เชียงใหม่ - องค์การสวนสัตว์เตรียมเข้าบริหารเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีชั่วคราว 12 มี.ค.นี้ คาด เม.ย. ได้ข้อสรุปรูปแบบการบริหาร รัฐวิสาหกิจหรือบริษัท พร้อมให้ชุมชนเข้ามีส่วนร่วมเต็มที่ ด้านชาวบ้านอัดเละผู้บริหารชุดเดิมเมินชุมชน-กีดกันสารพัดวิธีเข้ามีส่วนร่วม
พลตรีอินทรัตน์ ยอดบางเตย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโอนย้ายกิจการของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ให้องค์การสวนสัตว์บริหารจัดการ โดยตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อดูแลการโอนย้ายนั้น
ล่าสุดได้ปรับรูปแบบการบริหารงานของโครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีออกจากความรับผิดชอบของ อพท.เนื่องจากเห็นว่า อพท.เป็นองค์มหาชนที่ทำหน้าที่วางแผนนโยบายในพื้นที่พิเศษเท่านั้น ไม่ต้องบริหารเอง เพราะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบอยู่แล้ว ทำให้องค์การสวนสัตว์สามารถเข้าไปบริหารได้โดยจะเข้าไปบริหารชั่วคราวก่อนตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2551 นี้เป็นต้นไป
จากนั้นในวันที่ 18 มีนาคม 2551 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะนำเรื่องเข้า ครม. เพื่อออกกฤษฎีกา และทำแผนร่างการบริหารจัดการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 4 เมษายน 2551 นี้
"วันที่ 12 มีนาคม จะให้องค์การสวนสัตว์เข้าไปบริหารพลางก่อน จนกว่าจะพิจารณาถึงรูปแบบการบริหารจัดการ และออกกฤษฎีกา ซึ่งภายในวันที่ 4 เมษายน จะทราบชัดเจนว่ารูปแบบจะออกมาเป็นแบบไหน ส่วนงบประมาณเบื้องตันจะยังคงใช้งบประมาณรายปีบริหารไปก่อน ซึ่งเชื่อว่าหากเปลี่ยนการบริหารใหม่จะสร้างกำไรได้อย่างแน่นอน" พลตรีอินทรัตน์ กล่าว
นายไพศาล กุวลัยรัตน์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า จากการประชุมร่วมของคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นมา ได้แนวทางในการบริหารจัดการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีออกมาใน 3 รูปแบบ ประกอบด้วย 1. ให้องค์การสวนสัตว์บริหารโดยใช้ระเบียบบริหารแบบรัฐวิสาหกิจ 2. จัดตั้งบริษัทขึ้นมาบริหาร ภายใต้การกำกับขององค์การสวนสัตว์ และ 3.จัดตั้งบริษัทขึ้นมาบริหาร ภายใต้การกำกับของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และผู้บริหารที่เกี่ยวข้องจะประชุมร่วมกันเพื่อสรุปอีกครั้งว่าจะใช้รูปแบบใดในการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพต่อไป อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะออกมาในรูปแบบใดก็จะเน้นที่การมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่เป็นอับดับต้น
"สวนสัตว์เชียงใหม่มีรายได้ต่อปี 50 กว่าล้านบาท ซึ่งหากควบรวมเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเข้าไปด้วยเชื่อว่าจะก่อให้เกิดผลดีไปด้วย โดยเฉพาะการเชื่อมโยงการท่องเที่ยว เพื่อให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวต่อไป" นายไพศาล กล่าว
นายดี จันทรคลักษณ์ กำนันตำบลแม่เหียะ เปิดเผยว่า ตนเองในฐานะตัวแทนวิสาหกิจชุมชน ตำบลแม่เหียะ ตำบลสุเทพ และตำบลหนองควาย อยากให้การบริหารไนท์ซาฟารีในรูปแบบใหม่ยึดการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงด้วย รวมทั้งตั้งคณะอนุกรรมการการมีส่วนร่วมของชุมชนเข้ามาร่วมดูแลบริหารด้วย รวมทั้งศึกษาถึงผลกระทบของไนท์ซาฟารีที่มีต่อชุมชน เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมด้วย
"ที่ผ่านมาผู้บริหารบางรายกีดกันชาวบ้านเข้าไปมีส่วนร่วม เอารัดเอาเปรียบชาวบ้าน โดยเฉพาะการจำหน่ายอาหารสัตว์ ที่ลดการสั่งซื้อแต่กลับสั่งซื้อจากเอกชนอื่นแทน นอกจากจากนี้ยังสั่งซื้อเกินความต้องการของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีด้วย ซึ่งในแต่ละวันใช้เพียง 4-5 พัน กิโลกรัม แต่กลับซื้อมาถึง 10,000 กว่ากิโลกรัม ทำให้สูญเสียงบประมาณซึ่งเป็นภาษีของประชาชนทั้งนั้น" นายดี กล่าว
