xs
xsm
sm
md
lg

จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ!! ทำแท้งถูกกฎหมาย =ทางออกสังคมไทย!!?

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“ไม่ต้องหลบซ่อน - ลดอัตราการเสียชีวิต - มีทางเลือกที่ปลอดภัย” ผู้ผลักดันเปิดใจ หลังเรียกร้องต่อสู้กันกันมานาน แก้กฏหมายทำแท้งให้ถูกกฏหมาย ในที่สุดก็เป็นก้าวที่สำคัญที่คำว่าทำแท้ง ที่ถูกตีตราว่าผิดกฎหมาย และนี่คือคำตอบของผู้เป็นเบื้องหลังของเรื่องนี้ ที่ยังชี้ว่ามีช่องโหว่วรอการแก้ไขอีก!!




"ทำแท้ง"ไม่ใช่ประสบการณ์ที่น่ารื่นรมย์!!

 

“การที่ผู้หญิงคนหนึ่งไปทำแท้ง มันไม่ใช่ประสบการณ์ที่น่ารื่นรมย์ ถ้ามันไม่น่ารื่นรมย์ก็ไม่มีใครอยากจะเข้าไปสู่ตรงนั้น ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ

แต่ส่วนที่เราคิดว่าน่าจะเกิดผลในทางบวก คือเรื่องของการบาดเจ็บจากการติดเชื้อ หรือเจ็บป่วยในการติดเชื้อในกระแสเลือด หรือการตายของผู้หญิง มันน่าจะน้อยลง”



ทัศนัย ขันตยาภรณ์ เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม ผู้ที่เป็นเบื้องหลัง เสนอแก้กฏหมายให้ยุติตั้งครรภ์ ให้เป็นสิทธิอันชอบธรรมของผู้หญิง ได้เปิดใจกับทีมข่าว MGR Live หลังจากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่ามีการแก้ให้กฎหมายจากเดิม มาตรา 301 ผู้หญิงที่ทำแท้งนั้นทำแล้วมีความผิดกฎหมาย เปลี่ยนเป็นให้ผู้หญิงมีสิทธิ์ทำแท้งได้ เพราะเป็นสิทธิของตัวเอง

สำหรับรายละเอียดมาตรา 301 บัญญัติว่า "หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27และมาตรา 28

โดยเธอรู้สึกว่ากฏหมายอาญามาตรา 301 ไม่ให้ความเป็นธรรมกับฝ่ายหญิง เพราะเอาผิดกับหญิงฝ่ายเดียว ยังเป็นช่องโหว่อยู่ ที่ติดเรื่องกฎหมายอาญาอยู่

เมื่อถามถึงหากกฎหมายเปลี่ยน จะเปลี่ยนแปลงไปยังทางที่ดีขึ้นยังไงบ้าง คำตอบของคนทำงานเพื่อสังคมรายนี้ ที่ร่วมกับเครือข่ายอาสา RSA คอยคลุกอยู่กับปัญหามองว่า หากการทำแท้งเป็นการบริการสุขภาพ ไม่ใช่ข้อกฎหมายทางอาญา จะทำให้ลดอัตราการเสียชีวิตจากการทำแท้งได้ และมีทางเลือกการใช้บริการที่ปลอดภัย

“การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแน่นอน คือจะต้องเอากฎหมายทั้งหมายนี้ ออกมาทบทวนว่า คำวินิจฉัยส่วนบุคคลของศาลแต่ละท่านที่กล่าวว่า ขัดต่อรัฐธรรมนูญนั้นขัดตรงไหน ขัดยังไง แล้วจะร่างกฎหมายใหม่ขึ้นมาเพื่อให้ไม่ขัดยังไงบ้าง นั่นคือทิศทางที่จะเป็นไป

ส่วนการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ถ้าหากว่าเรื่องการทำแท้งเป็นบริการสุขภาพ แต่ไม่ใช่ความอาญา คนก็จะเข้าสู่บริการสุขภาพได้ง่ายขึ้น คือไม่ต้องปิดบัง ปิดตัวหรือว่าไปแอบทำตามหน่วยงาน ก็สามารถที่จะไปเข้าหน่วยบริการ และสามารถเข้าไปขอความปรึกษาได้ และผู้หญิงน่าจะมีความปลอดภัยมากขึ้น”

