ผู้จัดการออนไลน์ - UNDP ร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เปิดตัวโครงการการเสริมสร้างธรรมาภิบาลและความโปร่งใสในท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการกระจายอำนาจและธรรมาภิบาลท้องถิ่น ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และลำปาง
วันนี้ (12 ก.ย.) ที่หอประชุมเทศบาลตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ได้มีการจัดงานเปิดตัวแนะนำโครงการเสริมสร้างธรรมาภิบาลและความโปร่งใสในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการกระจายอำนาจและธรรมาภิบาลท้องถิ่น ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และลำปาง นำโดย นายสมพร ใช้บางยาง อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมผู้เข้าร่วมงานจากหน่วยราชการในท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และผู้แทนจากสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นดีพี (UNDP) อีกด้วย
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการหารือและมีดำริร่วมกันของรัฐบาลไทยและยูเอ็นดีพี จึงได้ร่วมจัดทำโครงการขึ้น และบัดนี้ พร้อมที่จะเริ่มดำเนินงานอย่างเป็นทางการเป็นวันแรก ทั้งนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนกระบวนการกระจาย อำนาจ และแสวงหาข้อเสนอเชิงนโยบายให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่ บุคลากรภาครัฐ ปรับปรุงมาตรการต่างๆ เพื่อต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวง รวมทั้งบูรณาการการดำเนินงาน ของส่วนราชการต่างๆ ตลอดจนส่งเสริมสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนยากไร้ ผู้หญิง และชุมชน เปราะบาง
ในชั้นต้นโครงการได้คัดเลือกจังหวัดลำปาง และเชียงใหม่ ให้เป็น 2 จังหวัดนำร่อง โดยกำหนดให้มีดัชนีชี้วัด เพื่อประเมินการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเพื่อติดตามผลการทำงาน ด้านความโปร่งใส ความพร้อมรับผิด รวมถึงประเมินผลการดำเนินงาน ที่เป็นภารกิจของหน่วยงานองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ส่วนการพัฒนาตัวชี้วัดนั้น ได้มีการการศึกษาหารือร่วมกันจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งสมาชิกในชุมชน ตัวแทนต่างๆจากหลายภาคส่วน ภาคเกษตรกรรม กลุ่มผู้หญิง เจ้าหน้าที่จากสาธารณสุข และ บรรดาครูจากโรงเรียนในท้องถิ่น
หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่งที่เข้าร่วมโครงการนี้ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าผา และเทศบาลตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง หน่วยงานดังกล่าวนี้ได้ร่วมลงในความตกลง เพื่อสาน เจตนารมณ์ของโครงการนี้ไปสู่เป้าหมาย -- โปร่งใส พร้อมรับผิด ตรวจสอบได้ ยึดมั่นธรรมาภิบาล
การเปิดตัวแนะนำโครงการในจังหวัดลำปางวันนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของภารกิจอันยาวไกล โครงการนี้ เป็นผลพวงความร่วมมือจากหลายภาคส่วน รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยคาดหวังว่าการทำงาน ด้านการกระจายอำนาจและธรรมาภิบาลท้องถิ่นจะเดินไปสู่เป้าหมายและส่งผลเป็นรูปธรรม เพื่อสนองตอบ และตรงต่อความต้องการของประชาชน
นายยูชวย ซือ รองผู้แทนยูเอ็นดีพีประจำประเทศไทย กล่าวว่า ระบบการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี หรือ ธรรมาภิบาลภายใต้ระบอบประชาธิปไตยนั้น เป็นเรื่องที่สอดคล้องกันและควบคู่ไปกับการพัฒนาคน ซึ่งเป็นฐานราก การดำเเนินงานของยูเอ็นดีพี ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะประสบความสำเร็จด้านการพัฒนาอย่างน่าประทับใจ เป็นเวลากว่าทศวรรษ แต่ความเหลื่อมล้ำยังคงปรากฎอยู่ชัด จะเห็นได้ถึงความแตกต่างระหว่างชุมชนเมือง และชุมชนชนบท โดยเฉพาะด้านการพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ
ดังนั้น ยูเอ็นดีพี จึงร่วมสนับสนุนความพยายามของรัฐบาลไทยในการปรับปรุงแก้ไขสภาพการณ์ของแต่ละพื้นที่โดยอาศัยกระบวน การกระจายอำนาจในเชิงนโยบาย รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรามีความ ภูมิใจมากที่ได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในความพยายามครั้งนี้ และหวังว่าจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อประโยชน์สุขของชุมชน
