พัทลุง – นายกสมาคมผู้เลี้ยงหมู จ.พัทลุง ครวญ หลังอาหารสำหรับเลี้ยงหมูเตรียมขึ้นราคาอีกถุงละ 5-10 บาท
นายวิชัย มงคล นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า สถานการณ์ของผู้เลี้ยงสุกรในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ในปี 2550 เกษตรกรขาดทุน โดยภาพรวม ไปประมาณ 500 ล้านบาท ฟาร์มที่เลี้ยง 100 ตัว ต้องขาดทุนประมาณฟาร์มละ 2 ล้านบาท ราคาขณะนั้นต้นทุนอยู่ที่ 39-40 บาท/กก.แต่ราคาขายเพียง 28-30 บาท/กก.
โดยรัฐบาลก็ไม่ได้มาเหลียวแลแต่อย่างใด ปล่อยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงต้องดิ้นรนไปเอง จนต้องมีหนี้สินกันมากกมายในขณะนี้ แล้วต่อมาก็ได้ขายแม่หมูทิ้ง และล้มเลิกการเลี้ยง เพราะไม่มีทุนการเลี้ยง และเลี้ยงไปก็ประสบกับการขาดทุน โดยภาพรวมทั้งจังหวัด ต้องเลิกไปประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์
ขณะนี้ราคาเคลื่อนไหวอยู่ที่ 60 บาท/กก.และในเดือนพฤษภาคม 2551 นี้ มีแนวโน้มราคาหมูมีชีวิตจะขยับขึ้น 70 บาท/กก.และจะขาดแคลนด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากที่ผ่านมาหมูป่วยด้วยโรคขี้ไหลตายไปเป็นจำนวนมากนับแสนตัว เมื่อระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2550 ที่จังหวัดภาคกลาง และภาคตะวันออก นับแสนตัว
สำหรับในโดยเฉพาะจังหวัดพัทลุง ในขณะนี้ก็เริ่มเกิดโรคหมูขึ้นแล้วโดยทยอยตายไปแล้วนับพันตัว เพราะผู้เลี้ยงหมูไม่มีเงินซื้อวัคซีนมาฉีดป้องกัน ตอนนี้พอเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรายย่อย ขนาดเล็กๆ พอได้ลืมตาอ้าปากขึ้นมาตั้งแต่เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ รัฐบาลก็เข้ามาจุ้นจ้าน รัฐบาลจะต้องปล่อยให้เป็นไปตามกลไกการตลาด
ทั้งนี้ หากรัฐบาลเข้ามาจุ้นจ้านเรื่องตลาดแล้ว เกษตรกรที่เป็นหนี้สิน ก็ยังไม่หลุดหนี้สิน หากมีการควบคุมก็ต้องเฉลี่ยการควบคุมโดยทั่วไปกับวงจรของธุรกิจหมู โดยเฉพาะเขียงหมูในช่วงที่ไม่ประสบภาวะขาดทุน เกษตรกรผู้เลี้ยงหมู ก็จะมีรายได้กำไร 1 ตัว 100 บาท/เดือน ในขณะที่เขียงหมู จะมีรายได้กำไร 500 บาท/ตัว/วัน มันแตกต่างกันมาก
นายวิชัย กล่าวอีกว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์นั้น ไม่เคยสนใจว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูจะอยู่กันอย่างไร ไม่เคยสนใจว่าจะไปพูดกับกระทรวงพาณิชย์ อย่างไร ที่สามารถรวมกันแก้ไขปัญหาและในตอนนี้ยังรับทราบว่า ในภายหลังวันที่ 20 มีนาคมนี้ อาหารหมูจะขยับราคาขึ้นอีกถุงละ 5 บาท 10 บาท
นายวิชัย มงคล นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า สถานการณ์ของผู้เลี้ยงสุกรในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ในปี 2550 เกษตรกรขาดทุน โดยภาพรวม ไปประมาณ 500 ล้านบาท ฟาร์มที่เลี้ยง 100 ตัว ต้องขาดทุนประมาณฟาร์มละ 2 ล้านบาท ราคาขณะนั้นต้นทุนอยู่ที่ 39-40 บาท/กก.แต่ราคาขายเพียง 28-30 บาท/กก.
โดยรัฐบาลก็ไม่ได้มาเหลียวแลแต่อย่างใด ปล่อยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงต้องดิ้นรนไปเอง จนต้องมีหนี้สินกันมากกมายในขณะนี้ แล้วต่อมาก็ได้ขายแม่หมูทิ้ง และล้มเลิกการเลี้ยง เพราะไม่มีทุนการเลี้ยง และเลี้ยงไปก็ประสบกับการขาดทุน โดยภาพรวมทั้งจังหวัด ต้องเลิกไปประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์
ขณะนี้ราคาเคลื่อนไหวอยู่ที่ 60 บาท/กก.และในเดือนพฤษภาคม 2551 นี้ มีแนวโน้มราคาหมูมีชีวิตจะขยับขึ้น 70 บาท/กก.และจะขาดแคลนด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากที่ผ่านมาหมูป่วยด้วยโรคขี้ไหลตายไปเป็นจำนวนมากนับแสนตัว เมื่อระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2550 ที่จังหวัดภาคกลาง และภาคตะวันออก นับแสนตัว
สำหรับในโดยเฉพาะจังหวัดพัทลุง ในขณะนี้ก็เริ่มเกิดโรคหมูขึ้นแล้วโดยทยอยตายไปแล้วนับพันตัว เพราะผู้เลี้ยงหมูไม่มีเงินซื้อวัคซีนมาฉีดป้องกัน ตอนนี้พอเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรายย่อย ขนาดเล็กๆ พอได้ลืมตาอ้าปากขึ้นมาตั้งแต่เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ รัฐบาลก็เข้ามาจุ้นจ้าน รัฐบาลจะต้องปล่อยให้เป็นไปตามกลไกการตลาด
ทั้งนี้ หากรัฐบาลเข้ามาจุ้นจ้านเรื่องตลาดแล้ว เกษตรกรที่เป็นหนี้สิน ก็ยังไม่หลุดหนี้สิน หากมีการควบคุมก็ต้องเฉลี่ยการควบคุมโดยทั่วไปกับวงจรของธุรกิจหมู โดยเฉพาะเขียงหมูในช่วงที่ไม่ประสบภาวะขาดทุน เกษตรกรผู้เลี้ยงหมู ก็จะมีรายได้กำไร 1 ตัว 100 บาท/เดือน ในขณะที่เขียงหมู จะมีรายได้กำไร 500 บาท/ตัว/วัน มันแตกต่างกันมาก
นายวิชัย กล่าวอีกว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์นั้น ไม่เคยสนใจว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูจะอยู่กันอย่างไร ไม่เคยสนใจว่าจะไปพูดกับกระทรวงพาณิชย์ อย่างไร ที่สามารถรวมกันแก้ไขปัญหาและในตอนนี้ยังรับทราบว่า ในภายหลังวันที่ 20 มีนาคมนี้ อาหารหมูจะขยับราคาขึ้นอีกถุงละ 5 บาท 10 บาท