xs
xsm
sm
md
lg

ญี่ปุ่นหมายตาอลาสก้าจัดหาพลังงานเพิ่ม ไม่ใช่แทนที่รัสเซีย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ไมค์ ดันเลวี ผู้ว่าการมลรัฐอลาสก้า กล่าวในการประชุมพลังงานที่ยั่งยืนของมลรัฐอลาสก้า สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2022 (ภาพเอเจนซี)
เดอะ ดีโพลแมท - ญี่ปุ่นกำลังให้ความสนใจกับอลาสก้า รัฐที่อุดมด้วยพลังงานของสหรัฐฯ ขณะพยายามลดการนำเข้าน้ำมันและก๊าซของรัสเซีย

ดีโพลแมท รายงาน (9 มิ.ย.) การรุกรานยูเครนของรัสเซีย การคว่ำบาตรทั่วโลกต่อรัสเซีย และการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นล้วนเป็นปัจจัยวิกฤตการไฟฟ้าของญี่ปุ่น และเป็นแรงกดดันความสามารถของประเทศในการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านพลังงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเกิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว

การระงับนำเข้าพลังงานของรัสเซียในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา บังคับให้ญี่ปุ่นต้องมองหาแหล่งพลังงานนอกเหนือจาก (ไม่ใช่แทนที่ทั้งหมด) รัสเซีย พร้อมๆ ไปกับความพยายามลดการปล่อยคาร์บอนของแหล่งพลังงานด้วย

เมื่อเร็วๆ นี้ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น คิชิดะ ฟูมิโอะ และประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ พบกันที่โตเกียว คุยกันถึงวิธีการลดการพึ่งพาการนำเข้าของรัสเซีย และการขยายความร่วมมือด้านพลังงานกับสหรัฐอเมริกา

อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นยังไม่พร้อมที่จะละทิ้งแหล่ง LNG ของรัสเซียที่มีอยู่ รายงานประจำปีของรัฐบาลที่รับรองเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ยืนยันว่าญี่ปุ่นจะยังคงเข้าร่วมในโครงการ Sakhalin-1 และ Sakhalin-2 ซึ่งเป็น “แหล่งพลังงานสำคัญ” สำหรับญี่ปุ่นต่อไป

จากข้อมูลของกระทรวงการคลังของญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาเป็นซัปพลายเออร์ LNG รายใหญ่อันดับ 4 ของญี่ปุ่นในปี 2564 (ร้อยละ 10 ของการนำเข้า LNG ของญี่ปุ่น) ในขณะที่รัสเซียเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของญี่ปุ่น (9% ของการนำเข้า LNG ของญี่ปุ่น) กลยุทธ์ของญี่ปุ่นไม่ใช่การแทนที่ LNG รัสเซียทั้งหมดด้วย LNG ของอเมริกา แต่เพื่อเพิ่มการนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา

ในบริบทนี้เองที่เมื่อต้นเดือนมิถุนายนนี้เอง ผู้ว่าการมลรัฐอลาสก้า ไมค์ ดันเลวี่ ได้คุยกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลญี่ปุ่น บริษัทสาธารณูปโภค และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ในกรุงโตเกียว เพื่อหารือเกี่ยวกับการส่งออกก๊าซธรรมชาติของอลาสก้าไปยังประเทศญี่ปุ่น รวมถึงการส่งออกแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนประเภทใหม่อื่นๆ เช่น ไฮโดรเจนสีน้ำเงิน และไฮโดรเจนสีเขียว
ดันเลวี ตั้งข้อสังเกตว่า “อลาสก้าและญี่ปุ่นมีความเป็นหุ้นส่วนทางการค้าย้อนกลับไปกว่า 50 ปีเพื่อการส่งออก LNG ครั้งแรก หลังสงครามโลก และกลายเป็นพันธมิตรตะวันตก”

นี่เป็นการเดินทางเยือนต่างประเทศครั้งที่ 2 ของ ดันเลวี ในฐานะผู้ว่าการ โดยเขาเคยมาญี่ปุ่นครั้งแรกในปี 2019 เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีของการขนส่ง LNG ครั้งแรกจาก นิคิสกิ อลาสก้า ไปยังโตเกียว ความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างญี่ปุ่นและอลาสก้าในอนาคต กำลังเป็นประเด็นที่น่าจับตามองในการพัฒนาศักยภาพในการบรรเทาปัญหาการขาดแคลนพลังงานของญี่ปุ่นในระยะยาว

ทั้งนี้ ขั้นตอนอื่นๆ ที่รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังพิจารณาที่จะลดการพึ่งพาของญี่ปุ่นในการนำเข้าที่มีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ และการลดการปล่อยคาร์บอนนั้น ยังรวมถึงการขอให้สาธารณชนอนุรักษ์ทรัพยากรพลังงานและเพิ่มการใช้พลังงานนิวเคลียร์และพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ ภาคเอกชนเองกำลังจัดการกับความท้าทายนี้ด้วยขั้นตอนต่างๆ เช่น ข้อตกลงระหว่าง Shell-Tokyo Gas-Osaka Gas เพื่อสำรวจการลดคาร์บอนในกระบวนการผลิตพลังงานของตน และการใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพ


กำลังโหลดความคิดเห็น