“โครงการได้รับเงินสนับสนุนช่วยเหลือจากยูเอ็นดีพี เป็นเงิน 300,000 แสนเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 10,350,000 ล้านบาท) โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ปี” นายยูชวย กล่าว
วันนี้ (12 ก.ย.) ที่หอประชุมเทศบาลตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ได้มีการจัดงานเปิดตัวแนะนำโครงการเสริมสร้างธรรมาภิบาลและความโปร่งใสในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการกระจายอำนาจและธรรมาภิบาลท้องถิ่น ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และลำปาง นำโดย นายสมพร ใช้บางยาง อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมผู้เข้าร่วมงานจากหน่วยราชการในท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และผู้แทนจากสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นดีพี (UNDP) อีกด้วย
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการหารือและมีดำริร่วมกันของรัฐบาลไทยและยูเอ็นดีพี จึงได้ร่วมจัดทำโครงการขึ้น และบัดนี้ พร้อมที่จะเริ่มดำเนินงานอย่างเป็นทางการเป็นวันแรก ทั้งนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนกระบวนการกระจาย อำนาจ และแสวงหาข้อเสนอเชิงนโยบายให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่ บุคลากรภาครัฐ ปรับปรุงมาตรการต่างๆ เพื่อต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวง รวมทั้งบูรณาการการดำเนินงาน ของส่วนราชการต่างๆ ตลอดจนส่งเสริมสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนยากไร้ ผู้หญิง และชุมชน เปราะบาง
ในชั้นต้นโครงการได้คัดเลือกจังหวัดลำปาง และเชียงใหม่ ให้เป็น 2 จังหวัดนำร่อง โดยกำหนดให้มีดัชนีชี้วัด เพื่อประเมินการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเพื่อติดตามผลการทำงาน ด้านความโปร่งใส ความพร้อมรับผิด รวมถึงประเมินผลการดำเนินงาน ที่เป็นภารกิจของหน่วยงานองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ส่วนการพัฒนาตัวชี้วัดนั้น ได้มีการการศึกษาหารือร่วมกันจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งสมาชิกในชุมชน ตัวแทนต่างๆจากหลายภาคส่วน ภาคเกษตรกรรม กลุ่มผู้หญิง เจ้าหน้าที่จากสาธารณสุข และ บรรดาครูจากโรงเรียนในท้องถิ่น
หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่งที่เข้าร่วมโครงการนี้ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าผา และเทศบาลตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง หน่วยงานดังกล่าวนี้ได้ร่วมลงในความตกลง เพื่อสาน เจตนารมณ์ของโครงการนี้ไปสู่เป้าหมาย -- โปร่งใส พร้อมรับผิด ตรวจสอบได้ ยึดมั่นธรรมาภิบาล
การเปิดตัวแนะนำโครงการในจังหวัดลำปางวันนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของภารกิจอันยาวไกล โครงการนี้ เป็นผลพวงความร่วมมือจากหลายภาคส่วน รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยคาดหวังว่าการทำงาน ด้านการกระจายอำนาจและธรรมาภิบาลท้องถิ่นจะเดินไปสู่เป้าหมายและส่งผลเป็นรูปธรรม เพื่อสนองตอบ และตรงต่อความต้องการของประชาชน
นายยูชวย ซือ รองผู้แทนยูเอ็นดีพีประจำประเทศไทย กล่าวว่า ระบบการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี หรือ ธรรมาภิบาลภายใต้ระบอบประชาธิปไตยนั้น เป็นเรื่องที่สอดคล้องกันและควบคู่ไปกับการพัฒนาคน ซึ่งเป็นฐานราก การดำเเนินงานของยูเอ็นดีพี ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะประสบความสำเร็จด้านการพัฒนาอย่างน่าประทับใจ เป็นเวลากว่าทศวรรษ แต่ความเหลื่อมล้ำยังคงปรากฎอยู่ชัด จะเห็นได้ถึงความแตกต่างระหว่างชุมชนเมือง และชุมชนชนบท โดยเฉพาะด้านการพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ
ดังนั้น ยูเอ็นดีพี จึงร่วมสนับสนุนความพยายามของรัฐบาลไทยในการปรับปรุงแก้ไขสภาพการณ์ของแต่ละพื้นที่โดยอาศัยกระบวน การกระจายอำนาจในเชิงนโยบาย รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรามีความ ภูมิใจมากที่ได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในความพยายามครั้งนี้ และหวังว่าจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อประโยชน์สุขของชุมชน
“โครงการได้รับเงินสนับสนุนช่วยเหลือจากยูเอ็นดีพี เป็นเงิน 300,000 แสนเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 10,350,000 ล้านบาท) โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ปี” นายยูชวย กล่าว