พลตรีอินทรัตน์ ยอดบางเตย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโอนย้ายกิจการของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ให้องค์การสวนสัตว์บริหารจัดการ โดยตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อดูแลการโอนย้ายนั้น
ล่าสุดได้ปรับรูปแบบการบริหารงานของโครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีออกจากความรับผิดชอบของ อพท.เนื่องจากเห็นว่า อพท.เป็นองค์มหาชนที่ทำหน้าที่วางแผนนโยบายในพื้นที่พิเศษเท่านั้น ไม่ต้องบริหารเอง เพราะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบอยู่แล้ว ทำให้องค์การสวนสัตว์สามารถเข้าไปบริหารได้โดยจะเข้าไปบริหารชั่วคราวก่อนตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2551 นี้เป็นต้นไป
จากนั้นในวันที่ 18 มีนาคม 2551 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะนำเรื่องเข้า ครม. เพื่อออกกฤษฎีกา และทำแผนร่างการบริหารจัดการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 4 เมษายน 2551 นี้
"วันที่ 12 มีนาคม จะให้องค์การสวนสัตว์เข้าไปบริหารพลางก่อน จนกว่าจะพิจารณาถึงรูปแบบการบริหารจัดการ และออกกฤษฎีกา ซึ่งภายในวันที่ 4 เมษายน จะทราบชัดเจนว่ารูปแบบจะออกมาเป็นแบบไหน ส่วนงบประมาณเบื้องตันจะยังคงใช้งบประมาณรายปีบริหารไปก่อน ซึ่งเชื่อว่าหากเปลี่ยนการบริหารใหม่จะสร้างกำไรได้อย่างแน่นอน" พลตรีอินทรัตน์ กล่าว
นายไพศาล กุวลัยรัตน์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า จากการประชุมร่วมของคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นมา ได้แนวทางในการบริหารจัดการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีออกมาใน 3 รูปแบบ ประกอบด้วย 1. ให้องค์การสวนสัตว์บริหารโดยใช้ระเบียบบริหารแบบรัฐวิสาหกิจ 2. จัดตั้งบริษัทขึ้นมาบริหาร ภายใต้การกำกับขององค์การสวนสัตว์ และ 3.จัดตั้งบริษัทขึ้นมาบริหาร ภายใต้การกำกับของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และผู้บริหารที่เกี่ยวข้องจะประชุมร่วมกันเพื่อสรุปอีกครั้งว่าจะใช้รูปแบบใดในการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพต่อไป อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะออกมาในรูปแบบใดก็จะเน้นที่การมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่เป็นอับดับต้น
"สวนสัตว์เชียงใหม่มีรายได้ต่อปี 50 กว่าล้านบาท ซึ่งหากควบรวมเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเข้าไปด้วยเชื่อว่าจะก่อให้เกิดผลดีไปด้วย โดยเฉพาะการเชื่อมโยงการท่องเที่ยว เพื่อให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวต่อไป" นายไพศาล กล่าว
นายดี จันทรคลักษณ์ กำนันตำบลแม่เหียะ เปิดเผยว่า ตนเองในฐานะตัวแทนวิสาหกิจชุมชน ตำบลแม่เหียะ ตำบลสุเทพ และตำบลหนองควาย อยากให้การบริหารไนท์ซาฟารีในรูปแบบใหม่ยึดการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงด้วย รวมทั้งตั้งคณะอนุกรรมการการมีส่วนร่วมของชุมชนเข้ามาร่วมดูแลบริหารด้วย รวมทั้งศึกษาถึงผลกระทบของไนท์ซาฟารีที่มีต่อชุมชน เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมด้วย
"ที่ผ่านมาผู้บริหารบางรายกีดกันชาวบ้านเข้าไปมีส่วนร่วม เอารัดเอาเปรียบชาวบ้าน โดยเฉพาะการจำหน่ายอาหารสัตว์ ที่ลดการสั่งซื้อแต่กลับสั่งซื้อจากเอกชนอื่นแทน นอกจากจากนี้ยังสั่งซื้อเกินความต้องการของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีด้วย ซึ่งในแต่ละวันใช้เพียง 4-5 พัน กิโลกรัม แต่กลับซื้อมาถึง 10,000 กว่ากิโลกรัม ทำให้สูญเสียงบประมาณซึ่งเป็นภาษีของประชาชนทั้งนั้น" นายดี กล่าว