คอลัมน์ Health Insight โดย นพ.กฤษดา ศิรามพุช
ผมได้พบกับแขกรับเชิญในรายการและคนที่รักสุขภาพมาตลอดเวลาแห่งการทำงานเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์กับตรวจรักษาคนไข้ เลยทำให้ได้สังเกตความต่างกันของบุคคลในเรื่องของสุขภาพกายและใจอยู่หลายแง่ โดยมิติหนึ่งที่สำคัญโภชนาการกับสุขภาพ
ทั้งอาหาร ออกกำลัง และอารมณ์
เป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ดังที่เคยเห็นหลายท่านมี “ความว่องไว” อย่างไม่น่าเชื่อทั้งในเรื่องของร่างกายและสมอง ซึ่งเรื่องนี้เกิดได้จากการฝึกสมองและออกกำลังอยู่อย่างไม่หยุดนิ่งสมกับทฤษฏียุคใหม่ที่ว่า “สมองไม่มีวันหยุดพัฒนา” เช่นเดียวกับ “ร่างกาย” ไม่ว่าจะอายุมากแค่ไหนก็ตาม
ยังคงมีความเปลี่ยนแปลงในทางดีได้
อยู่ที่เราจะ “เลือกดูแล” ให้เหมาะสม
ความรู้นี้จะช่วยให้เราสร้าง “เด็กแข็งแรงสมองดี” ขึ้นมาเพราะนั่นเท่ากับเพิ่มโอกาสผลิต “ผู้ใหญ่ทรงปัญญา” ได้มากขึ้นด้วย ซึ่งในการเริ่มสร้างเด็กเจ้าปัญญาที่มีสมองไว, จัดระเบียบสมองได้ดี และมีพลังร่างกายดีด้วยนั้นอยู่ที่การจัดการอย่างสมบูรณ์แบบสไตล์ “อายุรวัฒน์” ที่ให้เริ่มดูแลกันตั้งแต่ในครอบครัว
ซึ่งสามารถเริ่มได้ด้วยหลัก “Mody(Mind + Body)” ดังต่อไปนี้ครับ
Mind-บำบัด สร้างเสริมทักษะแห่งจิต
1) ฝึกอ่าน เป็นทักษะอันดับ 1 ที่อยากเน้น มีการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดพบว่าการอ่านดีต่อสมองมากกว่าการจำอย่างเดียว เช่นให้เด็กอ่านออกเสียงว่า “ซี-เอ-ที” ดีกว่าให้จำเฉยๆว่า “แค็ท” ซึ่งตรวจพบจากคลื่นสมองว่าการให้เด็กอ่านเช่นนี้มีผลต่อวงจรสมองในส่วนการเรียนรู้ของเด็กมากกว่าให้ท่องจำเป็นคำไป
นอกจากนั้นในการสำรวจในแฝดเหมือนของคิงส์คอลเลจกับมหาวิทยาลัยเอดินเบิร์กยังพบว่าทักษะในการอ่านตั้งแต่เล็กมีผลกับความฉลาดในตอนโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดทั้ง verbal และ non-verbal intelligence
2) ฝึกฟัง หูเป็นประสาทสัมผัสที่ขาดไม่ได้อีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยสุขภาพเด็กน้อยได้เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งเรื่องนี้มีผลต่อภาษามากโดยการศึกษาจากมหาวิทยาลัยรัทเจอส์เผยว่าเมื่อทารกอายุ 1 เดือนนั้น