“เราก็มานั่งนึกว่าถ้าคนที่เสียชีวิตเป็นน้องสาวเรา เป็นลูกเรา หรือเป็นคนใกล้ตัวเรา มันก็คงทำใจลำบากมาก เพราะฉะนั้นมันเหมือนกับเรามีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ดี

< 

ตอนนี้ประเทศไทย เครื่องมือยุติการตั้งครรภ์ ก็ค่อนข้างนำสมัย ท่าทันโลกเราแล้ว เพราะสมัยก่อนเรายังไม่มียายุติการตั้งครรภ์ ปัจจุบันยายุติการตั้งครรภ์ก็ขึ้นทะเบียนแล้ว และอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ
คือเรามีสิ่งที่ดีๆ อยู่ เรามีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยชีวิตคนได้ แต่เราไม่สามารถช่วยชีวิตคนได้ คิดว่าเป็นสิ่งที่สะเทือนใจมากที่สุด”

ล่าสุด ศาลลงมติให้แก้กฎหมายทำแท้ง "มาตรา301” ให้ไม่ผิดกฎหมาย เหตุเป็นเสรีภาพทางร่างกาย และเพื่อให้กฎหมายสอดคล้องกัน มีผลตั้งแต่ 360 วัน นับตั้งแต่วินิจฉัย ซึ่งหากไม่ทำอะไรกับกฎหมายตรงนี้ ก็ถือว่ายกเลิกไป

“กฎหมายจะมีที่เรียกว่ากฎหมายประมวลอาญา และมีมาตราที่เกี่ยวข้องกับที่เราเสนอไปให้มีการแก้ไข คือหลักๆ ก็จะเป็นเรื่องของมาตรา301ถ้าผู้หญิงคนไหนจะยุติการตั้งครรภ์ เขาให้สันนิษฐานว่ามีความผิดทางอาญาไว้ก่อน แต่ถ้าสมมุตว่าจะบอกว่าไม่ผิดก็ต้องไปพิสูจน์จากเงื่อนไขที่เข้าสู่การยุติการตั้งครรภ์คือ มาตรา 305

เราก็มองว่ากฏหมายตัวนี้ไม่เป็นธรรมกับผู้หญิง เพราะว่าอันดับแรกคือมันเป็นกฎหมายเดียวในโลกที่เอาผิดผู้หญิงฝ่ายเดียว การตั้งครรภ์มันต้องประกอบทั้งหญิงและชาย แล้วส่วนใหญ่ผู้หญิงต้องไปยุติการตั้งครรภ์เป็นเพราะผู้ชายทิ้งตั้งครรภ์นอกสมรส ตั้งครรภ์ในวัยรุ่น หรือบางคนไม่ได้ถูกทอดทิ้งแต่มีลูกเยอะแล้วไม่ไหว ส่วนใหญ่เป็นการถูกทอดทิ้งหรือเป็นการตัดสินใจของ 2 ฝ่าย

แต่พอเกิดการยุติการตั้งครรภ์ขึ้นมา คือเวลาที่มีการตรวจจับ เขาจะเอาผิดผู้หญิงไว้ก่อน ผู้หญิงฝ่ายเดียว มองว่าไม่ยุติธรรม และเรามองว่าจริงๆ การตัดสินใจเรื่องเนื้อตัวร่างกายของผู้หญิง มันจะต้องเป็นสิทธิ์ของผู้หญิงโดยชอบธรรม
จริงๆ เรื่องยุติการตั้งครรภ์มันเป็นบริการสุขภาพ ที่ผู้หญิงสมมติตั้งครรภ์แล้วครรภ์เป็นพิษ หรือตั้งครรภ์มีเงื่อนไขทางสุขภาพกายสุขภาพใจ เขาก็สามารถเข้าสู่บริการนี้ได้

