ศูนย์ข่าวศรีราชา - ภาคประชาชนในจังหวัดภาคตะวันออก ชี้ “สมัคร” สาบานอะไรไว้ต้องรับผิดชอบต่อคำสาบาน แนะควรตั้งคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ เพื่อการเรียนรู้ที่ถูกต้อง และเพื่อให้สังคมไทยและสังคมโลก รับรู้ความเป็นจริงของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของวีรชนไทย
นายมนัด อ่ำเอี่ยมศรี นักต่อสู้ภาคประชาชน ซึ่งเคยร่วมกิจกรรมการเมืองภาคประชาชนมาอย่างโชกโชน แสดงความคิดเห็นในกรณีที่ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ออกมาตอบโต้การอภิปรายของพรรคประชาธิปัตย์ ในการประชุมสภาที่ผ่านมาอย่างเผ็ดร้อน และสาบานกลางห้องประชุมสภาว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ “6 ตุลา” ว่า สิ่งที่ นายสมัคร พูดออกไปนั้น เป็นสิ่งกลับกลอกซึ่งไม่ได้ให้ความสำคัญต่อเรื่องประชาธิปไตย
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ 6 ตุลา, 14 ตุลา หรือพฤษภาทมิฬ ล้วนแล้วแต่เป็นการต่อสู้ภาคประชาชนเพื่อจะให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโดยแท้จริง ซึ่งจากประวัติศาสตร์ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า ประชาชนคนไทยให้ความสำคัญในเรื่องของประชาธิปไตยมากเพียงใด เหตุการณ์เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นความเจ็บปวดของประเทศ แต่ นายสมัคร ก็ยังขุดคุ้ยเอามาพูดคุยกันจนเป็นประเด็นสังคม ซึ่งน่าจะส่งเสริมให้มีการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างถูกต้องมากกว่า
“นายกฯสมัคร เอาเรื่องความตายของวีรชนผู้ที่เสียสละเพื่อประชาธิปไตยมาขุดคุ้ย มาพูดกันสนุกปาก แทนที่จะให้ความสำคัญในเรื่องของกระบวนการพัฒนาระบบประชาธิปไตย มองดูแล้วเป็นการตีรวนไม่มีประเด็นหรือสาระสำคัญ นายกฯคนนี้คงไม่มองเรื่องความสำคัญของการต่อสู้ภาคประชาชน ซึ่งอนาคตองค์กรภาคประชาชนจะไปต่อรอง หรือเจรจากับรัฐบาลชุดนี้ คงเป็นไปได้ยาก เพราะขนาดสื่อมวลชน ยังต้องรับผลกระทบจากการทำหน้าที่ของตัวเอง นับว่าเป็นการลิดรอนสิทธิในตัวอยู่แล้ว” นายมนัด กล่าว
ด้าน นายอัมรินทร์ ยี่เฮง เลขาธิการองค์กรประชาธิปไตยภาคประชาชน จังหวัดสระแก้ว แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ นายสมัคร ได้กล่าวและกระทำลงไป เพราะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็มีความชัดเจนอยู่แล้ว ในยุคเหตุการณ์ 6 ตุลา นายสมัคร มีบทบาท และทำอะไรในช่วงนั้น ตัว นายสมัคร เองรู้ตัวเองดีที่สุด ไม่ใช่มาเป็นนายกฯ แล้วลืมสิ่งที่ได้กระทำในอดีต ซึ่งถ้านายสมัคร กล้าสาบานว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ก็ต้องจำคำสาบานไว้ให้ดี และต้องน้อมรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อคำสาบานด้วย
ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ที่จัดตั้งรัฐบาลเงามาติดตามการทำงานของรัฐบาลชุดนี้นั้น นับเป็นมิติใหม่ของการเมืองไทย เป็นการใช้สิทธิทางการเมืองอย่างมีเสรีและมีอิสรภาพ ซึ่งแต่ก่อนรัฐสภาไทยไม่เคยมีมาก่อน แต่อาจเจอความเก๋าของนักการเมืองมืออาชีพอย่างนายสมัคร ปะทะคารมบ้างตรงนี้ ต้องเข้าใจที่มาที่ไปว่านายสมัคร เป็นคนอย่างไร ขนาดสื่อมวลชน นายสมัคร ยังเคยปะทะคารมมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง เมื่อโดนถามคำถามไม่ถูกใจ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องทำใจ
ขณะที่ นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก ให้ข้อมูลอีกว่า รัฐบาลควรจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ โดยเอาผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ นักวิชาการด้านต่างๆ มาดำเนินการเผยแพร่ความจริงเชิงประวัติศาสตร์ เชิงสารคดี และข้อเท็จจริง โดยดำเนินการเป็นรูปธรรมชัดเจน เพื่อความเข้าใจและการเรียนรู้ที่ถูกต้องของสังคมไทย และสังคมโลก
ทั้งนี้ การที่ นายสมัคร ออกมาพูดเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีหลักฐานและข้อมูลประกอบนั้น ถึงพูดไปก็ไม่มีใครเชื่อ เพราะเหตุการณ์ 6 ตุลานั้น ผ่านพ้นมากว่า 30 ปีแล้ว ความทรงจำบางอย่างอาจจะลางเลือนจนจำไม่ได้ แต่จะออกมาพูดโดยไม่มีเหตุผลก็ไม่ได้เช่นกัน สังคมทุกวันนี้ต้องการเหตุผลและความแจ่มชัดของความจริง ซึ่งคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ก็จะได้ทำหน้าที่อย่างถูกต้อง เพื่อการเรียนรู้ที่ถูกต้องของประชาชนและสังคม ตลอดจนความเข้าใจในประวัติศาสตร์ไทยอย่างแท้จริงในมุมมองของชาวโลกอีกด้วย
