xs
xsm
sm
md
lg

แพทย์ทั่วโลกมั่นใจ เทคนิคพีจีดีช่วยพ่อแม่มีบุตรยาก คัดกรองโรคพันธุกรรม ลดความเสี่ยง เพื่อลูกรัก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ภายหลังการร่วมสัมมนาแพทย์ระดับนานาชาติ ในงาน “Superior A.R.T. Annual Regional Clinical Symposium 2015” แพทย์สูตินรีเวช ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้มีบุตรยากในภูมิภาคเอเชีย โดยมี รองศาสตราจารย์มาร์ค โบว์แมน ประธานชมรมเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์แห่งประเทศออสเตรเลีย และดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการที่ปรึกษาระหว่างประเทศของสังคมอเมริกันสำหรับแพทย์เฉพาะทางด้านการเจริญพันธุ์ ซึ่งเป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมแบ่งปันองค์ความรู้ พร้อมแนะเทคนิคแก่สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ในทวีปเอเชีย

รองศาสตราจารย์มาร์ค โบว์แมน ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “ในอดีตที่ผ่านมาโอกาสในการตั้งครรภ์สำหรับผู้หญิงในช่วงวัยประมาณ 40 ปี ถือเป็นเรื่องยากที่จะประสบความสำเร็จได้ แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ของการช่วยการเจริญพันธุ์ ทำให้เราสามารถเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้แก้ผู้หญิงที่มีอายุมากได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีพีจีดีหรือการตรวจวินิจฉัยพันธุกรรมตัวอ่อน สามารถเพิ่มโอกาสการมีบุตรให้กับผู้หญิงได้มากจนถึงช่วงอายุ 45 ปีเลยทีเดียว ทั้งนี้เทคโนโลยีดังกล่าวเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในต่างประเทศในการสามารถช่วยแก้ปัญหาในการมีบุตรบากได้มากขึ้นกว่า 50 เปอร์เซ็นต์


แพทย์หญิงวีณา ครุฑสวัสดิ์ ผู้อำนวยการแพทย์และสูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์การมีบุตรยาก เปิดเผยว่า งานสัมมนาดังกล่าว จะช่วยให้สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ทั่วเอเชีย สามารถเพิ่มศักยภาพในการดูแลผู้มีบุตรยากเฉพาะบุคคลให้ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง และเพื่อสามารถนำความรู้จากการสัมมนาครั้งนี้ กลับไปต่อยอดองค์ความรู้ให้แก่ประเทศของตนได้

“จากการสัมมนาในครั้งนี้ เราได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างคณะแพทย์จากประเทศต่างๆในเอเชียมากถึง 9 ประเทศ เกี่ยวกับแนวทางการรักษาผู้มีบุตรยาก เช่น การตอบสนองของคนไข้ต่อการกระตุ้นไข่ การให้ยาเตรียมโพรงมดลูก และอื่นๆ ซึ่งแนวทางการรักษาในแต่ละประเทศมีมาตรฐานเดียวกันเทียบเท่าระดับสากล แต่สิ่งที่ต่างกันคือประสบการณ์ของแพทย์แต่ละท่านที่มีโอกาสเจอกรณีศึกษาที่น่าสนใจแตกต่างกัน ดังนั้นจึงถือว่าการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในครั้งนี้เป็นประโยชน์อย่างมาก ทำให้เราสามารถนำความรู้มาปรับใช้กับคนไข้ในแต่ละประเทศได้

แพทย์หญิงวีณายังกล่าวอีกว่า สำหรับโรคทางพันธุกรรมที่มักพบในแต่ละประเทศก็จะมีความแตกต่างกัน ทั้งในด้านอุบัติการณ์ ความชุกของโรค และความเสี่ยงที่จะพบความผิดปกติ ซึ่งเราก็สามารถใช้เทคนิคพีจีดี ซึ่งเป็นการตรวจวินิจฉัยพันธุกรรมของตัวอ่อน และเลือกตัวอ่อนที่ปราศจากโรคทางพันธุกรรมและมีคุณภาพดีที่สุด ด้วยการสังเกตพัฒนาการและรูปร่างลักษณะของตัวอ่อนเป็นหลัก เพื่อย้ายกลับสู่โพรงมดลูก ซึ่งเทคนิคพีจีดีนับเป็นเทคนิคที่แพทย์ต่างชาติให้การยอมรับเป็นอย่างมาก


“โดยปกติแล้ว พ่อแม่ที่เป็นพาหะ จะมีการถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมไปสู่ลูก ซึ่งมีมากมายหลากหลายโรค หรือคุณแม่ที่มีปัญหาการแท้งซ้ำซาก มีปัญหาการมีบุตรยาก ก็สามารถใช้เทคนิคพีจีดีได้ ดังนั้นการวางแผนการมีบุตรจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ทำให้สามารถที่จะตรวจความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อน เพื่อคัดตัวอ่อนที่พันธุกรรมผิดปกติออกไปได้ การใช้วิธีเด็กหลอดแก้วร่วมกับพีจีดี จึงเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมในการคัดกรองโรคทางพันธุกรรมในตัวอ่อนและช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์มากยิ่งขึ้น และถ้าดูจากตัวเลขของทางศูนย์เองปัจจุบันพบว่าคนไข้ส่วนใหญ่มักมาด้วยปัญหาการมีบุตรยาก 60% และอีก 40% มาด้วยปัญหาโรคพันธุกรรม ซึ่งถือได้ว่าคนไข้ส่วนใหญ่มีการตื่นตัวในการป้องกันเพิ่มมากขึ้น” แพทย์หญิงกล่าวทิ้งท้าย




รายละเอียดเพิ่มเติม (คลิก)>>> ตัวอย่างงานในเซ็กชั่น "ASTVผู้จัดการ Live"




มาตามติด Facebook Fanpage และ Instagram

"ASTVผู้จัดการ Live" และ "@astv_live" กันได้ที่นี่!!


และสามารถส่งข่าวสารและเรื่องราวร้องทุกข์ในสังคมมาได้: astvmanager.live.lite@gmail.com
หรือ โทร.0-2629-4488 ต่อ 1477, Fax 0-2629-4754



กำลังโหลดความคิดเห็น