมจากจีน และตัดอุโมงค์เข้าเชียงราย-เชียงใหม่ และย้อนกลับไปยังเมืองหลวงใหม่พม่า