มหาสารคาม - เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมหลายรายในจังหวัดมหาสารคาม เริ่มประสบปัญหาภัยแล้งคุกคาม ส่งผลให้ต้นทุนการเลี้ยง เพิ่มขึ้นอีกกว่าร้อยละ 30
นางเพลินพิศ ทวีโชค เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม เขตพื้นที่อำเภอเมืองมหาสารคาม กล่าวว่า ต้นทุนที่เกิดขึ้นในการเลี้ยงโคนม 5 ตัว ขณะนี้เพิ่มขึ้นจากที่ผ่านมาอีกกว่าร้อยละ 40 นอกจากต้นทุนค่าขนส่งที่เกิดขึ้นจากน้ำมันแพงแล้ว สภาพความแห้งแล้งยังทำให้แปลงหญ้าแห้งไม่สามารถใช้เลี้ยงสัตว์ได้ ต้องซื้ออาหารหยาบประเภทหญ้าแห้งฟางแห้งซึ่งมีการปรับขึ้นราคาจากเดิมฟ่อนละ 20 บาท ปรับขึ้นเป็น 33 บาท รวมถึงค่าแรงคนเลี้ยงโค ค่ายารักษาโรค ค่ายาบำรุง อาหารเสริม และไฟฟ้าก็ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะอาหารสำหรับเลี้ยงวัว จากเดิมมีราคาเพียงกระสอบละ 100 กว่าบาท แต่ปัจจุบันเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าตัวถึงกระสอบละ 250 บาท ขณะที่ราคาน้ำนมดิบราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 11-12 บาท ราคาดังกล่าวเกษตรกรมีรายได้จากการขายน้ำนมดิบ กิโลกรัมละ 2 บาท กำไรที่ได้ไม่เพียงพอแม้แต่จะเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังกล่าวในการเลี้ยงโคที่มีราคาสูงขึ้นทุกขณะ
ทั้งนี้ ในช่วงฤดูแล้งปริมาณการให้นมก็ลดลง จากเดิมนม 1 ถังจะรีดนมจากโค เพียง 4 ตัว แต่พอช่วงแล้งต้องรีดจากโค ถึง 6 ตัว ที่สำคัญที่สุดราคาน้ำนมดิบอยู่ที่ราคานี้มาอย่างยืนยาวโดยไม่มีการขยับเพิ่มขึ้น สวนทางกับราคาต้นทุนการเลี้ยงวัวนมที่เพิ่มขึ้นทุกขณะ สภาพดังกล่าวทำให้ผู้เลี้ยงโคนมต่างขาดทุนและประสบปัญหาภัยแล้งไปตามๆ กัน
อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม มีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม กว่า 800 ราย มีจำนวนโคนม กว่า 2,600 ตัว
นางเพลินพิศ ทวีโชค เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม เขตพื้นที่อำเภอเมืองมหาสารคาม กล่าวว่า ต้นทุนที่เกิดขึ้นในการเลี้ยงโคนม 5 ตัว ขณะนี้เพิ่มขึ้นจากที่ผ่านมาอีกกว่าร้อยละ 40 นอกจากต้นทุนค่าขนส่งที่เกิดขึ้นจากน้ำมันแพงแล้ว สภาพความแห้งแล้งยังทำให้แปลงหญ้าแห้งไม่สามารถใช้เลี้ยงสัตว์ได้ ต้องซื้ออาหารหยาบประเภทหญ้าแห้งฟางแห้งซึ่งมีการปรับขึ้นราคาจากเดิมฟ่อนละ 20 บาท ปรับขึ้นเป็น 33 บาท รวมถึงค่าแรงคนเลี้ยงโค ค่ายารักษาโรค ค่ายาบำรุง อาหารเสริม และไฟฟ้าก็ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะอาหารสำหรับเลี้ยงวัว จากเดิมมีราคาเพียงกระสอบละ 100 กว่าบาท แต่ปัจจุบันเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าตัวถึงกระสอบละ 250 บาท ขณะที่ราคาน้ำนมดิบราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 11-12 บาท ราคาดังกล่าวเกษตรกรมีรายได้จากการขายน้ำนมดิบ กิโลกรัมละ 2 บาท กำไรที่ได้ไม่เพียงพอแม้แต่จะเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังกล่าวในการเลี้ยงโคที่มีราคาสูงขึ้นทุกขณะ
ทั้งนี้ ในช่วงฤดูแล้งปริมาณการให้นมก็ลดลง จากเดิมนม 1 ถังจะรีดนมจากโค เพียง 4 ตัว แต่พอช่วงแล้งต้องรีดจากโค ถึง 6 ตัว ที่สำคัญที่สุดราคาน้ำนมดิบอยู่ที่ราคานี้มาอย่างยืนยาวโดยไม่มีการขยับเพิ่มขึ้น สวนทางกับราคาต้นทุนการเลี้ยงวัวนมที่เพิ่มขึ้นทุกขณะ สภาพดังกล่าวทำให้ผู้เลี้ยงโคนมต่างขาดทุนและประสบปัญหาภัยแล้งไปตามๆ กัน
อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม มีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม กว่า 800 ราย มีจำนวนโคนม กว่า 2,600 ตัว