นายมนัด อ่ำเอี่ยมศรี นักต่อสู้ภาคประชาชน ซึ่งเคยร่วมกิจกรรมการเมืองภาคประชาชนมาอย่างโชกโชน แสดงความคิดเห็นในกรณีที่ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ออกมาตอบโต้การอภิปรายของพรรคประชาธิปัตย์ ในการประชุมสภาที่ผ่านมาอย่างเผ็ดร้อน และสาบานกลางห้องประชุมสภาว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ “6 ตุลา” ว่า สิ่งที่ นายสมัคร พูดออกไปนั้น เป็นสิ่งกลับกลอกซึ่งไม่ได้ให้ความสำคัญต่อเรื่องประชาธิปไตย
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ 6 ตุลา, 14 ตุลา หรือพฤษภาทมิฬ ล้วนแล้วแต่เป็นการต่อสู้ภาคประชาชนเพื่อจะให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโดยแท้จริง ซึ่งจากประวัติศาสตร์ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า ประชาชนคนไทยให้ความสำคัญในเรื่องของประชาธิปไตยมากเพียงใด เหตุการณ์เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นความเจ็บปวดของประเทศ แต่ นายสมัคร ก็ยังขุดคุ้ยเอามาพูดคุยกันจนเป็นประเด็นสังคม ซึ่งน่าจะส่งเสริมให้มีการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างถูกต้องมากกว่า
“นายกฯสมัคร เอาเรื่องความตายของวีรชนผู้ที่เสียสละเพื่อประชาธิปไตยมาขุดคุ้ย มาพูดกันสนุกปาก แทนที่จะให้ความสำคัญในเรื่องของกระบวนการพัฒนาระบบประชาธิปไตย มองดูแล้วเป็นการตีรวนไม่มีประเด็นหรือสาระสำคัญ นายกฯคนนี้คงไม่มองเรื่องความสำคัญของการต่อสู้ภาคประชาชน ซึ่งอนาคตองค์กรภาคประชาชนจะไปต่อรอง หรือเจรจากับรัฐบาลชุดนี้ คงเป็นไปได้ยาก เพราะขนาดสื่อมวลชน ยังต้องรับผลกระทบจากการทำหน้าที่ของตัวเอง นับว่าเป็นการลิดรอนสิทธิในตัวอยู่แล้ว” นายมนัด กล่าว
ด้าน นายอัมรินทร์ ยี่เฮง เลขาธิการองค์กรประชาธิปไตยภาคประชาชน จังหวัดสระแก้ว แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ นายสมัคร ได้กล่าวและกระทำลงไป เพราะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็มีความชัดเจนอยู่แล้ว ในยุคเหตุการณ์ 6 ตุลา นายสมัคร มีบทบาท และทำอะไรในช่วงนั้น ตัว นายสมัคร เองรู้ตัวเองดีที่สุด ไม่ใช่มาเป็นนายกฯ แล้วลืมสิ่งที่ได้กระทำในอดีต ซึ่งถ้านายสมัคร กล้าสาบานว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ก็ต้องจำคำสาบานไว้ให้ดี และต้องน้อมรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อคำสาบานด้วย
ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ที่จัดตั้งรัฐบาลเงามาติดตามการทำงานของรัฐบาลชุดนี้นั้น นับเป็นมิติใหม่ของการเมืองไทย เป็นการใช้สิทธิทางการเมืองอย่างมีเสรีและมีอิสรภาพ ซึ่งแต่ก่อนรัฐสภาไทยไม่เคยมีมาก่อน แต่อาจเจอความเก๋าของนักการเมืองมืออาชีพอย่างนายสมัคร ปะทะคารมบ้างตรงนี้ ต้องเข้าใจที่มาที่ไปว่านายสมัคร เป็นคนอย่างไร ขนาดสื่อมวลชน นายสมัคร ยังเคยปะทะคารมมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง เมื่อโดนถามคำถามไม่ถูกใจ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องทำใจ
ขณะที่ นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก ให้ข้อมูลอีกว่า รัฐบาลควรจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ โดยเอาผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ นักวิชาการด้านต่างๆ มาดำเนินการเผยแพร่ความจริงเชิงประวัติศาสตร์ เชิงสารคดี และข้อเท็จจริง โดยดำเนินการเป็นรูปธรรมชัดเจน เพื่อความเข้าใจและการเรียนรู้ที่ถูกต้องของสังคมไทย และสังคมโลก
ทั้งนี้ การที่ นายสมัคร ออกมาพูดเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีหลักฐานและข้อมูลประกอบนั้น ถึงพูดไปก็ไม่มีใครเชื่อ เพราะเหตุการณ์ 6 ตุลานั้น ผ่านพ้นมากว่า 30 ปีแล้ว ความทรงจำบางอย่างอาจจะลางเลือนจนจำไม่ได้ แต่จะออกมาพูดโดยไม่มีเหตุผลก็ไม่ได้เช่นกัน สังคมทุกวันนี้ต้องการเหตุผลและความแจ่มชัดของความจริง ซึ่งคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ก็จะได้ทำหน้าที่อย่างถูกต้อง เพื่อการเรียนรู้ที่ถูกต้องของประชาชนและสังคม ตลอดจนความเข้าใจในประวัติศาสตร์ไทยอย่างแท้จริงในมุมมองของชาวโลกอีกด้วย