เมื่อเป็นความอาญาขึ้นมา มันกลายเป็นว่าเขาต้องหลบซ่อนตัว เปิดเผยตัวเองไม่ได้ และส่วนใหญ่จำนวนมากก็ลงเอยด้วยการทำแท้ง ด้วยสถานบริการเถื่อนแล้วเสียชีวิต มันก็เลยเป็นที่มาว่าข้อนี้ต้องมีการแก้ แต่ว่ามันจะเสทือนใจมากมากกว่านั้นถ้าผู้หญิงเหล่านั้น ที่แสวงหาบริการที่ปลอดภัยแล้ว เขากลับถูกจับ ด้วยกฎหมายอาญา

ข้อนี้ที่มีการแก้ เราก็ไปดูรัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเรื่องของผู้หญิง มันก็มีหลักของความเสมอภาคหญิงชายข้อหนึ่ง และมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับบุคคล ไม่ว่าจะหญิงหรือชาย ก็มีสิทธิตัดสินต่อเนื้อตัวร่างกายของตัวเอง และมีการตัดสินใจทางเลือก เพราะฉะนั้นพอมีกฎหมายตรงนี้ขึ้นมา ซึ่งกฎหมายตัวนี้มันออกเมื่อ 63 ปีที่แล้ว ทำให้เรามองว่ามันเป็นกฎหมายที่ต้องถูกปรับแก้”





“ไม่มีคุมกำเนิดแบบไหน 100%”

 

แม้กฏหมายจะมีข้อยกเว้นบางประการ ให้ผู้หญิงท้องไม่พร้อมทำแท้งได้แล้วนั้น แต่สังคมกลับเห็นว่าอาจจะเห็นคนท้อง ทำแท้งมากยิ่งขึ้น และอาจจะมีผลกระทบลบๆ ตามมา สำหรับเธอแล้วนั้นคิดว่าเป็นเพียงมายาคติของคน ไม่มีผู้หญิงคนไทยตั้งใจท้อง แล้วจะไปทำแท้ง มองว่าเป็นความพลาดมากกว่า

“เป็นมายาคติที่ตลก ปัจจุบันไม่มีบริการ คนก็เข้าสู่การทำแท้งได้ง่ายขึ้น เพราะว่าเขาคลิกหาในโซเชียลฯ มันจะขึ้นมาเต็มไปหมด และสามารถทำได้ทุกอายุครรภ์ด้วย เพราะฉะนั้นการที่มันผิดกฏหมาย แล้วทำให้คนไปอยู่ในตลาดมืด และไม่มีบริการจริงๆ ที่ถูกกฎหมายที่ปลอดภัย มันจะทำให้คนแสวงหาสถานบริการที่ไม่ปลอดภัย เพราะฉะนั้นคนก็ทำแท้งมากขึ้น

ความจริงที่คิดว่าอยากให้ทุกคนทำให้ความเข้าใจ คือว่าไม่มีการคุมกำเนิดแบบไหนในโลกนี้ ที่ 100 % เพราะฉะนั้นมีผู้หญิงจำนวนมากที่ยุติการตั้งครรภ์ เพราะว่าคุมกำเนิดผิดพลาดคือผิดพลาดก็อย่างเช่นทำหมันแล้วท้องก็มี หรือผู้ชายทำหมันผู้หญิงทำหมันท้องก็มี เพราะมันมีโอกาสพลาด แต่ส่วนอื่นๆ ที่มีโอกาสพลาด อย่างเรื่องยาคุม ยาคุมฉุกเฉินยิ่งมีโอกาสพลาดเยอะ

และในลักษณะของความสัมพันธ์ของหญิงชายในประเทศเรา ผู้หญิงมีอำนาจต่อรองเรื่องเพศน้อยมาก และเมื่อน้อยมาก โอกาสของการคุมกำเนิดของผู้หญิง เป็นวิธีการต้องเตรียมตัวมาก่อน แต่การมีเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่ เป็นเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน เพราะผู้หญิงอาจจะจำยอม หรืออะไรหลายๆ อย่างในเรื่องทางเพศ