นอกจากจะเริ่มแยกเสียงรอบตัวจาก “ภาษา” ได้แล้วนั้นยังสามารถที่จะ “เริ่มฝึก” ให้เรียนรู้ภาษาใหม่ได้ด้วย ซึ่งเรื่องนี้ตีพิมพ์ใน Journal of Neuroscience โดยได้ทดลองฝึกเด็กตั้งแต่อายุ 4 เดือนจนต่อมาสามารถแยกแยะภาษาได้อย่างรวดเร็วซึ่งเรื่องนี้อยู่ที่การ “ฟัง” ด้วยที่ช่วยฝึกความสามารถของสมองไปในตัวด้วยครับ
3) ฝึกภาษา มีจุดประสงค์คือช่วยเพิ่ม “การเรียนรู้” ที่จะเป็นทักษะสำคัญเมื่อโตขึ้น โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยชิคาโกพบว่าเด็กที่ได้รับการฝึกใช้ภาษาจากครอบครัวอย่างเหมาะสมจะมีผลต่อการเรียนรู้ต่อไปในอนาคต
กล่าวง่ายๆ ก็คือ พ่อแม่ให้การเรียนรู้ภาษากับลูกได้เป็นอย่างดี และเป็นผู้ที่จะออกแบบอนาคตแห่งพัฒนาการของการเรียนรู้ของลูกต่อไป ในเรื่องนี้ถือเป็น evidence-based suggestion ที่เริ่มต้นจากที่บ้านและเหมาะกับทุกครอบครัวครับ
กาย-ไม่หยุดนิ่ง กำลังกายที่ช่วยได้ถึงสมอง
1) ฝึกมือ มือทั้ง 2 มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดแนบแน่นกับสมองอย่างไม่มีข้อแม้ ดังนั้นการฝึกทักษะการใช้มือจึงเหมือนกับการออกกำลังสมองไปในตัว โดย motor skill ของมือที่สื่อถึงสมองนี้มีเทคนิคในการฝึกง่ายๆ อยู่
ดังมีเรื่องสนุกจากการศึกษาของมหาวิทยาลัยเบน-กูเรียนของอิสราเอลว่า “เพลงที่ชวนตบมือ (Hand-clapping song)” จะช่วยพัฒนาทักษะสำคัญๆในทั้งเด็กและวัยรุ่นครับ
ซึ่งเรื่องนี้นักจิตวิทยาดนตรีกล่าวว่าเด็กที่ไม่ค่อยร่วมปรบมือเล่นตามเพลงที่น่าสนุกนั้น อาจมีความเสี่ยงปัญหาการเรียนรู้ในอนาคตได้ (Dyslexia และ Dyscalculia) ส่วนเด็กที่ร่วมเล่นตบมือตามเพลงเป็นธรรมชาติตั้งแต่ ป.1 ขึ้นไปมักพัฒนาทักษะในการเรียนรู้ได้ดีเมื่อขึ้นชั้นต่อๆไปเป็นต้นว่าลายมือเป็นระเบียบ, เขียนได้ดี, และสะกดได้ผิดน้อยกว่าครับ
2) ฝึกเดิน ที่สำคัญคือ “การทรงตัว” ครับ เพราะการทรงตัวนั้นเกี่ยวกับ “สมอง” ร่วมกับประสาทสัมผัสจากแขนขาและข้อต่อเป็นหลักดังนั้นการฝึกเดินและทรงตัวจึงเป็นการฝึกแบบ “สมบูรณ์แบบเป็นทีม”
ซึ่งคณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยไรซ์ได้พบว่าการใช้เกม “วี” ของนินเทนโดที่มี Balance board กับ handrails ที่ช่วยจับจะกระตุ้นให้เด็กวัย 6-18 ปีได้ฝึกทักษะการทรงตัวที่ดีได้ผ่านทางเกมส์ที่ดูเสมือจริง
ซึ่งเรื่องนี้เราอาจนำเทคนิคมาดัดแปลงให้เป็นการเล่น “แทรมโพลีน” ที่ต้องทรงตัวหรือในเด็กที่โตขึ้นมาหน่อยก็อาจใช้เกมส์วีที่ว่าหรือฝึกโยคะและพิลาทีสก็ได้
