ศูนย์ข่าวศรีราชา – นักวิชาการหลายฝ่าย ไม่เห็นด้วยในการที่รัฐบาลชุดที่นำโดยนายสมัคร สุนทรเวช จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์ส่วนตัว มิใช่เพื่อประชาชนโดยแท้จริง อีกทั้งควรทดลองใช้หาข้อบกพร่องก่อนพิจารณาแก้ไขให้ดีกว่าเดิม
อาจารย์อัตถสิทธิ์ ไชยณรงค์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี กล่าวว่า สำหรับกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 โดยส่วนตัวแล้ว ตนมีความคิดเป็นกลาง ไม่ได้ฝักใฝ่ฝ่ายใดเป็นพิเศษ แต่ตนคิดว่าหากการแก้ไขเกิดขึ้น ผลประโยชน์จะเกิดกับฝ่ายที่ต้องการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น
ดังนั้น จึงอยากให้ฝ่ายที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลง และฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลง ออกมาให้ข้อมูลที่ชัดเจนกับประชาชนถึงเหตุผลที่ควรเปลี่ยน และไม่ควรเปลี่ยน หากหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงได้ก็จะเป็นเรื่องดี หรืออาจจะทำเพียงแค่ปรับรายละเอียดให้เข้ากับยุคสมัยก็น่าจะเพียงพอแล้ว
รศ.ตระกูล มีชัย อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นจัดว่าเป็นประเด็นที่จะมีผลขยายใหญ่ขึ้น โดยตามหลักการแล้วจะสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ก็ต่อเมื่อ รัฐธรรมนูญฉบับนั้นๆ มีข้อบกพร่อง ทั้งนี้ทั้งนั้นรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวก็ต้องผ่านการทดลองใช้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเช่นกัน
การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 เป็นการแก้ไขแบบยกเข่ง คือ เป็นการพยายามที่จะเอาชนะกันและกัน ระหว่างกลุ่มของทักษิณ กับกลุ่มตัวแทนผู้ปฏิวัติ ซึ่งแฝงนัยแบบปิดบัง ต้องการทวงคืน ปกป้องอำนาจของตน ไม่แสดงให้เห็นถึงเจตนาที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลง หากต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญตนต้องการให้เป็นการแก้ไขใหม่ทั้งฉบับ เหมือนกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2534 และปี 2540 ที่มีปัญหาทางด้านโครงสร้าง กลไก และระบบการเมือง อีกทั้งหลายฝ่ายต้องพร้อมใจกัน และเห็นชอบในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ด้วย
ด้าน ดร.ณัฐฎา สรรพศรี อาจารย์ประจำวิชาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการไทย กล่าวถึง การแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ความจริงแล้วสามารถกระทำได้ แต่จะต้องแก้ไขในมาตราที่ไม่เหมาะสม และมีความจำเป็นจริงๆ ในส่วนตัวแล้วไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการแก้
ของนักการเมือง มิใช่การแสวงหาผลประโยชน์เพื่อประชาชน
ทั้งนี้ รัฐบาลควรแก้ปัญหาในด้านอื่นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ถูกจุด และทำให้ประชาชนได้เห็นผลงานของรัฐบาลที่มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ส่วนในเรื่องของการชุมนุมการยื่นคัดค้านรัฐธรรมนูญนั้นก็จะต้องกระทำการด้วยความสงบเรียนร้อยเช่นกัน
อาจารย์อัตถสิทธิ์ ไชยณรงค์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี กล่าวว่า สำหรับกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 โดยส่วนตัวแล้ว ตนมีความคิดเป็นกลาง ไม่ได้ฝักใฝ่ฝ่ายใดเป็นพิเศษ แต่ตนคิดว่าหากการแก้ไขเกิดขึ้น ผลประโยชน์จะเกิดกับฝ่ายที่ต้องการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น
ดังนั้น จึงอยากให้ฝ่ายที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลง และฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลง ออกมาให้ข้อมูลที่ชัดเจนกับประชาชนถึงเหตุผลที่ควรเปลี่ยน และไม่ควรเปลี่ยน หากหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงได้ก็จะเป็นเรื่องดี หรืออาจจะทำเพียงแค่ปรับรายละเอียดให้เข้ากับยุคสมัยก็น่าจะเพียงพอแล้ว
รศ.ตระกูล มีชัย อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นจัดว่าเป็นประเด็นที่จะมีผลขยายใหญ่ขึ้น โดยตามหลักการแล้วจะสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ก็ต่อเมื่อ รัฐธรรมนูญฉบับนั้นๆ มีข้อบกพร่อง ทั้งนี้ทั้งนั้นรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวก็ต้องผ่านการทดลองใช้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเช่นกัน
การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 เป็นการแก้ไขแบบยกเข่ง คือ เป็นการพยายามที่จะเอาชนะกันและกัน ระหว่างกลุ่มของทักษิณ กับกลุ่มตัวแทนผู้ปฏิวัติ ซึ่งแฝงนัยแบบปิดบัง ต้องการทวงคืน ปกป้องอำนาจของตน ไม่แสดงให้เห็นถึงเจตนาที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลง หากต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญตนต้องการให้เป็นการแก้ไขใหม่ทั้งฉบับ เหมือนกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2534 และปี 2540 ที่มีปัญหาทางด้านโครงสร้าง กลไก และระบบการเมือง อีกทั้งหลายฝ่ายต้องพร้อมใจกัน และเห็นชอบในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ด้วย
ด้าน ดร.ณัฐฎา สรรพศรี อาจารย์ประจำวิชาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการไทย กล่าวถึง การแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ความจริงแล้วสามารถกระทำได้ แต่จะต้องแก้ไขในมาตราที่ไม่เหมาะสม และมีความจำเป็นจริงๆ ในส่วนตัวแล้วไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการแก้
ของนักการเมือง มิใช่การแสวงหาผลประโยชน์เพื่อประชาชน
ทั้งนี้ รัฐบาลควรแก้ปัญหาในด้านอื่นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ถูกจุด และทำให้ประชาชนได้เห็นผลงานของรัฐบาลที่มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ส่วนในเรื่องของการชุมนุมการยื่นคัดค้านรัฐธรรมนูญนั้นก็จะต้องกระทำการด้วยความสงบเรียนร้อยเช่นกัน