สกลนคร - ผู้ว่าฯ สกลนคร เต้นพบที่ดินป่า และที่ดินสาธารณะถูกบุกรุกเกือบ 3 พันไร่ ทั้งอุทยานฯ ป่าสงวนฯ ที่ราชพัสดุและที่สาธารณะ สั่งตรวจสอบย้อนหลัง 5 ปี เผยสั่งแจ้งความเอาผิดแล้ว 201 คดี ด้านผู้การตำรวจสั่งระดมเฝ้าระวังเต็มที่ เน้นต้องเร่งสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนร่วมกันรักและหวงแหนผืนป่า
นายไพรัตน์ สกลพันธุ์ ผู้ว่าราชการสกลนคร เปิดเผยว่า จากการที่ทางรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย ได้สั่งให้มีการสำรวจพื้นที่ที่ถูกบุกรุก โดยเฉพาะป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ ที่ราชพัสดุ และที่สาธารณะประโยชน์ พร้อมให้มีการรายงานต่อกระทรวงมหาดไทยเพื่อรับทราบ
จากการตรวจสอบพบพื้นที่ที่มีการบุกรุก ได้แก่ อุทยานแห่งชาติภูพาน จำนวน 35 แปลง เนื้อที่ 119 ไร่ ผู้บุกรุก 18 ราย, อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก จำนวน 8 แปลง เนื้อที่ 101 ไร่ ผู้บุกรุก 8 ราย, อุทยานแห่งชาติภูผายล จำนวน 105 แปลง เนื้อที่ 665 ไร่ ผู้บุกรุก 44 ราย, ธนารักษ์พื้นที่สกลนคร จำนวน 11 แปลง เนื้อที่ 289 ไร่ ผู้บุกรุก 369 ราย
อ.เมืองสกลนคร พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติจำนวน 2 แปลง เนื้อที่ 5 ไร่ ผู้บุกรุก 2 ราย, อ.สว่างแดนดิน ที่สาธารณประโยชน์ จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 41 ไร่ ผู้บุกรุก 10 ราย, อ.วานรนิวาส ที่สาธารณะประโยชน์ จำนวน 2 แปลง เนื้อที่ 300 ไร่ ผู้บุกรุก 2 ราย, อ.พรรณานิคม ที่สาธารณประโยชน์ จำนวน 4 แปลง เนื้อที่ 397 ไร่ ผู้บุกรุก 16 ราย, อ.พรรณานิคม ประเภทลำห้วย จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 10 ไร่ ผู้บุกรุก 4 ราย, อ.วาริชภูมิ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 4 แปลง เนื้อที่ 36 ไร่ ผู้บุกรุก 4 ราย, อ.กุสุมาลย์ ที่สาธารณประโยชน์ จำนวน 29 แปลง เนื้อที่ 272 ไร่ ผู้บุกรุก 29 ราย อ.ภูพาน
พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 25 ไร่ อ.ภูพาน, อุทยานแห่งชาติ จำนวน 9 แปลง เนื้อที่ 31 ไร่, อ.เต่างอย ที่สาธารณประโยชน์ จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 51 ไร่ ผู้บุกรุก 1 ราย, อ.นิคมน้ำอูน พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 53 ไร่ ผู้บุกรุก 2 ราย, อ.กุดบาก พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เนื้อที่ 120 ไร่ อ.กุดบาก อุทยานแห่งชาติ เนื้อที่ 930 ไร่ รวมพื้นที่บุกรุก 3,405 ไร่
เนื่องจากป่าในเขตนี้ถือได้ว่าเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ ป่าในแนวนี้จึงมีความอุดมสมบูรณ์ หากยังมีการบุกรุกต่อไปอาจส่งผลเสียต่อระบบนิเวศของธรรมชาติอย่างแน่นนอน อาทิระบบการดำรงชีวิตของสัตว์ป่า การสร้างระบบนิเวศของของป่าไม้ตามธรรมชาติที่ลดลง และจะส่งผลเสียต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อย่างแน่นนอน