3) ฝึกนอน ขออย่าสงสัยว่าต้องฝึกด้วย เพราะถ้านอนดีจะช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพได้นับไม่ถ้วน โดยการนอนนั้นในทางอายุรวัฒน์อยากให้ฝึกไว้เรียกว่า Sleep training เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่แค่เพียงหลับตานอนหากแต่ต้องอยู่ที่การปรับสมอง, สิ่งแวดล้อม, และเสียงรอบตัวด้วย โดยการนอนที่ดีต้องหลับสนิทและลึกพอ
สมองควรต้องชินกับความมืดซึ่งต้องมือสนิทแบบไม่เห็นเส้นลายมือตัวเองเพื่อเปิดทางให้สารนิทรา “เมลาโทนิน” ได้ทำงานดีที่สุด ส่วนสิ่งแวดล้อมก็ควรมืดแต่อาจติดไฟสีแดง/เหลืองดวงเล็กๆไว้ในห้องน้ำได้เพื่อกันล้ม ส่วนเสียงรอบตัวก็ควรเงียบหรือเป็น White noise ก็จะช่วยให้ไม่รบกวนการนอนอันแสนสุขครับ
เสริมด้วยอาหาร “เล่นสี”
คือการเลือก “อาหาร” ที่เหมาะกับทุกคนสำคัญในครอบครัวที่เป็นเสมือนการเติมรักด้วย “ของขวัญจากธรรมชาติ” ที่เป็นซุปเปอร์ฟู้ดดังสูตรการเลือกดังต่อไปนี้
1) เข้ม เทคนิคคือเลือกผักผลไม้ที่ “สีเข้ม” เข้าไว้ จะเป็นเขียวเข้มอย่างคะน้า, บร็อคโคลี, กะหล่ำซาวอย(สีม่วง),โอเบอจีน(มะเขือม่วง), แตงคูเจ็ต(ซุกคินีครับ),ข้าวไรซ์เบอรี่, ขมิ้นเหลืองสวย,หญ้าฝรั่น, ชาเขียว และ “ด้าร์กช็อคโกแลต(ผลิตภัณฑ์โกโก้ก็ดีครับ)” ได้
2) ครึ่ง(จาน) ใน 1 จานที่รับประทานแต่ละมื้อขอให้จัดพื้นที่ให้กับผักผลไม้หรือสลัดสักครึ่งจาน ให้ถือว่าหนึ่งจานหารครึ่งเป็นโควต้าให้กับพืชที่อุดมไปด้วยวิตามินสดจากธรรมชาติอันประกอบด้วยสารพฤกษเคมีที่สำคัญ
ซึ่งในข้อนี้มีเทคนิคง่ายคือ ลองหาจานมาแล้วลองขีดเส้นด้วยตาแบ่งเป็นส่วนดูให้เห็นชัดครับ
3) หลากสี เพื่อให้ได้ครบของดีที่เป็นซุปเปอร์ฟู้ดอย่าง “ไม่ตกหล่น” ขอให้ทุกคนในครอบครัวช่วยกันคิด “เลือกสี” ที่ตัวเองชอบขึ้นมาแล้วนำสีนี้มา “มิกซ์แอนด์แมทช์” จับคู่กับของกินทั้งผักผลไม้ที่ชอบ
แล้วก็ตอบโจทย์ด้วยการรับประทานสีที่ทุกคนเลือกมาร่วมกัน โดยอาจจัดให้คนหนึ่งเลือกได้มากกว่า 1 สีเพื่อให้มีเมนูสนุกๆในทุกมื้อและทุกวันไม่ซ้ำกันครับ
ทั้งหมดนี้เป็นวิธีในการ “ออกแบบสุขภาพดี” ที่เป็นเทคนิคอายุรวัฒน์เพื่อให้ “ทุกคนในครอบครัวมีส่วนร่วม” โดยบุคคลที่สำคัญในการเป็นไอดอลที่ดีให้กับสมาชิกตัวน้อยก็คือ “คุณพ่อคุณแม่” ที่จะเป็นต้นแบบให้ลูกน้อยมีสุขภาพดีด้วยเคล็ดลับง่ายๆ คือ สร้างความสุขให้มีความสนุกอยู่ในทุกมื้อของอาหารที่เปี่ยมคุณค่า
อย่าลืมว่าสุขภาพดีเริ่มที่บ้านก่อนนะครับ
มาตามติด Facebook Fanpage และ Instagram
"MGR Online Live" และ "@manager_live" กันได้ที่นี่!!
