xs
xsm
sm
md
lg

อุดรฯประกาศสงครามไข้เลือดออก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


อุดรธานี -สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี จัดวันรณรงค์ ประกาศสงครามต่อสู่โรคไข้เลือดออก ปี 51 หวังผลการระบาดโรคไข้เลือดออกลดลง หรือไม่เกิน 28.6 ต่อแสนประชากร และอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิดร้อยละ 0.13

วันนี้ (1 ก.พ.) ที่ห้องประชุมอุดรดุษฎี โรงแรมเจริญโฮเต็ล จ.อุดรธานี นายสุพจน์ เลาวัลย์ศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานเปิดการประชุม พร้อมมอบแผนมาตรการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก แก่หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และมอบเคมีภัณฑ์ป้องกันโรคไข้เลือดออก ให้กับ อสม.พร้อมกับให้นโยบาย และนำกล่าวปฏิญาณเพื่อประกาศสงครามต่อสู่โรคไข้เลือดออก

การประชุมครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อสร้างกระแสรณรงค์ต่อสู่โรคไข้เลือดออกในช่วงต้นปี ที่ถือว่ายังไม่มีการระบาดของโรค แก่ทุกภาคส่วนของจังหวัดอุดรธานี ซึ่งจะส่งผลให้การระบาดของโรคไข้เลือดออกลดลง หรือไม่เกิน 28.6 ต่อแสนประชากร และอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิดร้อยละ 0.13 รวมถึงภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง

นายแพทย์สัญชัย ปิยะพงษ์กุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี เปิดเผยว่า จังหวัดอุดรธานี เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกประจำ ซึ่งมักมีการระบาดของโรคปีเว้นปี หรือปีเว้น 2 ปี

จากข้อมูลงานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี พบว่า แต่ละปีมีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวนมาก และมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกเกือบทุกปี โดยเฉพาะในปี 2550 พบผู้ป่วยจำนวน 638 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 41.89 ต่อแสนประชากร และเสียชีวิต 1 ราย คิดเป็น อัตราป่วยตาม ร้อยละ 0.16 ซึ่งเกินเกณฑ์ที่กระทรวงกำหนด

ทั้งนี้ วิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก คือการกำจัดลูกน้ำยุงลายเพื่อลดจำนวนยุงลายพาหะให้เหลือน้อยที่สุดจนไม่อาจแพร่กระจายเชื้อโรคได้

นายสุพจน์ เลาวัลย์ศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า ได้มอบนโยบายการควบคุมโรคไข้เลือดออก จังหวัดอุดรธานี ปี 2551 แก่ผู้เข้าร่วมว่าควรทำตัวเป็นตัวอย่าง โดยเป็นหลังคาเรือนปลอดลูกน้ำ จะทำอย่างไรให้มีการกำจัดลูกน้ำในทุกพื้นที่ทุกหลังคาเรือนอย่างจริงจังต่อเนื่อง จะทำอย่างไรให้มีการประสานเครือข่ายการดำเนินงานกำจัดลูกน้ำในทุกระดับ

โดยไม่อาศัยฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งตามลำพัง ทำอย่างไรให้มีการควบคุมโรคที่ได้มาตรฐานเมื่อมีการะบาดของโรคเกิดขึ้น และที่สำคัญจะทำอย่างไร จึงจะสามารถสร้างกระแสการมีส่วนร่วมของประชาชนได้
กำลังโหลดความคิดเห็น