คือในเรื่องทางเพศของโลหนี้ ผู้ชายถูกสอนให้เป็นไล่ล่า ผู้หญิงเป็นผู้รองรับ เพราะฉะนั้นการสัมพันธ์ทางเพศที่ไม่ลงตัวอย่างนี้ มันทำให้ผู้หญิงขาดอำนาจต่อรองในเรื่องเพศ และอำนาจต่อรองของการคุมกำเนิดอยู่แล้ว”

ไม่เพียงแค่นี้ ยังมีกฎหมายอาญามาตรา 305 ที่ยังไม่ได้รับความยุติธรรม รู้สึกว่าต้องปรับให้เท่าทันกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะปัจจุบันคนเป็นโรคซึมเศร้ากันเยอะมากกว่าโรคอื่น คิดว่าต้องนำออกมาทำให้อย่างไม่ผิดกฏหมาย


 

“มาตรา 305 ว่าด้วยเรื่องของข้อบ่งชี้ว่าทำแบบไหนถูกกฏหมาย แบบไหนทำได้ตามกฎหมาย แบบไหนทำไม่ได้ตามกฏหมาย ก็สิ่งที่ทำได้ตามกฏหมายมันค่อนข้างชัดเจนอยู่แล้ว อันนั้นไม่ต้องแก้ไข แต่สิ่งที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติม คือสังคมเรามันซับซ้อนมากขึ้น และความไม่พร้อมของผู้หญิง มันมีเรื่องของสุขภาพทางใจและทางเศรษฐกิจ แล้วสังคมเข้ามาส่วนร่วมด้วย

เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าตอนนี้ ข้อบังคับแพทยสภา ได้พยายามรวมเอาสุขภาพทางใจ คือทางการแพทย์มองว่าสุขภาพกายกับใจต้องไปด้วยกัน เราถึงขั้นพูดว่าใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว ถ้าใจไม่ไปส่งผลต่อสุขภาพได้เลย แต่ตรงนี้มันยังไม่ผลักดันอยู่ในกฏหมาย เวลาตำรวจมาสอบสวน ก็จะมองว่าผู้หญิงจะต้องรุนแรงถึงแก่ชีวิต มันถึงจะทำแท้งได้”

นอกจากนี้ผู้ที่อยู่เบื้องหลังคนนี้ ยังทิ้งท้ายให้ฟังว่ารู้สึกกังวลใจ กับการตีความต่างๆ ของสังคมที่เข้าใจผิด มองการแก้กฎหมายเป็นข้อบ่งชี้ให้คนไปทำแท้งมากยิ่งขึ้น

“ทำความเข้าใจว่าไม่มีได้มีใคร อยากไปสู่จุดนั้น ไม่มีใครอยากท้องไม่พร้อม และไม่มีใครจะอยากไปทำแท้งหรอก

เพราะฉะนั้นมันควรจะป้องกันไว้ก่อน คือว่า 1.บริการป้องกันมันดีพอหรือเปล่า มันมีทั่วถึงมั้ย แล้วทุกวันนี้มันมีเทคโนโลยีที่ดีพอมั้ย ทำไมเขาต้องให้ผู้หญิงกำเนิด และฝังยา กินยาคุมจนอ๊วกแตก อ้วนขึ้น มีสิว เขาก็ไม่อยากจะกิน แต่ทำไมไม่ให้ผู้ชายคุมกำเนิด รับผิดชอบในส่วนของการคุมกำเนิดบ้าง เป็นประเด็นที่สำคัญเลย

และเราต้องพูดว่าไม่มีผู้หญิงคนไหนอยากจะท้องเพื่อไปทำแท้ง มันไม่ใช่ประสบการณ์ที่รื่นรมณ์ แต่ถ้ามันมีความจำเป็นเขาควรที่จะได้สิทธิ์นั้น”




 ข่าวโดยทีมข่าว MGR Live
 
 


** มาตามติด ไลฟ์สไตล์บันดาลใจ+ประเด็นสดใหม่ ได้ที่นี่!! **



กำลังโหลดความคิดเห็น