และสามารถส่งข่าวสารมาได้ที่: manageronlinelive@gmail.com
หรือ Fax 0-2629-4754
ผมได้พบกับแขกรับเชิญในรายการและคนที่รักสุขภาพมาตลอดเวลาแห่งการทำงานเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์กับตรวจรักษาคนไข้ เลยทำให้ได้สังเกตความต่างกันของบุคคลในเรื่องของสุขภาพกายและใจอยู่หลายแง่ โดยมิติหนึ่งที่สำคัญโภชนาการกับสุขภาพ
ทั้งอาหาร ออกกำลัง และอารมณ์
เป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ดังที่เคยเห็นหลายท่านมี “ความว่องไว” อย่างไม่น่าเชื่อทั้งในเรื่องของร่างกายและสมอง ซึ่งเรื่องนี้เกิดได้จากการฝึกสมองและออกกำลังอยู่อย่างไม่หยุดนิ่งสมกับทฤษฏียุคใหม่ที่ว่า “สมองไม่มีวันหยุดพัฒนา” เช่นเดียวกับ “ร่างกาย” ไม่ว่าจะอายุมากแค่ไหนก็ตาม
ยังคงมีความเปลี่ยนแปลงในทางดีได้
อยู่ที่เราจะ “เลือกดูแล” ให้เหมาะสม
ความรู้นี้จะช่วยให้เราสร้าง “เด็กแข็งแรงสมองดี” ขึ้นมาเพราะนั่นเท่ากับเพิ่มโอกาสผลิต “ผู้ใหญ่ทรงปัญญา” ได้มากขึ้นด้วย ซึ่งในการเริ่มสร้างเด็กเจ้าปัญญาที่มีสมองไว, จัดระเบียบสมองได้ดี และมีพลังร่างกายดีด้วยนั้นอยู่ที่การจัดการอย่างสมบูรณ์แบบสไตล์ “อายุรวัฒน์” ที่ให้เริ่มดูแลกันตั้งแต่ในครอบครัว
ซึ่งสามารถเริ่มได้ด้วยหลัก “Mody(Mind + Body)” ดังต่อไปนี้ครับ
Mind-บำบัด สร้างเสริมทักษะแห่งจิต
1) ฝึกอ่าน เป็นทักษะอันดับ 1 ที่อยากเน้น มีการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดพบว่าการอ่านดีต่อสมองมากกว่าการจำอย่างเดียว เช่นให้เด็กอ่านออกเสียงว่า “ซี-เอ-ที” ดีกว่าให้จำเฉยๆว่า “แค็ท” ซึ่งตรวจพบจากคลื่นสมองว่าการให้เด็กอ่านเช่นนี้มีผลต่อวงจรสมองในส่วนการเรียนรู้ของเด็กมากกว่าให้ท่องจำเป็นคำไป
นอกจากนั้นในการสำรวจในแฝดเหมือนของคิงส์คอลเลจกับมหาวิทยาลัยเอดินเบิร์กยังพบว่าทักษะในการอ่านตั้งแต่เล็กมีผลกับความฉลาดในตอนโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดทั้ง verbal และ non-verbal intelligence
2) ฝึกฟัง หูเป็นประสาทสัมผัสที่ขาดไม่ได้อีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยสุขภาพเด็กน้อยได้เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งเรื่องนี้มีผลต่อภาษามากโดยการศึกษาจากมหาวิทยาลัยรัทเจอส์เผยว่าเมื่อทารกอายุ 1 เดือนนั้น