ล่าสุด จากการที่นายอำเภอทุกเขตที่ได้รับคำสั่งให้ตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่ป่า ได้มีการรายงานว่า ได้มีการแจ้งความดำเนินคดีย้อนหลังไป 5 ปี ต่อผู้ที่บุกรุกที่ป่าทั้งในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ ที่ราชพัสดุที่สาธารณะประโยชน์ สามารดำเนินคดีแล้วทั้งสิ้น 201 คดี และยังคงเตรียมดำเนินคดีต่ออีกหลายคดีในหลายแห่งเมื่อได้ตรวจสอบในเอกสารสิทธิเสร็จสิ้นว่าได้รับโดยถูกต้อง หรือเป็นการบุกรุกพื้นที่ เพราะต้องเร่งดำเนินการโดยเฉียบขาด โดยจะไม่ยอมให้มีการเข้าบุกรุกอย่างแน่นนอน
ส่วนวิธีการส่วนใหญ่ที่พื้นที่โดยรวมถูกบุกรุกจะเป็นไปโดยการเข้าไป แผ้วถางป่า พร้อมบุกรุกเข้าไปตัดไม้ทำลายป่า เพื่อเข้าทำประโยชน์ ในการปลูกพืชเศรษฐกิจ อาทิ มันสำปะหลัง ยางพารา รวมถึงมีการลักลอบปลูกยาเสพติด (กัญชา) ในบางพื้นที่ โดยมีกลุ่มนายทุนทั้งในพื้นที่
รวมถึงนายทุนและผู้มีอิทธิพลนอกพื้นที่เข้ามาจ้างวานชาวบ้านที่อาศัยตามแนวเขตป่าให้เป็นผู้ดำเนินการในการเข้าบุกรุกที่เพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถสืบหาจับกุมถึงตัวนายทุนได้ และหากเมื่อมีการลักลอบตัดไม้ที่มีมูลค่าตามที่ตลาดต้องการไม้บางส่วนอาจมีการป้อนเข้าแปรรูปในโรงงานในพื้นที่โดยจะกระทำครั้งละไม่มากเพื่อการหลุดรอดสายตาของเจ้าหน้าที่
ส่วนไม้ที่ตลาดต่างประเทศต้องการ อาทิ ไม้พะยูง ไม้ยาง ไม้สัก ฯลฯ จะมีขบวนการขนย้ายโดยคาดใช้เส้นทางตามถนนสายรองในการลำเลียง เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจค้นจับกุม ออกนอกพื้นที่ ซึ่งไม้เหล่านี้หากมีการนำส่งขายออกนอกประเทศ หรือการลักลอบแปรรูปแล้วจะมีมูลค่ามหาสาร ส่งผลเสียต่อประเทศโดยตรง
ทางด้าน พล.ต.ต.อุดม จำปาจันทร์ ผบก.ภ.จว.สกลนคร เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบโดยการร่วมมือกับหลายฝ่ายพบว่าในพื้นที่ป่าในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ในหลายจุด พบว่าปัญหาการลักลอบตัดไม้ และการบุกรุกแผ้วถางป่าเพื่อทำประโยชน์โดยชาวบ้านและกลุ่มนายทุนยังคงมีให้เห็นในทุกพื้นที่
ส่วนมาตรการที่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจำเป็นต้องเร่งมือในการลงพื้นที่ปราบปรามและจับกุมผู้กระทำผิด คือ การให้ประชาชนต้องขึ้นบัญชีเลื่อยโซ่ยนต์ ทุกตัวหากตรวจสอบพบว่าเลื่อยยนต์ที่ไม่ได้รับอนุญาตขึ้นทะเบียนก็ต้องมีการดำเนินการโดยเด็ดขาด ส่วนการจับกุมการขนย้ายไม้ออกจากพื้นที่ ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการตั้งจุดตรวจจุดสกัดตลอด 24 ชม. เพื่อการปราบปรามอย่างจึงจัง จึงทำให้มอดไม้มีการใช้วิธิการอื่น เพื่อให้หลุดพ้นสายตาของเจ้าหน้าที่แต่ก็เป็นไปได้อยากยิ่งขึ้น เนื่องจากการทำงานในการปราบปรามเป็นไปแบบจุดตรวจใยแมงมุม จึงทำให้รอบการจับกุมที่ผ่านมาสามารถจับกุมเหล่ามอดไม้ได้อย่างต่อเนื่องและมีทีท่าว่าลดน้อยลง ส่วนการเข้าดำเนินการกับประชาชนในพื้นที่ที่มีการเข้าไปบุกรุกแผ้วถางป่า ถือว่าบางส่วนยังคงเป็นวิถี่ชีวิตคนในชุมชน ที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุ
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ภาครัฐต้องเร่งทำความเข้าใจกับคนในพื้นที่โดยอาศัยหลักรัฐศาสตร์ มากกว่านิติศาสตร์ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการปะทะใช้กำลัง คาดจะสามารถใช้ชีวิตร่วมกันได้ทั้งคน ป่า และสัตว์ ดีกว่าแน่นอน
นายไพรัตน์ สกลพันธุ์ ผู้ว่าราชการสกลนคร เปิดเผยว่า จากการที่ทางรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย ได้สั่งให้มีการสำรวจพื้นที่ที่ถูกบุกรุก โดยเฉพาะป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ ที่ราชพัสดุ และที่สาธารณะประโยชน์ พร้อมให้มีการรายงานต่อกระทรวงมหาดไทยเพื่อรับทราบ
จากการตรวจสอบพบพื้นที่ที่มีการบุกรุก ได้แก่ อุทยานแห่งชาติภูพาน จำนวน 35 แปลง เนื้อที่ 119 ไร่ ผู้บุกรุก 18 ราย, อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก จำนวน 8 แปลง เนื้อที่ 101 ไร่ ผู้บุกรุก 8 ราย, อุทยานแห่งชาติภูผายล จำนวน 105 แปลง เนื้อที่ 665 ไร่ ผู้บุกรุก 44 ราย, ธนารักษ์พื้นที่สกลนคร จำนวน 11 แปลง เนื้อที่ 289 ไร่ ผู้บุกรุก 369 ราย
อ.เมืองสกลนคร พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติจำนวน 2 แปลง เนื้อที่ 5 ไร่ ผู้บุกรุก 2 ราย, อ.สว่างแดนดิน ที่สาธารณประโยชน์ จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 41 ไร่ ผู้บุกรุก 10 ราย, อ.วานรนิวาส ที่สาธารณะประโยชน์ จำนวน 2 แปลง เนื้อที่ 300 ไร่ ผู้บุกรุก 2 ราย, อ.พรรณานิคม ที่สาธารณประโยชน์ จำนวน 4 แปลง เนื้อที่ 397 ไร่ ผู้บุกรุก 16 ราย, อ.พรรณานิคม ประเภทลำห้วย จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 10 ไร่ ผู้บุกรุก 4 ราย, อ.วาริชภูมิ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 4 แปลง เนื้อที่ 36 ไร่ ผู้บุกรุก 4 ราย, อ.กุสุมาลย์ ที่สาธารณประโยชน์ จำนวน 29 แปลง เนื้อที่ 272 ไร่ ผู้บุกรุก 29 ราย อ.ภูพาน
พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 25 ไร่ อ.ภูพาน, อุทยานแห่งชาติ จำนวน 9 แปลง เนื้อที่ 31 ไร่, อ.เต่างอย ที่สาธารณประโยชน์ จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 51 ไร่ ผู้บุกรุก 1 ราย, อ.นิคมน้ำอูน พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 53 ไร่ ผู้บุกรุก 2 ราย, อ.กุดบาก พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เนื้อที่ 120 ไร่ อ.กุดบาก อุทยานแห่งชาติ เนื้อที่ 930 ไร่ รวมพื้นที่บุกรุก 3,405 ไร่
เนื่องจากป่าในเขตนี้ถือได้ว่าเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ ป่าในแนวนี้จึงมีความอุดมสมบูรณ์ หากยังมีการบุกรุกต่อไปอาจส่งผลเสียต่อระบบนิเวศของธรรมชาติอย่างแน่นนอน อาทิระบบการดำรงชีวิตของสัตว์ป่า การสร้างระบบนิเวศของของป่าไม้ตามธรรมชาติที่ลดลง และจะส่งผลเสียต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อย่างแน่นนอน
ล่าสุด จากการที่นายอำเภอทุกเขตที่ได้รับคำสั่งให้ตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่ป่า ได้มีการรายงานว่า ได้มีการแจ้งความดำเนินคดีย้อนหลังไป 5 ปี ต่อผู้ที่บุกรุกที่ป่าทั้งในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ ที่ราชพัสดุที่สาธารณะประโยชน์ สามารดำเนินคดีแล้วทั้งสิ้น 201 คดี และยังคงเตรียมดำเนินคดีต่ออีกหลายคดีในหลายแห่งเมื่อได้ตรวจสอบในเอกสารสิทธิเสร็จสิ้นว่าได้รับโดยถูกต้อง หรือเป็นการบุกรุกพื้นที่ เพราะต้องเร่งดำเนินการโดยเฉียบขาด โดยจะไม่ยอมให้มีการเข้าบุกรุกอย่างแน่นนอน
