อุดรธานี-สสจ.อุดรฯขอความร่วมมือชาวชุมชนกำจัดลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้านและบริเวณโดยรอบทุกวันศุกร์เป็นประจำ เพื่อตัดวงจรชีวิตยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก
นายแพทย์สัญชัย ปิยะพงษ์กุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี เปิดเผยว่า ได้รับรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2550 พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 638 ราย คิดเป็น 41.85 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 1 ราย คิดเป็น 0.15 ต่อแสนประชากร และจากสถิติผู้ป่วย 3 เดือนสุดท้ายของปี 2550 เดือนตุลาคม พบ 38 ราย , พฤศจิกายน พบ 13 ราย และ ธันวาคม พบ 4 ราย ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่ควรพบผู้ป่วยไข้เลือดออก จังหวัดอุดรธานี กลับพบผู้ป่วย ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่าอาจเกิดการระบาดของโรคขึ้นได้
ฉะนั้นเพื่อเป็นการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี จึงขอความร่วมมือมายังประชาชนทุกท่านได้ช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้านและบริเวณรอบบ้านของท่าน ทุกวันศุกร์เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตัดวงจรชีวิตยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออกไม่มียารักษา ไม่มีวัคซีนป้องกัน วิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันโดย ไม่ให้ถูกยุงลายกัด ทุกครัวเรือนต้องกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง ทุก 7 วัน เปลี่ยนน้ำในแจกัน ขารองตู้กับข้าว อ่างน้ำในห้องน้ำ โอ่งน้ำต้องมีฝาปิดมิดชิด 2 ชั้น ภาชนะที่ไม่มีฝาปิดใส่ทรายอะเบท หรือปล่อยปลากินลูกน้ำ หากบุตรหลานมีไข้ ให้สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ไม่ควรซื้อยากินเอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้ามให้ยาลดไข้ที่มีส่วนผสมของแอสไพรินโดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการทรุดลง ควรรีบปรึกษาแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้าน เพราะโรคไข้เลือดออก จะแตกต่างจากโรคอื่น คือ มีไข้สูงลอยติดต่อกัน 2-4 วัน หลัง
จากนั้นผู้ป่วยจะซึม ตัวเย็น มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล และเข้าสู่ภาวะช็อค ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้
นายแพทย์สัญชัย ปิยะพงษ์กุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี เปิดเผยว่า ได้รับรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2550 พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 638 ราย คิดเป็น 41.85 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 1 ราย คิดเป็น 0.15 ต่อแสนประชากร และจากสถิติผู้ป่วย 3 เดือนสุดท้ายของปี 2550 เดือนตุลาคม พบ 38 ราย , พฤศจิกายน พบ 13 ราย และ ธันวาคม พบ 4 ราย ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่ควรพบผู้ป่วยไข้เลือดออก จังหวัดอุดรธานี กลับพบผู้ป่วย ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่าอาจเกิดการระบาดของโรคขึ้นได้
ฉะนั้นเพื่อเป็นการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี จึงขอความร่วมมือมายังประชาชนทุกท่านได้ช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้านและบริเวณรอบบ้านของท่าน ทุกวันศุกร์เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตัดวงจรชีวิตยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออกไม่มียารักษา ไม่มีวัคซีนป้องกัน วิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันโดย ไม่ให้ถูกยุงลายกัด ทุกครัวเรือนต้องกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง ทุก 7 วัน เปลี่ยนน้ำในแจกัน ขารองตู้กับข้าว อ่างน้ำในห้องน้ำ โอ่งน้ำต้องมีฝาปิดมิดชิด 2 ชั้น ภาชนะที่ไม่มีฝาปิดใส่ทรายอะเบท หรือปล่อยปลากินลูกน้ำ หากบุตรหลานมีไข้ ให้สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ไม่ควรซื้อยากินเอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้ามให้ยาลดไข้ที่มีส่วนผสมของแอสไพรินโดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการทรุดลง ควรรีบปรึกษาแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้าน เพราะโรคไข้เลือดออก จะแตกต่างจากโรคอื่น คือ มีไข้สูงลอยติดต่อกัน 2-4 วัน หลัง
จากนั้นผู้ป่วยจะซึม ตัวเย็น มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล และเข้าสู่ภาวะช็อค ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้