นอกจากจะเริ่มแยกเสียงรอบตัวจาก “ภาษา” ได้แล้วนั้นยังสามารถที่จะ “เริ่มฝึก” ให้เรียนรู้ภาษาใหม่ได้ด้วย ซึ่งเรื่องนี้ตีพิมพ์ใน Journal of Neuroscience โดยได้ทดลองฝึกเด็กตั้งแต่อายุ 4 เดือนจนต่อมาสามารถแยกแยะภาษาได้อย่างรวดเร็วซึ่งเรื่องนี้อยู่ที่การ “ฟัง” ด้วยที่ช่วยฝึกความสามารถของสมองไปในตัวด้วยครับ
3) ฝึกภาษา มีจุดประสงค์คือช่วยเพิ่ม “การเรียนรู้” ที่จะเป็นทักษะสำคัญเมื่อโตขึ้น โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยชิคาโกพบว่าเด็กที่ได้รับการฝึกใช้ภาษาจากครอบครัวอย่างเหมาะสมจะมีผลต่อการเรียนรู้ต่อไปในอนาคต
กล่าวง่ายๆ ก็คือ พ่อแม่ให้การเรียนรู้ภาษากับลูกได้เป็นอย่างดี และเป็นผู้ที่จะออกแบบอนาคตแห่งพัฒนาการของการเรียนรู้ของลูกต่อไป ในเรื่องนี้ถือเป็น evidence-based suggestion ที่เริ่มต้นจากที่บ้านและเหมาะกับทุกครอบครัวครับ
กาย-ไม่หยุดนิ่ง กำลังกายที่ช่วยได้ถึงสมอง
1) ฝึกมือ มือทั้ง 2 มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดแนบแน่นกับสมองอย่างไม่มีข้อแม้ ดังนั้นการฝึกทักษะการใช้มือจึงเหมือนกับการออกกำลังสมองไปในตัว โดย motor skill ของมือที่สื่อถึงสมองนี้มีเทคนิคในการฝึกง่ายๆ อยู่
ดังมีเรื่องสนุกจากการศึกษาของมหาวิทยาลัยเบน-กูเรียนของอิสราเอลว่า “เพลงที่ชวนตบมือ (Hand-clapping song)” จะช่วยพัฒนาทักษะสำคัญๆในทั้งเด็กและวัยรุ่นครับ
ซึ่งเรื่องนี้นักจิตวิทยาดนตรีกล่าวว่าเด็กที่ไม่ค่อยร่วมปรบมือเล่นตามเพลงที่น่าสนุกนั้น อาจมีความเสี่ยงปัญหาการเรียนรู้ในอนาคตได้ (Dyslexia และ Dyscalculia) ส่วนเด็กที่ร่วมเล่นตบมือตามเพลงเป็นธรรมชาติตั้งแต่ ป.1 ขึ้นไปมักพัฒนาทักษะในการเรียนรู้ได้ดีเมื่อขึ้นชั้นต่อๆไปเป็นต้นว่าลายมือเป็นระเบียบ, เขียนได้ดี, และสะกดได้ผิดน้อยกว่าครับ
2) ฝึกเดิน ที่สำคัญคือ “การทรงตัว” ครับ เพราะการทรงตัวนั้นเกี่ยวกับ “สมอง” ร่วมกับประสาทสัมผัสจากแขนขาและข้อต่อเป็นหลักดังนั้นการฝึกเดินและทรงตัวจึงเป็นการฝึกแบบ “สมบูรณ์แบบเป็นทีม”
ซึ่งคณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยไรซ์ได้พบว่าการใช้เกม “วี” ของนินเทนโดที่มี Balance board กับ handrails ที่ช่วยจับจะกระตุ้นให้เด็กวัย 6-18 ปีได้ฝึกทักษะการทรงตัวที่ดีได้ผ่านทางเกมส์ที่ดูเสมือจริง
ซึ่งเรื่องนี้เราอาจนำเทคนิคมาดัดแปลงให้เป็นการเล่น “แทรมโพลีน” ที่ต้องทรงตัวหรือในเด็กที่โตขึ้นมาหน่อยก็อาจใช้เกมส์วีที่ว่าหรือฝึกโยคะและพิลาทีสก็ได้
