xs
xsm
sm
md
lg

“กรมน้ำ” เปิดเวทีถกแนวผันน้ำไทย-พม่า รองรับแผนผันน้ำกก-อิง-ยม-น่าน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


พะเยา - กรมทรัพยากรน้ำเปิดเวทีฟังความเห็นแนวทางผันน้ำไทย-พม่า ครั้งที่ 2 มุ่งหาทางผันน้ำโขง-กก-อิงและผันน้ำกก ลงน้ำฝาง สู่แม่น้ำปิงตอนบน รองรับโปรเจกต์ผันน้ำกก-อิง-ยม-น่านในอนาคตด้วย

ที่โรงแรมเกทเวย์พะเยา กรมทรัพยากรน้ำ เมื่อเร็ว ๆนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบหมายให้บริษัท ซันยู คอนซัลแตนท์ส (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่งแอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด และบริษัท เอสดีคอน คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นปริษัทที่ปรึกษาฯ จัดสัมมนาโครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระหว่างประเทศไทย-สหภาพพม่า ครั้งที่ 2 ขึ้น

โดยมีผู้แทนและผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ประกอบด้วย ผู้แทนกรมทรัพยากรน้ำฯ ผู้แทนจากหน่วยงานราชการในพื้นที่, ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, คณะอนุกรรมการลุ่มน้ำ, ผู้แทนกลุ่มผู้ใช้น้ำภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ภาคธุรกิจและการโรงแรม, ผู้แทนองค์การพัฒนาเอกชน, สื่อมวลชน, ผู้นำท้องถิ่น, ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในพื้นที่ลุ่มน้ำ, นักวิชาการ NGO และผู้สนใจทั่วไป ในพื้นที่เป้าหมายที่เกี่ยวข้องของโครงการเข้าร่วมการสัมมนา เพื่อศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นของแนวผันน้ำ และอาคารประกอบโครงการ

พร้อมทั้งพัฒนาระบบนำร่องและระบบสารสนเทศน้ำในลุ่มน้ำปิงตอนบนเพื่อเป็นระบบนำร่องของระบบผันน้ำ และรับฟังความคิดเห็นและทัศนคติต่อโครงการ เป็นแนวทางประกอบในการศึกษาความเหมาะสมโครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระหว่างประเทศไทย และประเทศพม่า

นายประสิทธิ์ พัวทวี ผู้อำนวยการส่วนเทคโนโลยีและมาตรฐาน กรมทรัพยากรน้ำ กล่าวว่า ขณะนี้กรมทรัพยากรน้ำ กำลังดำเนินการศึกษาความเหมาะสมโครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระหว่างประเทศไทย และประเทศพม่า โดยได้มอบหมายให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาดำเนินการศึกษา

ครั้งแรกเป็นโครงข่ายที่ 1 แม่น้ำแม่สาย-แม่น้ำกก-แม่น้ำอิงตอนบน และครั้งนี้ (ครั้ง 2) จะทำการศึกษาความเหมาะสมของแนวทางเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน 2 แนวทาง คือ 1.แนวทางผันน้ำโครงข่ายโขงเหนือ-แม่น้ำกก-แม่น้ำอิงตอนบน และ 2.แนวทางผันน้ำโครงข่ายกก-แม่น้ำฝาง-แม่น้ำปิงตอนบน พร้อมติดตั้งระบบนำร่อง FLOOD FORCAST MODEL และระบบสารสนเทศน้ำ (WATER INFORMATION SYSTEM) และติดตั้งอุปกรณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารจัดการน้ำของลุ่มน้ำตอนบนโดยการศึกษาแนวทางผันน้ำทั้ง 2 โครงข่ายนี้ ซึ่งต้องทำการศึกษาเพื่อการรองรับการผันน้ำในอนาคตของแม่น้ำกก-อิง-ยม-น่าน ด้วย

กำลังโหลดความคิดเห็น