ส่วนวิธีการส่วนใหญ่ที่พื้นที่โดยรวมถูกบุกรุกจะเป็นไปโดยการเข้าไป แผ้วถางป่า พร้อมบุกรุกเข้าไปตัดไม้ทำลายป่า เพื่อเข้าทำประโยชน์ ในการปลูกพืชเศรษฐกิจ อาทิ มันสำปะหลัง ยางพารา รวมถึงมีการลักลอบปลูกยาเสพติด (กัญชา) ในบางพื้นที่ โดยมีกลุ่มนายทุนทั้งในพื้นที่
รวมถึงนายทุนและผู้มีอิทธิพลนอกพื้นที่เข้ามาจ้างวานชาวบ้านที่อาศัยตามแนวเขตป่าให้เป็นผู้ดำเนินการในการเข้าบุกรุกที่เพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถสืบหาจับกุมถึงตัวนายทุนได้ และหากเมื่อมีการลักลอบตัดไม้ที่มีมูลค่าตามที่ตลาดต้องการไม้บางส่วนอาจมีการป้อนเข้าแปรรูปในโรงงานในพื้นที่โดยจะกระทำครั้งละไม่มากเพื่อการหลุดรอดสายตาของเจ้าหน้าที่
ส่วนไม้ที่ตลาดต่างประเทศต้องการ อาทิ ไม้พะยูง ไม้ยาง ไม้สัก ฯลฯ จะมีขบวนการขนย้ายโดยคาดใช้เส้นทางตามถนนสายรองในการลำเลียง เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจค้นจับกุม ออกนอกพื้นที่ ซึ่งไม้เหล่านี้หากมีการนำส่งขายออกนอกประเทศ หรือการลักลอบแปรรูปแล้วจะมีมูลค่ามหาสาร ส่งผลเสียต่อประเทศโดยตรง
ทางด้าน พล.ต.ต.อุดม จำปาจันทร์ ผบก.ภ.จว.สกลนคร เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบโดยการร่วมมือกับหลายฝ่ายพบว่าในพื้นที่ป่าในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ในหลายจุด พบว่าปัญหาการลักลอบตัดไม้ และการบุกรุกแผ้วถางป่าเพื่อทำประโยชน์โดยชาวบ้านและกลุ่มนายทุนยังคงมีให้เห็นในทุกพื้นที่
ส่วนมาตรการที่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจำเป็นต้องเร่งมือในการลงพื้นที่ปราบปรามและจับกุมผู้กระทำผิด คือ การให้ประชาชนต้องขึ้นบัญชีเลื่อยโซ่ยนต์ ทุกตัวหากตรวจสอบพบว่าเลื่อยยนต์ที่ไม่ได้รับอนุญาตขึ้นทะเบียนก็ต้องมีการดำเนินการโดยเด็ดขาด ส่วนการจับกุมการขนย้ายไม้ออกจากพื้นที่ ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการตั้งจุดตรวจจุดสกัดตลอด 24 ชม. เพื่อการปราบปรามอย่างจึงจัง จึงทำให้มอดไม้มีการใช้วิธิการอื่น เพื่อให้หลุดพ้นสายตาของเจ้าหน้าที่แต่ก็เป็นไปได้อยากยิ่งขึ้น เนื่องจากการทำงานในการปราบปรามเป็นไปแบบจุดตรวจใยแมงมุม จึงทำให้รอบการจับกุมที่ผ่านมาสามารถจับกุมเหล่ามอดไม้ได้อย่างต่อเนื่องและมีทีท่าว่าลดน้อยลง ส่วนการเข้าดำเนินการกับประชาชนในพื้นที่ที่มีการเข้าไปบุกรุกแผ้วถางป่า ถือว่าบางส่วนยังคงเป็นวิถี่ชีวิตคนในชุมชน ที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุ
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ภาครัฐต้องเร่งทำความเข้าใจกับคนในพื้นที่โดยอาศัยหลักรัฐศาสตร์ มากกว่านิติศาสตร์ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการปะทะใช้กำลัง คาดจะสามารถใช้ชีวิตร่วมกันได้ทั้งคน ป่า และสัตว์ ดีกว่าแน่นอน