ศูนย์ข่าวภาคเหนือ - ม็อบข้าวโพดโผล่ซ้ำซาก ล่าสุดเกษตรกร 7 ตำบลทั่วเวียงป่าเป้า เมืองพ่อขุนฯโผล่ เรียกร้องรัฐประกันราคาที่ 6 บาท/กก. อ้างปีนี้ขาดทุน 360 บาท/ไร่ หลังต้นทุนทุกอย่างพุ่ง แถมถูกข้าวโพดจากเพื่อนบ้านตีตลาดซ้ำ เผยที่ผ่านมารัฐบาลรับปากให้ คชก.รับจำนำ แต่จนถึงวันนี้ยังไร้วี่แวว
เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น.วันนี้ (10 ก.ย.) ได้มีชาวบ้านผู้ปลูกข้าวโพดจากพื้นที่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย จาก 7 ตำบลในอำเภอเวียงป่าเป้า คือ ต.สันสลี ต.ป่างิ้ว ต.เวียง ต.บ้านโป่ง ต.เวียงกาหลง ต.แม่เจดีย์ และ ต.แม่เจดีย์ใหม่ รวมประมาณ 400 คน เดินทางไปรวมตัวกัน ณ ที่ว่าการ อ.เวียงป่าเป้า เพื่อเรียกร้องให้ภาครัฐช่วยเหลือเรื่องราคาข้าวโพดที่กำลังตกต่ำอย่างหนัก
โดยนายชัยณรงค์ บุญวิวัฒนาการ นายอำเภอเวียงป่าเป้า พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอที่เกี่ยวข้องได้เจรจากับตัวแทนกลุ่มชาวบ้าน ต่อมากลุ่มชาวบ้านได้ยื่นเหตุผลของการชุมนุมและข้อเรียกร้องเป็นหนังสือ
โดยระบุว่า ปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดแต่ละรายมีต้นทุนในการปลูกต่อไร่ประกอบไปด้วยค่าเช่าที่ดิน 300 บาท ค่าถางและปรับที่ดิน 600 บาท ค่าซื้อเมล็ดพันธุ์ 3 กิโลกรัมเป็นเงินรวม 360 บาท ค่าจ้างปลูก 300 บาทต่อวัน ค่าปุ๋ยน้ำหนัก 25 กิโลกรัมเป็นเงิน 700 บาท ค่าแรงใส่ปุ๋ยอีก 150 บาท ฯลฯ เมื่อรวมค่าขนส่งและอื่นๆ แล้วจะมีต้นทุนต่อไร่เป็นเงิน 4,460 บาทต่อฤดูกาล แต่ปรากฎว่าราคาข้าวโพดความชื้น 28-30% ที่ขายได้ในปัจจุบันคือกิโลกรัมละประมาณ 4.50 บาท แต่ละไร่เก็บผลผลิตได้ประมาณ 800 กิโลกรัม จึงทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการขายไร่ละประมาณ 3,600 บาท ทำให้ขาดทุนไร่ละ 360 บาท
นายจิระพงศ์ เกียรติจิระกุล แกนนำชาวบ้าน กล่าวว่า เวียงป่าเป้า ปลูกข้าวโพดรวมกันมากกว่า 10,000 ไร่ หรือใช้พื้นที่กว่า 70% ของอำเภอเพื่อปลูกข้าวโพด ปัจจุบันเกษตรกรได้เก็บเกี่ยวผลผลิตออกจำหน่ายแล้วเพียง 10% ก็พบกับปัญหาราคาตกต่ำดังกล่าว ซึ่งภาวะการขาดทุนเช่นนี้ทำให้พวกเราอยู่ไม่ได้แน่นอนจนถึงขั้นต้องเป็นหนี้เป็นสิน ดังนั้นจึงเรียกร้องให้ภาครัฐเข้าช่วยเพื่อให้สามารถขายได้กิโลกรัมละประมาณ 6 บาท จึงจะทำให้ลืมตาอ้าปากได้บ้าง
รายงานข่าวแจ้งว่า ต่อมานายอำเภอเวียงป่าเป้าได้เจรจากับชาวบ้านโดยรับปากว่าจะยื่นเรื่องให้นายไตรสิทธิ์ สินสมบูรณ์ทอง ผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย ได้รับทราบ ทำให้กลุ่มชาวบ้านแยกย้ายกันกลับไปรอฟังความคืบหน้าต่อไป
ก่อนหน้านี้เคยมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดในภาคเหนืออย่างต่อเนื่องทั้งที่ อ.เชียงแสน อ.เชียงของ จ.เชียงราย แต่ไม่รุนแรง เป็นเพียงการเรียกร้องให้ภาครัฐเข้าช่วยเหลือเนื่องจากราคาตกตกต่ำและมีข้าวโพดจากประเทศเพื่อนบ้านราคาถูกทะลักเข้ามาตามชายแดนเป็นจำนวนมาก แต่บางพื้นทื่ เช่น อ.ปง จ.พะเยา ถึงขั้นปิดถนน ทำให้รัฐบาลต้องเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน 17 จังหวัดในภาคเหนือ และแจ้งว่าจะให้คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เข้ามาดูแลด้วยการใช้มาตรการจำนำในราคาที่เกษตรกรต้องการ
แต่ก็เป็นเพียงการแจ้งให้ทราบเท่านั้น ไม่ได้มีการประกาศรับจำนำอย่างเป็นทางการ ซึ่งก็ทำให้เกษตรกรที่ออกมาเคลื่อนไหวในหลายพื้นที่ยุติการชุมนุมไป อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้สูงที่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดจะกลับมารวมตัวชุมนุมเรียกร้องอีกครั้งและอาจจะรุนแรงกว่าเดิมเพราะไม่ได้รับการตอบสนองเท่าที่ควร
เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น.วันนี้ (10 ก.ย.) ได้มีชาวบ้านผู้ปลูกข้าวโพดจากพื้นที่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย จาก 7 ตำบลในอำเภอเวียงป่าเป้า คือ ต.สันสลี ต.ป่างิ้ว ต.เวียง ต.บ้านโป่ง ต.เวียงกาหลง ต.แม่เจดีย์ และ ต.แม่เจดีย์ใหม่ รวมประมาณ 400 คน เดินทางไปรวมตัวกัน ณ ที่ว่าการ อ.เวียงป่าเป้า เพื่อเรียกร้องให้ภาครัฐช่วยเหลือเรื่องราคาข้าวโพดที่กำลังตกต่ำอย่างหนัก
โดยนายชัยณรงค์ บุญวิวัฒนาการ นายอำเภอเวียงป่าเป้า พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอที่เกี่ยวข้องได้เจรจากับตัวแทนกลุ่มชาวบ้าน ต่อมากลุ่มชาวบ้านได้ยื่นเหตุผลของการชุมนุมและข้อเรียกร้องเป็นหนังสือ
โดยระบุว่า ปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดแต่ละรายมีต้นทุนในการปลูกต่อไร่ประกอบไปด้วยค่าเช่าที่ดิน 300 บาท ค่าถางและปรับที่ดิน 600 บาท ค่าซื้อเมล็ดพันธุ์ 3 กิโลกรัมเป็นเงินรวม 360 บาท ค่าจ้างปลูก 300 บาทต่อวัน ค่าปุ๋ยน้ำหนัก 25 กิโลกรัมเป็นเงิน 700 บาท ค่าแรงใส่ปุ๋ยอีก 150 บาท ฯลฯ เมื่อรวมค่าขนส่งและอื่นๆ แล้วจะมีต้นทุนต่อไร่เป็นเงิน 4,460 บาทต่อฤดูกาล แต่ปรากฎว่าราคาข้าวโพดความชื้น 28-30% ที่ขายได้ในปัจจุบันคือกิโลกรัมละประมาณ 4.50 บาท แต่ละไร่เก็บผลผลิตได้ประมาณ 800 กิโลกรัม จึงทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการขายไร่ละประมาณ 3,600 บาท ทำให้ขาดทุนไร่ละ 360 บาท
นายจิระพงศ์ เกียรติจิระกุล แกนนำชาวบ้าน กล่าวว่า เวียงป่าเป้า ปลูกข้าวโพดรวมกันมากกว่า 10,000 ไร่ หรือใช้พื้นที่กว่า 70% ของอำเภอเพื่อปลูกข้าวโพด ปัจจุบันเกษตรกรได้เก็บเกี่ยวผลผลิตออกจำหน่ายแล้วเพียง 10% ก็พบกับปัญหาราคาตกต่ำดังกล่าว ซึ่งภาวะการขาดทุนเช่นนี้ทำให้พวกเราอยู่ไม่ได้แน่นอนจนถึงขั้นต้องเป็นหนี้เป็นสิน ดังนั้นจึงเรียกร้องให้ภาครัฐเข้าช่วยเพื่อให้สามารถขายได้กิโลกรัมละประมาณ 6 บาท จึงจะทำให้ลืมตาอ้าปากได้บ้าง
รายงานข่าวแจ้งว่า ต่อมานายอำเภอเวียงป่าเป้าได้เจรจากับชาวบ้านโดยรับปากว่าจะยื่นเรื่องให้นายไตรสิทธิ์ สินสมบูรณ์ทอง ผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย ได้รับทราบ ทำให้กลุ่มชาวบ้านแยกย้ายกันกลับไปรอฟังความคืบหน้าต่อไป
ก่อนหน้านี้เคยมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดในภาคเหนืออย่างต่อเนื่องทั้งที่ อ.เชียงแสน อ.เชียงของ จ.เชียงราย แต่ไม่รุนแรง เป็นเพียงการเรียกร้องให้ภาครัฐเข้าช่วยเหลือเนื่องจากราคาตกตกต่ำและมีข้าวโพดจากประเทศเพื่อนบ้านราคาถูกทะลักเข้ามาตามชายแดนเป็นจำนวนมาก แต่บางพื้นทื่ เช่น อ.ปง จ.พะเยา ถึงขั้นปิดถนน ทำให้รัฐบาลต้องเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน 17 จังหวัดในภาคเหนือ และแจ้งว่าจะให้คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เข้ามาดูแลด้วยการใช้มาตรการจำนำในราคาที่เกษตรกรต้องการ
แต่ก็เป็นเพียงการแจ้งให้ทราบเท่านั้น ไม่ได้มีการประกาศรับจำนำอย่างเป็นทางการ ซึ่งก็ทำให้เกษตรกรที่ออกมาเคลื่อนไหวในหลายพื้นที่ยุติการชุมนุมไป อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้สูงที่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดจะกลับมารวมตัวชุมนุมเรียกร้องอีกครั้งและอาจจะรุนแรงกว่าเดิมเพราะไม่ได้รับการตอบสนองเท่าที่ควร