3) ฝึกนอน ขออย่าสงสัยว่าต้องฝึกด้วย เพราะถ้านอนดีจะช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพได้นับไม่ถ้วน โดยการนอนนั้นในทางอายุรวัฒน์อยากให้ฝึกไว้เรียกว่า Sleep training เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่แค่เพียงหลับตานอนหากแต่ต้องอยู่ที่การปรับสมอง, สิ่งแวดล้อม, และเสียงรอบตัวด้วย โดยการนอนที่ดีต้องหลับสนิทและลึกพอ
สมองควรต้องชินกับความมืดซึ่งต้องมือสนิทแบบไม่เห็นเส้นลายมือตัวเองเพื่อเปิดทางให้สารนิทรา “เมลาโทนิน” ได้ทำงานดีที่สุด ส่วนสิ่งแวดล้อมก็ควรมืดแต่อาจติดไฟสีแดง/เหลืองดวงเล็กๆไว้ในห้องน้ำได้เพื่อกันล้ม ส่วนเสียงรอบตัวก็ควรเงียบหรือเป็น White noise ก็จะช่วยให้ไม่รบกวนการนอนอันแสนสุขครับ
เสริมด้วยอาหาร “เล่นสี”
คือการเลือก “อาหาร” ที่เหมาะกับทุกคนสำคัญในครอบครัวที่เป็นเสมือนการเติมรักด้วย “ของขวัญจากธรรมชาติ” ที่เป็นซุปเปอร์ฟู้ดดังสูตรการเลือกดังต่อไปนี้
1) เข้ม เทคนิคคือเลือกผักผลไม้ที่ “สีเข้ม” เข้าไว้ จะเป็นเขียวเข้มอย่างคะน้า, บร็อคโคลี, กะหล่ำซาวอย(สีม่วง),โอเบอจีน(มะเขือม่วง), แตงคูเจ็ต(ซุกคินีครับ),ข้าวไรซ์เบอรี่, ขมิ้นเหลืองสวย,หญ้าฝรั่น, ชาเขียว และ “ด้าร์กช็อคโกแลต(ผลิตภัณฑ์โกโก้ก็ดีครับ)” ได้
2) ครึ่ง(จาน) ใน 1 จานที่รับประทานแต่ละมื้อขอให้จัดพื้นที่ให้กับผักผลไม้หรือสลัดสักครึ่งจาน ให้ถือว่าหนึ่งจานหารครึ่งเป็นโควต้าให้กับพืชที่อุดมไปด้วยวิตามินสดจากธรรมชาติอันประกอบด้วยสารพฤกษเคมีที่สำคัญ
ซึ่งในข้อนี้มีเทคนิคง่ายคือ ลองหาจานมาแล้วลองขีดเส้นด้วยตาแบ่งเป็นส่วนดูให้เห็นชัดครับ
3) หลากสี เพื่อให้ได้ครบของดีที่เป็นซุปเปอร์ฟู้ดอย่าง “ไม่ตกหล่น” ขอให้ทุกคนในครอบครัวช่วยกันคิด “เลือกสี” ที่ตัวเองชอบขึ้นมาแล้วนำสีนี้มา “มิกซ์แอนด์แมทช์” จับคู่กับของกินทั้งผักผลไม้ที่ชอบ
แล้วก็ตอบโจทย์ด้วยการรับประทานสีที่ทุกคนเลือกมาร่วมกัน โดยอาจจัดให้คนหนึ่งเลือกได้มากกว่า 1 สีเพื่อให้มีเมนูสนุกๆในทุกมื้อและทุกวันไม่ซ้ำกันครับ
ทั้งหมดนี้เป็นวิธีในการ “ออกแบบสุขภาพดี” ที่เป็นเทคนิคอายุรวัฒน์เพื่อให้ “ทุกคนในครอบครัวมีส่วนร่วม” โดยบุคคลที่สำคัญในการเป็นไอดอลที่ดีให้กับสมาชิกตัวน้อยก็คือ “คุณพ่อคุณแม่” ที่จะเป็นต้นแบบให้ลูกน้อยมีสุขภาพดีด้วยเคล็ดลับง่ายๆ คือ สร้างความสุขให้มีความสนุกอยู่ในทุกมื้อของอาหารที่เปี่ยมคุณค่า
อย่าลืมว่าสุขภาพดีเริ่มที่บ้านก่อนนะครับ
มาตามติด Facebook Fanpage และ Instagram
"MGR Online Live" และ "@manager_live" กันได้ที่นี่!!
และสามารถส่งข่าวสารมาได้ที่: manageronlinelive@gmail.com
หรือ Fax 0-2629-4754