xs
xsm
sm
md
lg

บุรีรัมย์ดิ้นหนีตายน้ำมันแพง-แห่นำรถซาเล้ง/จยย.พ่วงติดตั้งแก๊สหุงต้ม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ผู้ประกอบการธุรกิจบุรีรัมย์สู้วิกฤติน้ำมันไม่ไหว แห่นำรถส่งสินนค้า ทั้ง ซาเล้ง-รถจักรยานยนต์พ่วงไปติดตั้งถังแก๊สหุงต้มใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิง วันนี้ ( 3 ก.ค.)
บุรีรัมย์ - ผู้ประกอบการธุรกิจบุรีรัมย์สู้วิกฤตน้ำมันไม่ไหว แห่นำรถส่งสินค้า ทั้ง ซาเล้ง-รถจักรยานยนต์พ่วง ไปติดตั้งถังแก๊สหุงต้ม ใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิงลดค่าน้ำมันได้มากกว่า 3 เท่า ขณะร้านติดตั้งทราบในข้อกฎหมาย พร้อมที่จะเลิกหากภาครัฐคุมเข้ม ด้านขนส่งจังหวัดฯ ย้ำเสี่ยงอันตราย อีกทั้งยังไม่มีการอนุญาตให้ใช้แก๊สในรถประเภทนี้ ผู้ติดตั้งและเจ้าของรถอาจเข้าข่ายกระทำผิด พ.ร.บ.เกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพรถ

วันนี้ (3 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังน้ำมันปรับขึ้นราคาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ ทนแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการเติมน้ำรถนำขนส่งสินค้าไม่ไหว ต้องหาทางออกเพื่อความอยู่รอด โดยการนำรถจักรยานยนต์พ่วง และรถชาเล้งที่ใช้ขนส่งสินค้าไปดัดแปลงทางเทคนิคติดตั้งใช้แก๊สหุงต้ม แทนน้ำมันมันเชื้อเพลิง

โดยมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งคันละกว่า 6,000 บาท ทำให้สามารถประหยัดและลดค่าใช้จ่าย จากที่เคยชื้อน้ำมันเชื้อเพลิงวันละ 150-200 บาทต่อคัน เมื่อหันมาใช้แก๊สหุงต้มหรือแก๊ส แอลพีจีแล้ว สามารถประหยัดได้มากกว่า 3 เท่า เพราะแก๊สหุงต้มถัง 5 กิโลกรัมราคา 160 บาท หากนำมาติดตั้งจะสามารถใช้ขับขี่ขนส่งสินค้าได้นานถึง 6 วัน ถึงแม้การติดตั้งไม่มีการรับรองความปลอดภัย จากร้านที่ติดตั้ง และไม่ผ่านความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก กำหนดไว้ก็ตาม

นายสุเมธ อัจฉยะสวัสดิ์ ผู้ประกอบการโรงงานน้ำแข็งรายหนึ่ง บอกว่า ทนที่จะแบกรับภาระค่าขนส่งสินค้าไม่ไหว กับสภาวะน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงได้นำรถไปติดตั้งแก๊สหุงต้มเพื่อลดค่าใช้จ่าย ซึ่งหลังจากนำรถจักรยานยนต์พ่วงไปแปลงสภาพ ติดตั้งเปลี่ยนมาใช้แก๊สหุงต้มแล้วได้ผลดี ทำให้ประหยัดขึ้นมากถึง 3 เท่า และจะนำรถที่ยังเหลือไปดัดแปลงเปลี่ยนมาใช้แก๊ส เพื่อความประหยัดให้หมดทุกคันเพื่อความอยู่รอดต่อไป

ด้าน นายพัฒนา ศักดิ์ไทยพัฒนา เจ้าของโรงกึงไทยพัฒนา ยอมรับว่า การดัดแปลงสภาพรถเข้าข่ายผิดกฎหมาย แต่ลูกค้าก็มีความต้องการที่จะประหยัดน้ำมันในสภาวะเศรษฐกิจที่ฟืด เคือง จึงจำเป็นต้องหันมาใช้แก๊สแทนน้ำมันเพื่อลดค่าใช้จ่าย ส่วนอุปกรณ์ติดตั้งหาได้ง่ายภายในจังหวัด ส่วนวิธีการติดตั้งเรียนรู้มาจากโรงกลึงที่ได้มีการติดตั้งมาก่อน แล้วนำความรู้มาดัดแปลงติดตั้งให้กับลูกค้า ส่วนเรื่องความปลอดภัยก็มีความกังวลอยู่บ้าง แต่ก็ได้มีการแนะนำวิธีใช้ให้ลูกค้า

อย่างไรก็ตาม หากทางภาครัฐมีการตรวจสอบและคุมเข้ม ทางร้านก็พร้อมจะปฏิตาม แต่หากเป็นไปได้ก็อยากให้มีการอลุ้มอล่วย หรือให้เจ้าหน้าที่มาแนะนำวิธีการติดตั้งที่ให้เกิดความปลอดภัยไม่เสี่ยงอันตรายแทนที่จะมาคุมเข้ม โดยเฉพาะในช่วงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในยุคปัจจุบันเช่นนี้

ขณะที่ นายธีระพล อรุณะกสิกร ขนส่งจังหวัดบุรีรัมย์ เปิดเผย ว่า การนำรถจักรยานยนต์ไปติดตั้งระบบใช้แก๊ส แอลพีจี หรือ แก๊สหุงต้ม โดยไม่ผ่านการตรวจสภาพและไม่ได้รับความเห็นชอบจากวิศวกร เสี่ยงต่ออันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ อีกทั้งกรมการขนส่งทางบก ยังไม่มีการอนุญาตให้ใช้แก๊สในรถประเภทนี้ ผู้ติดตั้งและเจ้าของรถอาจเข้าข่ายกระทำผิด พ.ร.บ.เกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพรถดังกล่าวด้วย
กำลังโหลดความคิดเห็น